WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, April 10, 2011

เกมพรรคร่วม โดดเดี่ยวปชป.

ที่มา ข่าวสด



กระแสเลือกตั้งถูกขานรับกันเป็นทอดๆ

เริ่มตั้งแต่ฝ่ายการเมือง กองทัพ ประชาชน รวมถึงองค์กรที่มีบทบาทในการจัดการเลือกตั้งโดยตรงอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.

ส่วนคนบางกลุ่มที่ต้องการให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เสนอให้ยุบสภา แต่ไม่มีการเลือกตั้ง แล้วจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 เข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว 4-5 ปี

นอกจากสังคมไม่ตอบรับ ยังโดนกระแสตีกลับถูกมองเป็นขาประจำ "ตัวป่วน" ส่วนการเปลี่ยนแผนหันมาชูประเด็น "โหวตโน" ก็ทำท่ากลายเป็น "มุขแป้ก" เพราะขัดแย้งกันเองในกลุ่ม

สัญญาณเลือกตั้งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น

เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติวาระสาม ผ่านร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับการเลือกตั้ง และการทำงานของกกต.จำนวน 3 ฉบับ

คือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง

ขั้นตอนต่อไปประธานวุฒิสภายืนยันบรรจุวาระให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ในวาระแรกวันที่ 11 เมษายน เชื่อว่าทั้งหมดจะจบในชั้นวุฒิสภาภายในเดือนเมษายน ก่อนส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขั้นตอนสุดท้าย

โดยนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันกระบวนการต่างๆ จะเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ คือสามารถ"ยุบสภา"ได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม

ดังนั้น ถ้าหากครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ พูดจริงทำจริง ไม่ได้ดีแต่พูด

ประชาชนทั่วทั้งประเทศที่เฝ้ารอการเลือกตั้งมานานจะได้กาบัตร เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ ได้ประมาณปลายเดือนมิ.ย.

หรืออย่างช้าที่สุดคือต้นเดือนก.ค.



นอกจากนี้ ฉากสำคัญที่คนทั่วไปไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ

คือฉากที่พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. นำผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ รวมทั้งตัวแทนผบ.ตร. ออกมายืนเรียงแถวหน้ากระดานแถลงจุดยืนพร้อมหน้า

ยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน ทหารไม่ทำปฏิวัติเด็ดขาด

ทั้งยังอ้างข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ห้ามทหารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และหากมีหน่วยใดเคลื่อนย้ายกำลังโดยไม่ได้รับคำสั่งคือ กบฏ

การเลือกตั้งจะมีขึ้นหรือไม่และหลังเลือกตั้งจะเกิดเหตุการณ์อะไรหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับกองทัพ หากมีการยุบสภาก็เป็นเรื่องของรัฐบาล ส่วนการจัดเลือกตั้งก็เป็นหน้าที่ของกกต.

พร้อมยืนยันไม่มีรัฐบาลแห่งชาติหรือนายกฯ มาตรา 7 แน่นอน

อย่างไรก็ตาม เป็นเพราะยังไม่ลืมบทเรียนเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยาฯ 2549 รวมถึงภาพของกองทัพ ซึ่งทำหน้าที่เป็น "นั่งร้าน" ค้ำยันรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

ไม่ว่าก่อนและหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนธ.ค.50 การสั่งยุบพรรคไทยรักไทย ต่อด้วยพรรคพลังประชาชน ชะตากรรมของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สองอดีตนายกฯ

การจัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร

โดยเฉพาะเหตุการณ์รัฐบาลสั่งใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามม็อบเสื้อแดงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2,000 คน

หลังจากเกิดเหตุรัฐบาลก็อยู่รอดมาได้ จนครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ในวันนี้

จึงไม่แปลกที่คนในพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงจะยังหวาดระแวง ไม่เชื่อถือคำพูดของทหารที่ว่าจะไม่ปฏิวัติ

เรื่องของเรื่องเพราะไม่รู้ว่า "มือที่มองไม่เห็น" คิดอย่างไร

ท่ามกลางสารพัดโพลสำรวจทั้งในทางลับและเปิดเผย พบว่าพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย



ไม่เฉพาะแต่ผลสำรวจของบรรดาโพลที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน

ถ้าสังเกตจากปฏิกิริยาของพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่เป็น "ตัวแปร" สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลมาเกือบทุกยุค ก็จะพบเห็นถึงความไม่มั่นใจเช่นกัน

ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลรอบใหม่หรือไม่

ไม่ว่าจะเป็นการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนาของนายบรรหาร ศิลปอาชา กับพรรคภูมิใจไทย ของนายเนวิน ชิดชอบ

หรือการแถลงข่าวรวมคน-ไม่รวมพรรค ระหว่าง"รวมชาติพัฒนา"กับ"เพื่อแผ่นดิน" ซึ่งมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และแกนนำกลุ่ม 3 พี "พินิจ-ไพโรจน์-ปรีชา" อยู่เบื้องหลัง ภายใต้ชื่อใหม่"รวมชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน"

ก็เป็นไปเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเสียบร่วมรัฐบาล

โดยที่พรรคเหล่านี้ไม่มีใครยึดติดหรือพูดจาผูกมัดตัวเอง ว่าต้องเป็นพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่เป็นแกนนำ ถึงจะเข้าร่วมรัฐบาล

ส่วนที่ว่ามีการทำสัญญาใจกันไว้แล้วนั้น ก็ไม่มียืนยันเช่นกัน เป็นเพียงข่าวสีสันลอยๆ

เพราะดูจากสภาพของพรรคประชาธิปัตย์ตอนนี้ อาการ "ขาลง" น่าจะไปไกลจนกู่ไม่กลับ

ไหนจะปัญหาน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ที่นายกฯ และรัฐบาลขาดความฉับไวในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งที่เป็นพื้นที่ของตัวเองแท้ๆ

ไหนจะปัญหาของกินของใช้ราคาพุ่งสูง ล่าสุดเพิ่งผ่านพ้นจากเรื่อง "สวาปาล์ม" มาหมาดๆ ก็เป็นคิวน้ำมันถั่วเหลืองปรับขึ้นราคาอีกขวดละ 9 บาท

ก่อนที่พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทยจะเปิดศึก "หักดิบ" กันอีกรอบเรื่องขึ้นราคาปุ๋ยอีก 10-35 เปอร์เซ็นต์

ตามข่าวพาดหัวนายกฯอภิสิทธิ์ เบรกนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยจนหัวคะมำ เบื้องหลังเพราะกลัวกระทบต่อฐานเสียงเกษตรกรที่กำลังจะมีการเลือกตั้งเร็วๆ นี้

พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส "เหยียบบ่าเพื่อน" จนนาทีสุดท้าย

เลยไม่แปลกใจกับข่าวพรรคร่วมรวมหัวกันโดดเดี่ยวพรรคแกนนำ หลังการเลือกตั้งน่าจะทางใครทางมัน

ยกเว้น "มือที่มองไม่เห็น" จะแสดงอิทธิฤทธิ์อีกรอบ