WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 14, 2011

ชำแหละ73ส.ว.ลากตั้งชุดใหม่

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


รายชื่อ 73 ส.ว.สรรหาชุดใหม่ที่ประกาศออกมา เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

เพราะนอกจากจะมีแต่คนหน้าเดิมๆ กลับเข้าสภาสูงเกือบครึ่งแล้ว ยังเต็มไปด้วยเครือข่ายคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กลุ่มพันธมิตร และพวกที่มีสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคประชาธิปัตย์

เป้าหมายบล็อกขั้วอำนาจทักษิณเป็นการเฉพาะ

เป็นเหตุให้ตัวแทนที่เข้ามาขาดความหลากหลาย ไม่ครบทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ขัดเจตนารมณ์ของการสรรหา

นักวิชาการที่เกาะติดสถานการณ์การเมือง มองเรื่องนี้อย่างไร?



ไพรัช ตระการศิรินนท์

คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ภาพรวมทั้ง 73 คน ไม่ขี้เหร่จนเกินไป แต่ไม่ดีถึงขนาดให้พึงพอใจได้


มีสัดส่วนของส.ว.เดิมที่ทำงานน่าพอใจ กับส.ว. สรรหาหน้าใหม่ที่มีความหลากหลาย ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ อดีตข้าราชการ ทหาร ตำรวจ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ได้พอสมควร

แต่ยังมีกลุ่มคนที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มรัฐประหาร 19 ก.ย.49 หรือกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณอยู่มากพอสมควร เป็นผลสืบเนื่อง จาก คมช.วางไว้ตั้งแต่ร่างรัฐ ธรรมนูญปี"50 จึงไม่แปลกใจที่มีคนของคมช. เข้ามา

เช่น พล.อ. สมเจตน์ บุญ ถนอม อดีต หน.สนง.เลขาธิการ คมช., นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส.

แต่คนจากคมช. อย่าง พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผบ.ทร. หรือนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคตส. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีตคตส. ไม่ได้รับการสรรหาเพราะภาพอาจชัดเจนเกินไป

หากผลเลือกตั้ง เพื่อไทยได้ส.ส.น้อยลง การทำงานในรัฐสภาจะง่ายขึ้น แต่ง่ายขึ้นไม่ได้แปลว่าดีหรือไม่ดี หมายถึงการทำงานจะราบรื่นเพราะเป็นคนพวกเดียวกันเป็นส่วนใหญ่

เป็นเช่นนั้นเท่ากับว่าฝ่ายที่ยังรักทักษิณจะออกไปเล่นเกมนอกสภาอีก บ้านเมืองจะขัดแย้งกันต่อไป คงต้องดูการทำหน้าที่ของส.ว.ชุดใหม่ด้วยว่ามีความประนีประนอมมากแค่ไหน

ยังคิดว่าต้องมีส.ว.สรรหา กระบวนการเลือกตั้งของไทยเชื่อถือไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ภาคสังคมและสื่อต้องช่วยกันสอดส่องการทำงานของกรรมการสรรหา ส.ว. ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม

กรณีตัวแทนทั้ง 5 ภาค มีแต่ทหารและตำรวจแทรกเต็มไปหมด ไม่มีตัวแทนเกษตรกรหรือกลุ่มมุสลิมเข้าไปเลยนั้น ถือเป็นจุดอ่อนของการสรรหา ไม่ตรงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการสรรหา

เป็นเรื่องที่คณะกรรมการต้องอธิบายต่อสังคม



ตระกูล มีชัย

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


การสรรหากลายเป็นการเลือกวุฒิสภาของชนชั้นกลางที่เป็นตัวแทนกลุ่มทุนเท่านั้น ไม่มีตัวแทนภาคประชาชน ถือเป็นจุดอ่อนของกระบวนการสรรหา ต้องแก้ไขจุดอ่อนนี้

ประเทศไทยมีความหลากหลาย กระบวนการสรรหาต้องให้โอกาสชนชั้นล่างมีเก้าอี้นั่งอยู่ด้วย มิเช่นนั้นสภาสูงจะไม่สามารถเป็นจุดสะท้อนความหลากหลายได้ เป็นแค่กลุ่มเดิมๆ ที่ไม่มีความแตกต่าง

หลักสำคัญต้องมีความหลากหลายในกระบวนการสรรหา ไม่ใช่มีแค่เฉพาะกลุ่ม กลุ่มชนชั้นล่าง ตัวแทนผู้ใช้แรงงาน หรือแม้แต่กลุ่มเพศที่สาม ก็ไม่มีโอกาสเข้ามาเลย

ทั้งหมดถือเป็นจุดอ่อน

ส่วนภาพรวมของส.ว.ทั้ง 73 คน ขอดูผลงานก่อนแล้วค่อยวิจารณ์

สภาสูงควรมีสัดส่วนตัวแทนจากทุกกลุ่ม เพื่อมารักษาประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ การสรรหา จึงต้องเปิดกว้างให้ตำแหน่งแก่ตัวแทนชนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมากๆ ด้วย

เชิงรายละเอียดที่ว่ากระบวนการสรรหาตามที่ตัดสินต้องเปลี่ยนแปลง คือ หากมีสว.สรรหา 73 คน อาจจะต้องเพิ่มวิธีการคัดเพิ่มเป็นสองถึงสามเท่าไม่ใช่เพียงสมาคมหรือระบบกลุ่มเพียงเท่านั้น หากมันไม่กระจายมีแค่การเกิดเอกภาพพิจารณาหาตัวแทนของกลุ่ม และนอกจากจะแก้ไขปัญหาที่ตัวของรัฐธรรมนูญเเล้ว ยังมาดูที่ตัวของคนใช้กฎหมายนั้นด้วย



พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


รายชื่อที่ออกมาสะท้อนถึงความขัดแย้งกันกับบทบัญญัติตามรัฐธรรรมนูญ เนื่องจากประการแรก ส.ว.ไม่ควรกลับมาเป็นซ้ำ 2 รอบ แต่ครั้งนี้กลับเข้ามาอีก 31 คน

ประการที่ 2 ผิดจุดมุ่งหมายของการให้มีส.ว.สรรหาที่จะให้ตัวแทนจากภาคต่างๆ ทั้งวิชาชีพ มุสลิม เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ฯลฯ

แต่ครั้งนี้กลับไม่ใช่ตัวแทนขององค์กรเหล่านั้นอย่างแท้จริง

มีแต่คนมีอำนาจ มียศตำแหน่ง ใช้ชื่อเสียง หรือใช้อำนาจคมช. ไปอาศัยชื่อขององค์กรเกษตรหรือวิชาชีพอื่น เสนอรายชื่อเข้ามาแทน จนได้รับการสรรหา

และที่ร้ายที่สุดคือ คนเหล่านี้ได้รับการสรรหาเข้ามาโดยที่กกต.ก็ไม่ได้บอกว่าผิดคุณสมบัติอีกด้วย

ไม่ใช่การดูเฉพาะว่าคนเหล่านี้เป็นกลุ่มอำนาจไหน คมช, คตส., หรือกลุ่มต่อต้านทักษิณเท่านั้น แต่ต้องดูด้วยว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีส.ว. สรรหานั้นเพื่ออะไร

ฉะนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นจากสังคมว่า การสรรหาส.ว.ครั้งนี้ถูกต้องตามเจตนา รมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ตัวแทนจากส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมพิจารณา และผ่านกฎหมายหรือไม่

และการเลือกตัวแทนจากกลุ่มอำนาจคมช. มากกว่าการเลือกตัวแทนเกษตรกร หรือมุสลิมมีเหตุผลมากน้อยแค่ไหน

รวมถึงความโปร่งใสในกระบวนการสรรหานั้นมีหรือไม่



ทวี สุรฤทธิกุล

อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสุโขทัยฯ


รายชื่อส่วนใหญ่เป็นที่น่าพอใจ มีความน่าเชื่อถือในสังคมพอสมควร อย่างกลุ่มอดีตส.ว.สรรหาทั้ง 31 คน มีผลงานในสภาชุดที่ผ่านมา เป็นส.ว.ทำงาน ไม่ใช่ส.ว. ฉาบฉวย ทำหน้าที่อย่างที่ควรกระทำ ไม่โอเวอร์

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มส.ว.หน้าใหม่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น มาจากหลากหลายวงการ มีอดีตข้าราชการน้ำดี เช่น พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ และพล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ

นอกนั้นก็เป็นข้าราชการซึ่งมีผลงานน่าชื่นชม ส่วนภาคเอกชนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงพอสมควร

แม้มีกระแสต่อต้านว่าส.ว.ชุดนี้มาจากชนชั้นกลางและชนชั้นสูง แต่แนวคิดของวุฒิสภาคือต้องการคนที่เป็นหลักเป็นฐาน วุฒิไม่ได้แปลว่าความรู้ แต่หมายถึงศักดิ์ศรีหน้าตา

ซึ่งอันที่จริงแล้วบุคคลเหล่านี้อาจทำงานเพื่อประชาชน เป็นชนชั้นสูงที่ติดดิน เช่น นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ จากสยามสมาคมฯ ก็ทำงานด้านสังคมมามาก แม้เป็นไฮโซแต่มีความมุ่งมั่น บุกป่าฝ่าดงเพื่อชุมชนต่างๆ

จากที่ดูรายชื่อผู้เสนอตัวมาทั้ง 600 กว่าคน กลุ่มชาวนาและกลุ่มรากหญ้าไม่ค่อยมีเสนอตัวเข้ามา มีคนที่ผมรู้จักไม่ถึง 10 คน ซึ่งจำนวนเสนอตัวที่น้อยย่อมทำความลำบากใจให้แก่คณะกรรมการทั้ง 6 คน

เมื่อกลุ่มที่เสนอน้อยแล้วเข้ามาเยอะ คงไม่เหมาะสม ตรงนี้เราต้องยอมรับในกระบวนการว่าเป็นขั้นตอนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญปี"50

หากเราไม่ชอบก็ต้องไปเปลี่ยนแปลงเอา ทางแก้น่าจะขยายคณะกรรมการสรรหาเป็น 40-50 คน หรือถ้าจะให้ดีที่สุดก็เป็นแบบเลือกตั้งทั้งหมดไปเลย

ต่อเรื่องที่หลายคนวิจารณ์ว่าส.ว.ชุดนี้เข้ามาเพื่อสกัดขั้วอำนาจทักษิณนั้น เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่คิดกันไป หลายคนอาจมองว่าส.ว. ชุดนี้มีคนจาก คมช. จากกลุ่มพันธมิตร กลุ่มประชาธิปัตย์ หรือกลุ่มคนไม่ชอบทักษิณ

แต่เท่าที่ผมได้พูดคุยกับพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ใจจริงเขาก็อยากนิรโทษกรรมให้คุณทักษิณ แต่ติดที่คุณทักษิณเป็นนักโทษการเมือง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย

นอกจากนี้หากผลการเลือกตั้งที่จะมาถึง พรรคประชาธิปัตย์แพ้ แล้วพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ส.ว.กลุ่มนี้ก็จะเข้ามาคานอำนาจกับรัฐบาล ชุดนี้จะเป็นส.ว.ที่เข้มแข็งมาก

บทบาทของส.ว.คือการสร้างกระแสสังคมเพื่อดึงดูดคนในชาติเพื่อให้มามีส่วนร่วมในการเมือง ส.ว.จะเชื่อมคนทุกภาคส่วนให้มาร่วมมือกัน

ที่ผ่านมาส.ส.อยู่อย่างตัวใครตัวมัน แต่ส.ว.จะเป็นสะพานเชื่อมทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน