WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, April 16, 2011

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนตามคติพุทธศาสนา

ที่มา ประชาไท

ในอัคคัญญสุตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ 11) พระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบชนชั้นทางสังคมตามคติพราหมณ์ ที่เรียกว่า “วรรณะสี่” คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

การปฏิเสธดังกล่าวมีความหมายสำคัญว่า 1) ปฏิเสธอภิปรัชญาแบบพราหมณ์ที่ถือว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ และกำหนดสถานะแห่งชนชั้นทางสังคมของมนุษย์เอาไว้อย่างตายตัว 2) ในทางปรัชญาสังคมเท่ากับยืนยันว่าระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่ออยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมเป็น “ระบบที่ไม่ยุติธรรม”

ข้อโต้แย้งที่พระพุทธองค์ใช้ปฏิเสธระบบชนชั้นทางสังคมดังกล่าว อาจสรุปได้เป็นสองประเด็นหลักๆ คือ

ประเด็นที่หนึ่ง ระบบชนชั้นไม่ได้เกิดจากการกำหนดโดยเทวสิทธิ์ แต่เกิดจากวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ กล่าวคือในสภาวะสังคมตามธรรมชาติหรือสภาพสังคมก่อนสังคมการเมือง มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างไร้ศีลธรรม ผลแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างไร้ศีลธรรมคือ “ทุกข์ร่วม” ที่เกิดจากการเบียดเบียนชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน ฯลฯ ของกันและกัน

เมื่อมนุษย์ไม่อาจทนอยู่ในสภาพสังคมไร้ศีลธรรมเช่นนั้นอีกต่อไป จึงมาตกลงกันเลือกผู้ปกครอง ภายใต้ข้อตกลงกว้างๆ ร่วมกันว่า 1) ผู้ปกครองต้องมีอำนาจในการ “ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ” ทั้งนี้การทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงข้อที่ 2) ว่า สมาชิกของสังคมตกลงจะแบ่งข้าวสาลีให้เป็นการตอบแทนในการทำหน้าที่นั้น

และเนื่องจากการเป็นปกครองดังกล่าวนั้นเกิดจาก “การสมมติของชนหมู่มาก” จึงมีชื่อเรียกผู้นำเช่นนั้น ว่า “มหาชนสมมติ” ต่อมาผู้ปกครองแบบมหาชนสมมตินั้นได้รับการยอมรับจากสังคมว่า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตแดนทั้งหลาย จึงเรียกว่า “กษัตริย์” และเพราะความที่กษัตริย์เช่นนั้นทำให้คนจำนวนมากสุขใจได้โดยธรรม จึงเรียกว่า “ราชา”

ฉะนั้น สถานะของกษัตริย์หรือราชาจึงไม่ใช่สถานะที่มาจากพระเจ้า หากแต่มาจากการสถาปนาขึ้นโดยประชาชน และเป็นที่เคารพรักของประชาชนได้ด้วยการทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนจนเป็นที่ยอมรับ

ประเด็นที่สอง พระพุทธองค์เสนอว่า คนเราจะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ชาติกำเนิด แต่ขึ้นอยู่กับการประพฤติธรรม ไม่ว่าจะมีชาติกำเนิดอย่างไร หากประพฤติอกุศลธรรมก็ถือเป็นคนเลวเสมอเหมือนกัน หากประพฤติกุศลธรรมก็ถือว่าเป็นคนดีเสมอเหมือนกัน

ข้อเสนอดังกล่าวนี้แสดงว่า “มนุษย์มีความเสมอภาคทางศีลธรรม” ในความหมายที่ว่า ทุกคนต่างมีเสรีภาพในการเลือกทำดีหรือชั่ว และต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาอย่างเสมอเหมือนกัน (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)

คำถามคือ พุทธศาสนาได้นำหลักคิดเรื่อง “ความเสมอภาคทางศีลธรรม” ดังกล่าวนี้มาเป็นพื้นฐานในการจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในทางสังคมการเมืองหรือไม่ อาจเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ยาว

แต่ประเด็นที่ชัดเจนคือ ตามคติพุทธศาสนาไม่ได้ถือว่ากษัตริย์หรือราชาต้องสูงส่งกว่าคนทั่วไปด้วยเหตุผลเรื่อง “ชาติกำเนิด” และไม่มีหลักคำสอนใดๆ ในพุทธศาสนาที่แสดงว่ากษัตริย์หรือราชา “ควร” อยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยเหตุผล

ตามคติของพุทธศาสนานั้น กษัตริย์หรือราชา (ผู้ปกครองหรือผู้นำ) จะเป็นที่รักหรือ “ควร” เป็นที่ยอมรับของประชาชนก็ต่อเมื่อเป็นผู้ที่มีทศพิธราชธรรม หรือจักรวรรดิวัตรอันเป็นหลักปฏิบัติของผู้มีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตรไม่ได้มีความหมายเป็นเครื่องมือสนับสนุนสถานะอันศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ของผู้ปกครอง หากแต่มีความหมายในเชิงเป็นเกณฑ์หรือมาตรฐานในการตรวจสอบ “ความเหมาะสม” ในการทำหน้าที่ของผู้ปกครอง เช่น

ผู้ปกครองมีคุณสมบัติของผู้เสียสละหรือไม่ (ทานํ)

ผู้ปกครองมีจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่คนทั่วไปควรจะมีหรือไม่ (สีลํ)

ผู้ปกครองทำหน้าที่อย่างตอบสนองหรือพยายามลดละความโลภ โกรธ หลงอันเป็นไปเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ (ปริจฺจาคํ)

ผู้ปกครองมีความซื่อตรงหรือไม่ (อาชฺชวํ)

ผู้ปกครองอ่อนน้อมถ่อมตนต่อประชาชนที่ค้ำจุนตนเองหรือไม่ (มทฺทวํ) ฯลฯ

และข้อสุดท้ายสำคัญที่สุดคือ ผู้ปกครอง “ต้องมีความเที่ยงธรรม” หมายถึงต้องยึดหลักการ ยึดความถูกต้อง หรือยึด “ระบบ/กติกาที่ถูกต้อง” ของสังคมเป็นหลักในการตัดสินใจ (อวิโรธนํ)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 10 หรือ “อวิโรธนะ” สอดคล้องกับจักรวรรดิวัตรข้อหนึ่งคือ “ธรรมาธิปไตย” หมายถึงผู้ปกครองต้องยึด “ความเป็นธรรมเป็นใหญ่” (ความเป็นธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคทางศีลธรรม = ความเสมอภาคในความเป็นคน) หรือยึดถือหลักความยุติธรรมเป็น “มาตรฐานเดียวกัน” ในการตัดสินใจ หรือในการใช้อำนาจใดๆ

ฉะนั้น ตามคติพุทธ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ หรือราชา (ผู้ปกครองหรือผู้นำ) กับผู้ใต้ปกครองหรือประชาชนถูกเชื่อมโยงด้วยทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร ซึ่งสิ่งเชื่อมโยงดังกล่าวนี้มีความหมายเป็น “มาตรฐานในการตรวจสอบ” บทบาทของกษัตริย์ หรือราชา (ผู้ปกครองหรือผู้นำ) ว่าได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ผู้ใต้ปกครองหรือประชาชนอย่างเหมาะสมหรือไม่

สังคมไทยของเราได้ถือคติ “พระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรม” มาอย่างยาวนาน เราจำเป็นต้องตระหนักว่า “ทศพิธราชธรรมคือมาตรฐานในการตรวจสอบ” ไม่ใช่เครื่องมือยกสถานะของพระมหากษัตริย์ให้ศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือการตรวจสอบ

เพราะในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์นำเสนอทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตรในฐานะมาตรฐานตรวจสอบความน่าเชื่อถือของกษัตริย์หรือราชา สมัยพระเจ้าอโศกพระองค์ก็พิสูจน์ให้ผู้ใต้ปกครองเห็นว่าความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเกิดจากการที่พระราชามีทศพิธราชธรรม แม้ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์บางยุคในสังคมไทย ทศพิธราชธรรมก็อาจถูกใช้เป็นมาตรฐานตรวจสอบความน่าเชื่อถือของพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น ถ้าถือตามคติพุทธศาสนา ยิ่งกษัตริย์หรือราชา (ผู้นำหรือผู้ปกครอง) ถูกตรวจสอบในหลายช่องทาง แล้วสรุปได้ว่า “เปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม” ยิ่งทำให้เป็นที่เคารพเชื่อถือของผู้ใต้ปกครอง หรือประชาชนเป็นทวีคูณ