WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, April 10, 2011

ประเพณีและวัฒนธรรม ทางการเมือง

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ



คอลัมน์ คนดินตรอก

โดย วีรพงษ์ รามางกูร



การเมืองสำหรับประเทศไทยนั้น วิเคราะห์และใช้หลักการวิเคราะห์ยากมากกว่าประเทศอื่นใดในโลก เพราะไม่มีประเพณีและวัฒนธรรมการเมืองที่แน่นอน จะใช้ประเพณีการปกครองแบบอังกฤษหรือยุโรปตะวันตกก็ไม่ได้ เพราะพรรค การเมืองและผู้นำทางการเมืองไม่ได้ยึดถือประเพณีและวัฒนธรรมการปกครอง

เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองในประเด็นต่าง ๆ แทนที่จะใช้เสียงข้างมากในสภาตัดสิน ระบบของเราเป็นระบบรัฐสภา พยายามให้วินัยของพรรคเข้มแข็งแบบอังกฤษก็ใช้ไม่ได้ ผู้คนไม่ยอม ครั้นจะยุบสภาให้ประชาชนตัดสิน คนชั้นกลางระดับสูง หรือที่เรียกว่า upper middle class และสื่อมวลชน ก็ไม่เห็นด้วย เรียกร้องให้ลาออกอย่างเดียว

ถ้ายุบสภาแล้วพรรคฝ่ายค้านเห็นว่าตนจะสู้ไม่ได้ ก็คว่ำบาตรการเลือกตั้ง ไม่ลงสมัคร แล้วก็หาทางให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งไม่มีในตำรารัฐศาสตร์ เล่มใด

เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ฝ่ายร่างรัฐธรรมนูญก็สัญญากับประชาชนที่มาลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่าง ถึงขนาดบอกให้รับไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ภายหลัง จนบัดนี้ก็ไม่ได้แก้ ก็ไม่มีใครว่าอะไร จนเร็ว ๆ นี้พรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวอะไรกับที่รับปากไว้กับประชาชน และประชาชนสื่อมวลชนก็ไม่ว่าอะไร ลืมกันไปหมด

ประเทศที่ยึดถือประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองค่อนข้างเคร่งครัด คือ ประเทศอังกฤษ เพราะอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร รัฐสภาอังกฤษเป็นใหญ่ จะออกกฎหมาย อย่างไรก็ได้ บางเรื่องที่ปฏิบัติกันมา จนเป็นประเพณีก็ไม่จำเป็นต้องตรา เป็นกฎหมาย แต่เมื่อประเพณีบางอย่างเปลี่ยนไปก็ค่อยออกกฎหมายเปลี่ยน แปลงใหม่ กฎหมายก็เป็นพระราชบัญญัติธรรมดา ๆ

แต่ประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองของเราไม่มีหรือเกือบไม่มีคงจะเป็นเพราะระบอบการเมืองแบบรัฐสภาของเรามีพัฒนาการที่ไม่ปะติดปะต่อมาอย่างต่อเนื่องเกือบค่อนศตวรรษ

ขณะเดียวกัน ก็เกิดประเพณีทาง การเมืองที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นอยู่เสมอ คือ การรัฐประหาร

หลังการรัฐประหารก็มีระเบียบแบบแผนเป็นประเพณีเป็นวัฒนธรรม เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 1 เป็นประกาศปฏิวัติยึดอำนาจ เพราะรัฐบาลที่เป็นอยู่ฉ้อราษฎร์บังหลวง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้

ต่อไปก็เป็นประกาศว่าจะยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ยังคงยึดมั่นต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และพันธกรณีกับนานาประเทศและ อื่น ๆ

ต่อไปก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีต่าง ๆ นานา

เมื่อมีสภานิติบัญญัติซึ่งแต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ มีการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี กฎหมายฉบับแรกที่สภาจะผ่านให้ก็คือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคณะปฏิวัติ แล้วก็ให้คำมั่นว่าจะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งภายใน 1 ปี นับแต่ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

ขบวนการรัฐประหารไม่มีกฎหมายรับรอง แต่เป็นประเพณีการปกครองประเทศในระบอบการปกครองแบบปฏิวัติรัฐประหาร ได้รับการยอมรับ จากสื่อมวลชนและประชาชนเป็น อย่างดี บ้านเมืองสงบเรียบร้อยราบคาบ เอกชน นายทุน สามารถทำธุรกิจได้ เป็นปกติ

ส่วนประชาชนชั้นล่างที่เลือกสมาชิกสภาผู้แทนฯเป็นผู้แทนฯของตน ที่คอยวิ่งเต้นดึงงบประมาณมาลงในเขตของตนก็ดี คอยดูแลพวกตน ฝากลูกหลานเข้าโรงเรียน เข้าทำงาน หาเงินนอก งบประมาณนอกระบบมาดูแลก็จะขาดหายไป แต่ชาวบ้านชั้นล่างก็ยอมรับโดยดุษณีกลายเป็นประเพณีไป

อาจจะเขียนเป็นตำราหรือคู่มือได้เลยว่า เมื่อยึดอำนาจสำเร็จแล้วจะมี ขั้นตอนประกาศคณะปฏิวัติ ซึ่งต้องถือว่ามีฐานะเท่ากับพระราชบัญญัติ มีประเพณีที่ถือว่าคณะปฏิวัติกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" วาจาของหัวหน้าคณะปฏิวัติกลายเป็นกฎหมาย

ขณะที่หัวหน้าคณะปฏิวัติมีฐานะเป็น "รัฐ" หรือ "องค์อธิปัตย์" หรือ "รัฐาธิปัตย์" ถ้าระหว่างนั้นจะต้องมีการประกาศสงครามใคร จะเป็นผู้ลงนามในประกาศ หัวหน้าคณะปฏิวัติน่าจะเป็น ผู้ลงนามประกาศ

การรัฐประหารในเวลาต่อมาไม่นิยมเรียกว่า "คณะปฏิวัติ" แต่นิยมเรียก ชื่ออย่างอื่น เช่น คณะปฏิรูปการปกครองบ้าง คณะปฏิรูปอื่น ๆ แต่ไม่ใช่คณะปฏิวัติ แต่ค่อนข้างสรุปได้ว่ามีประเพณีแบบแผนที่แน่นอนมั่นคงโดยไม่ต้องมีบทบัญญัติกฎหมายถาวรใด ๆ ให้บัญญัติอำนาจไว้

ประเพณีหรือวัฒนธรรมที่สำคัญอีกอันก็คือ เมื่อมีการอนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมือง หลังการเลือกตั้งพรรคการเมืองใหญ่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลไม่ได้ถือว่าตนเป็นสถาบันหนึ่งที่ต่างคนต่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบใน การบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย แต่มีวัฒนธรรมว่าตนเป็นศัตรูของอีกฝ่าย ไม่ใช่ผู้ร่วมทำงานให้ประเทศในอีกฐานะหนึ่ง

เมื่อเป็นอย่างนั้นทั้งสองฝ่ายต่างก็หาเรื่อง สร้างเรื่อง ปั้นน้ำเป็นตัว ทำลายกันและกัน ทั้งในสภาและนอกสภา พร้อม ที่จะทำทุกอย่างเพื่อโค่นล้มทำลายอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ เช่น การทำลายชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมไปถึงการสร้างหลักฐานเท็จ เช่น สร้างหลักฐานเท็จว่านายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดที่ประเทศจีน ประเพณีการกล่าวเท็จที่ไม่คำนึงถึงจริยธรรมดังกล่าวกลับเป็นที่ยอมรับของสังคม ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

ส่วนการกล่าวหาว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวง คอร์รัปชั่นทั้ง ๆ ที่มีมูล เมื่อฝ่ายค้านยกขึ้นกล่าวหาในสภาแล้วรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตอบชี้แจงจริงบ้างเท็จบ้าง ลงมติแล้วก็แล้วกันไป สังคมไม่กดดันให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ขวนขวาย ฝ่ายค้านก็ไม่กดดันให้ความเป็นจริงต่าง ๆ ปรากฏ

การประชุมสภาก็ไม่มีวัฒนธรรมที่จะแสวงหาความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ไม่มีวัฒนธรรมกิริยามารยาทที่ดีงาม กลายเป็นแบบอย่างที่ผิด ๆ ให้กับเยาวชนคนรุ่นหลัง

ผู้นำพรรคการเมืองก็ไม่เคยสร้างวัฒนธรรมและมารยาททางการเมือง ในทางตรงกันข้ามนอกจากสร้างวัฒนธรรมการพูดเท็จปั้นน้ำเป็นตัวแล้ว ยังสร้างวัฒนธรรมพูดจาเหน็บแนม ถากถาง ไม่ให้เกียรติผู้อื่น บริภาษคนอื่นว่าเป็นคนทำไม่ดี สามารถด่าคนอื่นว่าซื้อเสียง "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" อย่าง สาดเสียเทเสีย ทั้ง ๆ ที่พรรคของตน ก็ทำหรือทำมากกว่าด้วยซ้ำ

ตลอดเวลาเกือบ 80 ปี ทางฝ่ายนักการเมืองและพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้สร้างประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองที่จะทำให‰ ระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยเลย นวัตกรรมทางการเมืองในทางสร้าง สรรค์ก็มีน้อย ส่วนนวัตกรรมทางการเมืองในทางทำลายระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกลับมีอยู่ตลอดระยะเวลา

พรรคการเมืองไทยไม่เคยมีส่วนในการเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่เคยมีส่วนร่วมกับการเมืองภาคประชาชน อาจจะเป็นเหตุที่พรรคการเมืองของเราไม่ เคยได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำทางความคิดในทางประชาธิปไตย ส่วนผู้นำทางฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย สามารถโน้มน้าวสื่อมวลชนและประชาชนให้มีความเห็นคล้อยตามได้ว่าระบอบการปกครองแบบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย นั้นดีกว่า

ขณะนี้ฝ่ายที่ไม่นิยมประชาธิปไตยกำลังเรียกร้องให้ประชาชนไปลงคะแนน "งดออกเสียง" หรือ "No Vote" เพื่อ ปูทางไปสู่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี โดยบทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือการ "ปฏิวัติเงียบ" ปลุกปั่นอารมณ์ ความรัก ความเกลียดชัง โดยไม่ได้คำนึงว่าจะเป็นอันตรายต่อสถาบันทางการเมืองของชาติอย่างไร ไม่เข้าใจเจตนารมณ์ที่แท้จริง ไม่สามารถแปลได้ว่าระบอบดังกล่าวคือระบอบอะไร แต่สังคมก็ยังไม่ว่าอะไร ถ้าทำกัน บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นประเพณีการเมืองไป เมื่อใครไม่ชอบรัฐบาลแทนที่จะไปดำเนินการตามวิถีทางประชาธิปไตย กลับไปชุมนุมเรียกร้องขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลประชาธิปัตย์จะออกมาอธิบายขัดขวางก็ไม่ถนัด เพราะผู้นำพรรคการ เมืองก็เคยมีพฤติกรรมเช่นนี้ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างประเพณีขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7

วัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์และเป็นอันตรายอย่างยิ่งก็คือ วัฒนธรรมการผูกขาดความจงรักภักดี ใช้ความจงรักภักดีเป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง ประชาชนคนไทยมีความจงรักภักดีเป็นพื้นฐาน อยู่แล้ว เมื่อมีคนมาจี้จุดความอ่อนไหวในหัวใจคนไทยทุกคนอยู่แล้วก็เกิดอารมณ์ได้ง่าย

การใช้เรื่องนี้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองจึงมีผลตามที่ต้องการได้ในระยะสั้น โดยหารู้ไม่ว่าการกระทำเช่นนั้น ต่อไปก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมและ ประเพณีทางการเมืองที่สร้างความ เสียหายอย่างใหญ่หลวง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนไว้ในคอลัมน์ซอยสวนพลูว่า สมัยโบราณนั้น "ผู้ใดอ้างพระบรมราชโองการย่อมมีโทษประหารชีวิต" ประเพณีดี ๆ อย่างนี้ควรรักษาไว้ให้เคร่งครัด

ประเพณีและวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นเครื่องวัดระดับการพัฒนาการเมือง