WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, April 10, 2011

สหรัฐชี้ไทยเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น

ที่มา Voice TV

สหรัฐชี้ไทยเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น

สหรัฐระบุ รัฐบาลไทยติดตามอย่างใกล้ชิดและบล็อกเว็บไซต์ที่แสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาล หรือวิจารณ์บางอย่างอย่างไม่เหมาะสม

กระทรวงต่างประเทศสหรัฐออกรายงานประเมินสิทธิมนุษยชนประจำปีทั่วโลก ระบุไทยเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยรัฐบาลไทยติดตามอย่างใกล้ชิดและบล็อกเว็บไซต์ที่แสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาล หรือวิจารณ์บางอย่างอย่างไม่เหมาะสม

ส่วนเมื่อปีที่แล้ว จีนเพิ่มการจำกัดเสียงวิจารณ์และคุมเข้มภาคประชาสังคม ทั้งยังเพิ่มข้อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แนวโน้มแง่ลบดูเหมือนเลวร้ายในช่วยต้นปีนี้ เพราะมีการคุมตัวนักเคลื่อนไหว

นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศเรียกร้องให้ปล่อยตัวนาย อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินและนักวิจารณ์รัฐบาลคนล่าสุดที่ถูกคุมตัว รวมถึงทนายความ นักเขียน นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหว

รายงานของสหรัฐ ระบุว่า เวียดนามก็ปราบปรามนักเคลื่อนไหวมากขึ้น ด้วยการจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างน้อย 25 คนเมื่อปีที่แล้ว และตัดสินว่ามีความผิดไป 14 คน นอกจากนั้น เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตก็ถูกจำกัดมากขึ้น เพราะรัฐบาลโจมตีเว็บไซต์ที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งยังสอดแนมบล็อกเกอร์ที่เป็นนักเคลื่อนไหว

ส่วนสภาพในเกาหลีเหนือและพม่ายังไม่สดใส โดยพม่านั้นแม้ปล่อยตัวนางออง ซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน แต่การเลือกตั้งเมื่อปลายปีที่แล้วยังถูกวิจารณ์ว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม นอกจากนั้นทหารในรัฐฉานและกะเหรี่ยงยังเผาหมู่บ้านของชนกลุ่มน้อย ส่วนจำนวนทหารเด็กก็เพิ่มเป็นเกือบ 12,000 คน

รายงานของสหรัฐ ระบุว่า สถานการณ์ในกัมพูชาก็ก่อให้เกิดความวิตก เพราะหน่วยงานด้านความมั่นคงใช้กำลังถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมทั้งยังมักทำร้ายผู้ต้องหาเพื่อให้สารภาพ อีกทั้งกัมพูชายังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ รวมถึงพยายามทำให้เอ็นจีโออ่อนแอ โดยสหรัฐกล่าวว่าการกดดันเอ็นจีโอ เป็นส่วนหนึ่งของกระแสทั่วโลกที่รัฐบาลกำลังกดดันนักวิจารณ์ อย่างร่างกฎหมายทำให้เอ็นจีโอจดทะเบียนได้ยากขึ้น โดยเฉพาะเอ็นจีโอกลุ่มเล็ก ๆ

แต่สถานการณ์ในอินโดนีเซีย กระเตื้องขึ้น เพราะมีสื่อที่เสรีและภาคประชาสังคมที่กำลังก่อตัว แม้อินโดฯ ก่อกวนชนกลุ่มน้อยอย่างเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงใช้กำลังเกิดกว่าเหตุ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตในจังหวัดปาปัวก็ตาม

Source : NewsCenter/กรุงเทพธุรกิจ/flickr.com (Image)

by wanwan

10 เมษายน 2554 เวลา 14:01 น.