ที่มา ประชาไท
ดูโพลล์ก่อนการเลือกตั้งในปี 2550 เป็น "กับแกล้ม" ประกอบการอ่านโพลล์ของสำนักต่างๆ ที่จะแข่งขันกันทำออกมา สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ (ถ้าหากจะมี?)
ย้อนไปเมื่อหลังจากการทำประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 2550 ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม – ธันวาคม (ก่อนวันเลือกตั้ง) จากการเก็บข้อมูลพบว่ามีโพลล์ที่มีการระบุชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองหรือพรรคการเมืองที่เกี่ยวโยงกับการเลือกตั้ง ในเรื่องของความคาดหวังว่าใครจะได้เป็นนายก หรือเป็นพรรครัฐบาล จำนวน 12 โพลล์ ดังนี้
รามคำแหงโพลล์: ภาพลักษณ์นักการเมืองไทยในสายตาประชาชน (30 ส.ค. 2550)
กรุงเทพโพลล์: ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง (4 ก.ย. 2550)
กรุงเทพโพลล์: การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน (19 ก.ย. 2550)
สวนดุสิตโพลล์: ผู้สมัคร ส.ส.” แบบไหน “พรรคการเมือง” แบบใด ที่ “คนไทย” อยากเลือก (22 ต.ค. 2550)
รามคำแหงโพลล์: ความเชื่อเรื่องตัวเลขกับความรู้ด้านการเลือกตั้ง (12 พ.ย. 2550)
สวนดุสิตโพลล์: ความนิยมต่อพรรคการเมือง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (12 พ.ย. 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: คนกรุงเทพฯ กว่าครึ่งยกให้อภิสิทธิ์เป็นนายก และเกินครึ่งคิดว่านายกอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรคก็ได้ (13 พ.ย. 2550)
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 1) (22 พ.ย. 2550)
เอแบคโพลล์: สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 (6 ธ.ค. 2550)
เอแบคโพลล์: ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 (11 ธ.ค. 2550)
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 2) (13 ธ.ค. 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: การเมืองไทยอยากได้ใครเป็นนายก (13 ธ.ค. 2550)
รายละเอียดโดยสรุปของโพลล์ต่างๆ ที่ยกมา มีดังนี้ ..
รามคำแหงโพลล์: ภาพลักษณ์นักการเมืองไทยในสายตาประชาชน (30 ส.ค. 2550)
รามคำแหงโพลล์สำรวจความเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีภูมิลำเนาแต่ละภูมิภาค จำนวน 1,320 คน ประเมินเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ในหัวข้อ “ภาพลักษณ์นักการเมืองไทยในสายตาประชาชน” เพื่อสะท้อนความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง โดยให้เป็นคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โดยให้ประเมินความเหมาะสมของบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปพบว่าจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
มีผู้สอบผ่านคือได้คะแนนเกิน 5 คะแนนเพียง 4 คน คือ
อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6.78 คะแนน
อันดับ 2 ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 6.35 คะแนน
อันดับ 3 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 5.86 คะแนน
และอันดับ 4 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน 5.05 คะแนน
ที่ได้คะแนนไม่ถึงครึ่งได้แก่
อันดับ 5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 4.73 คะแนน
อันดับ 6 พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร 4.65 คะแนน
อันดับ 7 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 4.37 คะแนน
อันดับ 8 นายเสนาะ เทียนทอง 4.29 คะแนน
อันดับ 9 นายสมัคร สุนทรเวช 4.28 คะแนน
และอันดับ 10 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 4.23 คะแนน
โดยรามคำแหงโพลล์ได้ระบุว่าในสายตาประชาชน นักการเมืองไทยมีภาพลักษณ์ทางลบมากกว่าทางบวก วงจรนักการเมืองยังคงเป็นแบบเก่าๆ ไม่ได้ชิงชัยกันด้วยความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ยังอิงแอบอยู่กับเรื่องของผลประโยชน์ การโจมตีซึ่งกันและกัน การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแอบอ้างว่าเป็นความต้องการของประชาชน และในที่สุดก็สอดไส้ด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก เมื่อถึงฤดูเลือกตั้ง ก็เกิดปรากฏการณ์ “เหล้าเปลี่ยนขวด” เช่นเดิม
0 0 0
กรุงเทพโพลล์: ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง (4 ก.ย. 2550)
ภายหลังเสร็จสิ้นการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยที่ผลการลงประชามติเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวและรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงเดินหน้าเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นโดยประกาศให้วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้ง และเป็นที่มาของความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่ติดตามข่าวการเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,199 คน เมื่อวันที่ 29-31 สิงหาคม 2550
ความต้องการให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่มากที่สุด พบว่า
พรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน.พรรค) | ร้อยละ 43.0 |
พรรคพลังประชาชน (นายสมัคร สุนทรเวช หน.พรรค) | ร้อยละ 20.7 |
กลุ่มรวมใจไทย (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หน.กลุ่ม) | ร้อยละ 7.7 |
พรรคชาติไทย (นายบรรหาร ศิลปอาชา หน.พรรค) | ร้อยละ 7.6 |
กลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ หน.กลุ่ม) | ร้อยละ 1.6 |
พรรคมหาชน (พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หน.พรรค) | ร้อยละ 1.3 |
กลุ่มมัชฌิมา (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน หน.กลุ่ม) | ร้อยละ 1.3 |
พรรคประชาราช (นายเสนาะ เทียนทอง หน.พรรค) | ร้อยละ 1.2 |
กลุ่มกรุงเทพ 50 (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ หน.กลุ่ม) | ร้อยละ 0.3 |
อื่นๆ อาทิ ต้องการพรรคหรือนักการเมืองหน้าใหม่ ยังไม่รู้จะเลือกใคร | ร้อยละ 15.3 |
0 0 0
กรุงเทพโพลล์: การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน (19 ก.ย. 2550)
ในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติซึ่งตรงกับวันที่ 20 กันยายนของทุกปี และในโอกาสที่รัฐบาลได้กำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่ของประเทศขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้นั้น เยาวชนซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีพลังอันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการเมืองของชาติอีกครั้งหนึ่ง ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15–25 ปีในเขตกรุงเทพ มหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,728 คน เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน 2550 ได้ผลสรุปที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่น่าสนใจดังนี้
ผลสำรวจหัวข้อบุคคลที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ร้อยละ 25.8 |
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร | ร้อยละ 14.7 |
นายสมัคร สุนทรเวช | ร้อยละ 5.7 |
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ร้อยละ 3.4 |
นายชวน หลีกภัย | ร้อยละ 3.0 |
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน | ร้อยละ 2.0 |
นายบรรหาร ศิลปอาชา | ร้อยละ 1.7 |
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | ร้อยละ 1.2 |
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ | ร้อยละ 1.0 |
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ | ร้อยละ 0.5 |
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | ร้อยละ 0.5 |
บุคคลอื่นๆ อาทิ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ นายอานันท์ ปันยารชุน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน | ร้อยละ 8.7 |
ไม่มีความเห็น | ร้อยละ 16.4 |
ไม่แน่ใจ | ร้อยละ 5.9 |
ไม่มีผู้ใดเหมาะสม | ร้อยละ 5.5 |
ใครก็ได้ที่เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ขยัน | ร้อยละ 4.0 |
0 0 0
สวนดุสิตโพลล์: ผู้สมัคร ส.ส. “แบบไหน? “พรรคการเมือง” แบบใด? ที่ “คนไทย” อยากเลือก (22 ตุลาคม 2550)
จากการที่จะมีการเลือกตั้ง ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ความตื่นตัวของคนไทยที่มีการตอบรับการเลือกตั้งครั้งนี้ดูจะเป็นที่สนใจของทุกฝ่าย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ในหัวข้อ “ผู้สมัคร ส.ส.” แบบไหน? “พรรคการเมือง” แบบใด? ที่คนไทยอยากเลือกโดยกระจายตามจังหวัดที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,884 คน (กรุงเทพฯ 879 คน 46.66% ต่างจังหวัด 1,005 คน 53.34%) สำรวจระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม 2550 ได้ผลสรุปเกี่ยวกับว่าที่นายกรัฐมนตรีดังนี้
5 อันดับ ของ “นักการเมือง”ที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 41.54% |
2 บรรหาร ศิลปะอาชา | 21.36% |
สมัคร สุนทรเวช | 17.95% |
ชวน หลีกภัย | 9.64% |
ทักษิณ ชินวัตร | 9.51% |
0 0 0
รามคำแหงโพลล์: ความเชื่อเรื่องตัวเลขกับความรู้ด้านการเลือกตั้ง (12 พฤศจิกายน 2550)
ในภาวะที่การเมืองกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 1,464 คน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ในหัวข้อ “ความเชื่อเรื่องตัวเลขกับความรู้ด้านการเลือกตั้ง” เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้และรับรู้ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย โดยผลการสำรวจ
ในหัวข้อที่ว่าพรรคการเมืองใดที่ชื่นชอบมากที่สุดในปัจจุบัน ปรากฏว่าร้อยละ 52.0 ชอบพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 13.5 ชอบพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 4.1 ชอบพรรคชาติไทย ร้อยละ 1.8 ชอบพรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 0.8 ชอบพรรคเพื่อแผ่นดิน เท่ากับที่ชอบพรรครวมใจไทย ชาติพัฒนา ร้อยละ 19.9 ไม่ชอบพรรคใดเลย และร้อยละ 7.0 ไม่มีความเห็น
0 0 0
สวนดุสิตโพลล์: ความนิยมต่อพรรคการเมือง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (12 พฤศจิกายน 2550)
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 การแข่งขันของพรรคการเมืองยิ่งเข้มข้นขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะการกำลังจะเปิดตัวผู้สมัครในพื้นที่ สวนดุสิตโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 4,410 คน (กทม. 1,217 คน 27.60% ตจว. 3,193 คน 72.40%) ระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2550 สรุปผลความนิยมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อพรรคการเมือง ได้ดังนี้
อันดับที่ | พรรคการเมือง | กทม. | ตจว. | ภาพรวม |
1 | พรรคพลังประชาชน | 30.77% | 38.74% | 38.58% |
2 | พรรคประชาธิปัตย์ | 46.15% | 28.29% | 32.29% |
3 | พรรคชาติไทย | 8.28% | 11.12% | 10.27% |
4 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 6.59% | 11.54% | 9.39% |
5 | พรรคเพื่อแผ่นดิน | 4.40% | 5.49% | 5.00% |
6 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 2.20% | 2.75% | 2.71% |
7 | พรรคประชาราช | 1.10% | 1.38% | 1.21% |
| พรรคอื่น ๆ | 0.51% | 0.69% | 0.55% |
0 0 0
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: คนกรุงเทพฯ กว่าครึ่งยกให้อภิสิทธิ์เป็นนายก และเกินครึ่งคิดว่านายกอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรคก็ได้ (13 พฤศจิกายน 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ “ความรู้สึกและคาดหวังต่อเลือกตั้ง” โดยสอบถามคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,575 คน จากทุกระดับการศึกษา อาชีพ เพศและอายุ ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2550 ได้ผลสรุปเกี่ยวกับว่าที่นายกรัฐมนตรีดังนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพิจารณาจากหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เรียงตามลำดับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ร้อยละ 52.2 |
นายสมัคร สุนทรเวช | ร้อยละ 14.7 |
นายบรรหาร ศิลปะอาชา | ร้อยละ 13.3 |
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร และนายเสนาะ เทียนทอง | ร้อยละ 4.8 |
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ | ร้อยละ 2.5 |
นายสุวิทย์ คุณกิตติ | ร้อยละ 2.1 |
นายประมวล รุจนเสรี | ร้อยละ 1.0 |
และอื่นๆ | ร้อยละ 4.6 |
0 0 0
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (22 พฤศจิกายน 2550)
ในโอกาสที่วันเลือกตั้งครั้งสำคัญของคนไทย จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 16 จังหวัดจากทั้ง 8 กลุ่มจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พัทลุง และสงขลา ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,507 คน เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2550 โดยได้ผลสรุปเกี่ยวกับว่าที่พรรคแกนนำรับบาลและนายกรัฐมนตรีดังนี้
พรรคการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะเลือกในระบบสัดส่วน คือ
พรรคประชาธิปัตย์ | ร้อยละ 43.5 |
พรรคพลังประชาชน | ร้อยละ 24.8 |
พรรคชาติไทย | ร้อยละ 7.4 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | ร้อยละ 3.3 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | ร้อยละ 1.9 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | ร้อยละ 1.2 |
พรรคประชาราช | ร้อยละ 0.9 |
พรรคอื่นๆ | ร้อยละ 3.5 |
ยังไม่ได้ตัดสินใจ | ร้อยละ 13.5 |
หัวหน้าพรรคการเมืองที่คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด คือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ร้อยละ 46.4 |
นายสมัคร สุนทรเวช | ร้อยละ 22.9 |
นายบรรหาร ศิลปอาชา | ร้อยละ 5.8 |
นายสุวิทย์ คุณกิตติ | ร้อยละ 2.9 |
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร | ร้อยละ 1.7 |
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ | ร้อยละ 1.2 |
นายเสนาะ เทียนทอง | ร้อยละ 1.2 |
อื่นๆ | ร้อยละ 3.9 |
ไม่แน่ใจ | ร้อยละ 14.0 |
0 0 0
เอแบคโพลล์: สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 (6 ธันวาคม 2550)
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มี สิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกนนำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง ประชาชนจำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -5 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีดังนี้
สำหรับผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ถ้ามีการเลือกตั้งในช่วงที่ทำการสำรวจ พรรคพลังประชาชนคาดว่าจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคประชาราช เป็นต้นจะได้ 8 ที่นั่ง โดยมีค่าบวกลบความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5 ที่นั่ง
ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนท้องถิ่นระดับ อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศจำนวน 2,109 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่เข้ามาหาเสียงในพื้นที่ของตน รองลงมาคือ ร้อยละ 63.7 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 47.6 ระบุ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 44.5 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 44.4 ระบุพรรคเพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 23.5 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 13.4 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่ลงพื้นที่หาเสียงแบบเข้มข้น รองลงมาคือร้อยละ 35.8 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22.4 ระบุพรรคเพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 21.2 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 15.8 ระบุ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 9.1 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 3.1 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ทำให้เกิดสมมติฐานได้หลายประการ เช่น โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะชนะการเลือกตั้งมีสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์เพราะถ้าเทียบกันแต่ละภูมิภาคแล้ว อาจสะท้อนให้เห็นถึง ความทุ่มเทหาเสียงและการบริหารจัดการรณรงค์เพื่อชนะการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชนมีมากกว่าทุกพรรคการเมืองในแต่ละภูมิภาค แม้แต่พื้นที่ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นพื้นที่ที่พรรคพลังประชาชนไม่มีโอกาสจะชนะได้ แต่กลับพบว่ามีแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคใต้สูงถึงร้อยละ 36.6 ที่รับรู้ว่าพรรคพลังประชาชนได้หาเสียงแบบเข้มข้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ กลับได้รับการรับรู้จากแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงร้อยละ 17.8 เท่านั้น คล้ายกับว่า พรรคการเมืองที่รู้ตัวว่าจะแพ้ก็จะลดระดับของการหาเสียงลงไป แต่พรรคพลังประชาชนที่อาจทราบว่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็ไม่ประมาทและในพื้นที่ที่คิดว่าจะแพ้ เช่น ในพื้นที่ภาคใต้ ก็ยังคงทุ่มเทรณรงค์หา เสียงอย่างเข้มข้น จึงอาจเกิดปรากฏการณ์การเมืองที่หลายฝ่ายอาจคิดไม่ถึงในการเลือกตั้งครั้งนี้
แสดงผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศ จำแนกตามพรรคการเมือง
ลำดับที่ | พรรคการเมือง | จำนวนที่นั่ง |
1 | พรรคพลังประชาชน | 39 |
2 | พรรคประชาธิปัตย์ | 33 |
3 | พรรคอื่นๆ ได้แก่ ชาติไทย เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา และประชาราช เป็นต้น | 8 |
| รวมทั้งสิ้น | 80 |
หมายเหตุ: ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5 ที่นั่ง กรณีตัดกลุ่มผู้ยังไม่ตัดสินใจออกจากการวิเคราะห์ |
ผลสำรวจจากแกนนำชุมชน อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศ
แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ | พรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ | ค่าร้อยละ |
1 | พรรคพลังประชาชน | 80.6 |
2 | พรรคประชาธิปัตย์ | 63.7 |
3 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 47.6 |
4 | พรรคชาติไทย | 44.5 |
5 | พรรคเพื่อแผ่นดิน | 44.4 |
6 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 23.5 |
7 | พรรคประชาราช | 13.4 |
8 | อื่นๆ | 2.4 |
แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองในพื้นที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ | พรรคการเมืองในพื้นที่ที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น | ค่าร้อยละ |
1 | พรรคพลังประชาชน | 57.8 |
2 | พรรคประชาธิปัตย์ | 35.8 |
3 | พรรคเพื่อแผ่นดิน | 22.4 |
4 | พรรคชาติไทย | 21.2 |
5 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 15.8 |
6 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 9.1 |
7 | พรรคประชาราช | 3.1 |
8 | อื่นๆ | 0.4 |
แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น จำแนกตามภูมิภาค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ | พรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น | ภาคเหนือ ค่าร้อยละ | ภาคกลาง ค่าร้อยละ | ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ค่าร้อยละ | ภาคใต้ ค่าร้อยละ |
1 | พรรคพลังประชาชน | 56.6 | 61.8 | 63.9 | 36.6 |
2 | พรรคประชาธิปัตย์ | 42.9 | 45.6 | 17.8 | 60.8 |
3 | พรรคชาติไทย | 21.9 | 37.8 | 15.5 | 11.4 |
4 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 20.2 | 15.1 | 16.1 | 9.5 |
5 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 10.5 | 3.5 | 13.0 | 3.9 |
6 | พรรคเพื่อแผ่นดิน | 12.2 | 10.5 | 37.4 | 13.4 |
7 | พรรคประชาราช | 1.1 | 4.4 | 3.4 | 3.3 |
8 | อื่นๆ | 0.2 | 0.2 | 0.1 | 1.6 |
0 0 0
เอแบคโพลล์: ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 (11 ธันวาคม 2550)
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า หลังจากได้ประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบสัดส่วนที่พบว่า พรรคพลังประชาชนจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นจะได้ 8 ที่นั่งไปแล้วนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 จากตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศจำนวน 7,589 ตัวอย่าง พบประเด็นที่น่าพิจารณาที่เป็นความแน่นอนและไม่แน่นอนที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 ดังนี้
ผลการสำรวจพบว่า ไม่ว่าประชาชนตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นเดียวกันคือต้องการเห็นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 90 โดยเมื่อจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น โดยผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนมีอยู่ร้อยละ 93.6 ตั้งจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มีอยู่ร้อยละ 90.6 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 88.5 นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นหลังการเลือกตั้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือความรักความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งพบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีอยู่ประมาณร้อยละ 80 และพบว่าร้อยละ 75.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์อยากเห็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง นอกจากนี้ร้อยละ 76.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนอยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไปหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 68.1 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 67.7 ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลใหม่ในการทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้น ผลการสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 60 ของทั้งสามกลุ่มระบุอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกตั้ง 2550 นี้โดยพิจารณาจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น ผลการสำรวจพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 57.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งอันดับ 1 ได้แก่ หัวหน้าพรรคการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 55.1 ระบุใช้ข้อมูลจากคนในครอบครัว ร้อยละ 52.7 ระบุใช้ข้อมูลจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง และร้อยละ 50.7 ระบุใช้ข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์นั้น ร้อยละ 59.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจคือหัวหน้าพรรคการเมือง รองลงมาคือ ร้อยละ 57.4 ระบุข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 52.8 ระบุผู้สมัครรับเลือกตั้ง และร้อยละ 50.6 ระบุคนในครอบครัวตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์การตัดสินใจของประชาชนต่อ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้ง โดยภาพรวมพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งหญิงและชาย อย่างไรก็ตามร้อยละ 34.6 ของประชาชนเพศชายที่ถูกศึกษาระบุมีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ ในขณะที่เพศหญิงมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 29.5 อย่างไรก็ตามร้อยละ 41.0 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่เป็นหญิง ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือก ส.ส.จากพรรคการเมืองใด ในขณะที่เพศชายมีกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจคิดเป็นร้อยละ 35.9 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุนั้นพบว่า ร้อยละ 42.9 ของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ
สำหรับการตัดสินใจของกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาชั้นนั้น พบว่ามากกว่า 2 ใน 3ของกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้ว โดยร้อยละ 37.3 ได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 35.1 นั้นยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนใจได้ ทั้งนี้ร้อยละ 27.6 ยังไม่ได้สินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด สำหรับในกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีนั้น พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด
และเมื่อพิจารณาการตัดสินใจของประชาชนจำแนกตามสภาพพื้นที่พักอาศัยนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.9 ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิมในเขตเทศบาล มีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคการเมืองอื่น ถึงแม้ว่าจะมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้วก็ตาม สำหรับในกลุ่มผู้ที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดิมนอกเขตเทศบาลนั้นผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 42.6 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 38.9 ของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรใหม่นั้นได้ตัดสินอย่างแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้
นอกเหนือไปจากการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก ส.ส. ประจำเขตเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว ผลการสำรวจพบว่าในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองต่างๆ นั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่ทราบว่า ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ตนเองตั้งใจจะเลือกมีเบอร์อะไรบ้าง อาทิ ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือก ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์นั้นร้อยละ 56.1 ยังไม่ทราบว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตของตนมีเบอร์อะไรบ้าง เช่นเดียวกัน ร้อยละ 63.3 ของผู้ที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดินก็ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัคร ร้อยละ 61.5 ยังไม่ทราบเบอร์ของ ผู้สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย และร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคประชาราช ตามลำดับ ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนนั้นมีพบว่าร้อยละ 44.2 ระบุยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนเองตั้งใจจะเลือก
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผลวิเคราะห์พรรคการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง ที่พบว่า ร้อยละ 59.0 ของกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกพรรคพลังประชาชนในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ สำหรับในกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ร้อยละ 61.4 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 25.9 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ที่น่าสนใจคือการตัดสินใจ ของคนในกลุ่มที่เรียกตนเองว่าพลังเงียบ ที่พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 61.3 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 18.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 13.2 จะเลือกพรรคพลังประชาชน โดยมีเพียงร้อยละ 7.4 ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่พบว่าเป็นความชัดเจนแน่นอนในการสำรวจครั้งนี้คือ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นภายหลังการเลือกตั้ง ได้แก่ อยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น อยากเห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ อยากเห็นความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไป และอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำได้ตามนโยบายที่ประกาศไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นเหล่านี้ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากพรรคการเมืองให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน ส่งผลให้กลุ่มพลังเงียบยังไม่เทคะแนนให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งในขณะนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ พรรคการเมืองต่างๆ อาจไม่สนใจความต้องการของกลุ่มพลังเงียบ และอาจกำลังพยายามทำให้กลุ่มพลังเงียบเบื่อหน่ายต่อการเมืองจนไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้แผนที่พรรคการเมืองบางพรรควางไว้เพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยพยายามรักษาฐานเสียงของตนไว้ตามที่มีอยู่ขณะนี้ก็เพียงพอที่จะชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่ถ้ากลุ่มพลังเงียบออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากการทำนายของโพลล์และการคาดเดาของกลุ่มต่างๆ ได้ ดังนั้น การชี้ขาดผลการเลือกตั้ง 2550 จึงน่าจะอยู่ที่กลุ่มพลังเงียบที่สำรวจพบว่าเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในขณะนี้
0 0 0
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 2) (13 ธันวาคม 2550)
ด้วยการเลือกตั้งครั้งสำคัญของคนไทย จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม” ครั้งที่ 2 ขึ้นโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 16 จังหวัดจากทั้ง 8 กลุ่มจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี เชียงใหม่ แพร่ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด นครราชสีมา จันทบุรี ราชบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช และสตูล ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,472 คน โดยเป็นผู้ที่อาศัยในเขตเทศบาล ร้อยละ 39.9 และนอกเขตเทศบาล ร้อยละ 60.1 เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 4 -10 ธันวาคม 2550 สรุปผลเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่จะได้จัดตั้งรัฐบาลและว่าที่นายกรัฐมนตรีได้ดังนี้
พรรคการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะเลือกในระบบสัดส่วน คือ
พรรคประชาธิปัตย์ | ร้อยละ 34.2 |
พรรคพลังประชาชน | ร้อยละ 31.9 |
พรรคชาติไทย | ร้อยละ 4.3 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | ร้อยละ 3.0 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | ร้อยละ 1.5 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | ร้อยละ 1.4 |
พรรคประชาราช | ร้อยละ 1.0 |
พรรคอื่นๆ | ร้อยละ 3.0 |
ยังไม่ได้ตัดสินใจ | ร้อยละ 19.7 |
หัวหน้าพรรคการเมืองที่คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด คือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ร้อยละ 34.8 |
นายสมัคร สุนทรเวช | ร้อยละ 28.0 |
นายบรรหาร ศิลปอาชา | ร้อยละ 4.0 |
นายสุวิทย์ คุณกิตติ | ร้อยละ 1.9 |
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร | ร้อยละ 1.5 |
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ | ร้อยละ 1.3 |
นายเสนาะ เทียนทอง | ร้อยละ 0.9 |
อื่นๆ | ร้อยละ 2.6 |
ไม่แน่ใจ | ร้อยละ 22.3 |
ไม่มีใครเหมาะสม | ร้อยละ 2.7 |
0 0 0
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: การเมืองไทย:อยากได้ใครเป็นนายก (13 ธันวาคม 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ “การเมืองไทย : อยากได้ใครเป็นนายก” โดยสอบถามคนกรุงเทพจำนวน 1,091 ตัวอย่างในเขต กทม. ทุกระดับการศึกษา เพศ อาชีพ และอายุ ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้ผลสรุปเกี่ยวกับตัวนายกรัฐมนตรีดังนี้
จากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ปรากฏขณะนี้ ใครจะเป็นบุคคลที่เหมาะสม และมีโอกาสเป็นนายกรับมนตรีคนต่อไปมากที่สุด
จำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา
| ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า | มัธยมศึกษา/ปวช. | อนุปริญญา/ปวส. | ปริญญาตรีหรือสูงกว่า |
1. พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร | 3 | 2 | 0.5 | 1 |
2. บรรหาร ศิลปะอาชา | 7.5w | 8.5w | 13.3w | 5.6w |
3. ประมวล รุจนเสรี | - | 0.3 | 0.5 | - |
4. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ | 4.5 | 4.1 | 5.9 | 3 |
5. สมัคร สุนทรเวช | 43.2u | 33.8v | 32.0v | 25.5v |
6. สุวิทย์ คุณกิตติ | - | 1.7 | 2 | 1.5 |
7. เสนาะ เทียนทอง | 3 | 2.4 | 3.9 | 0.5 |
8. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 38.8v | 47.2u | 41.9u | 62.9u |
จำแนกตามอาชีพ
| รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ | พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน | รับจ้างทั่วไป/ลูกจ้างโรงงาน | ประกอบธุรกิจส่วนตัว | แม่บ้าน | นักเรียน/นักศึกษา |
1. พล.อ.เชษฐาฐานะจาโร | 2.2 | 0.8 | 2.5 | 1.6 | 6.3 | 0.7 |
2. บรรหาร ศิลปะอาชา | 6.5w | 9.9w | 8.6w | 9.7w | - | 2.9w |
3. ประมวล รุจนเสรี | - | 0.3 | 1.2 | - | - | - |
4. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ | 5.4 | 3.9 | 3.7 | 3.8 | 9.4w | 1.4 |
5. สมัคร สุนทรเวช | 23.9v | 27.3v | 33.3v | 37.3v | 46.9u | 29.3v |
6. สุวิทย์ คุณกิตติ | 1.1 | 1.7 | 2.5 | 1.1 | - | 1.4 |
7. เสนาะ เทียนทอง | 2.2 | 1.7 | 2.5 | 1.6 | 3.1 | 1.4 |
8. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 58.7u | 54.4u | 45.7u | 44.9u | 34.3v | 62.9u |