WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 15, 2008

อำนาจอธิปไตย [15 ม.ค. 51 - 19:13]

ระยะนี้ในแวดวงนักวิชาการสายนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ต่างก็ถกเถียงกันว่า การออกมาให้ ใบแดงของ กกต.หรือการสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือ การวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง จะเป็นการใช้อำนาจข้อกฎหมาย ที่เกินขอบเขตหรือไม่

เป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของประชาชนหรือไม่

เมื่อเปรียบเทียบเป็นกรณีศึกษา จากการเมืองในต่างประเทศ ที่ประชาธิปไตยเจริญแล้ว จะระมัดระวังในเรื่องการกระทบกระทั่งอำนาจอธิปไตยของประชาชนมาก

ยกตัวอย่างคดี วอเตอร์เกท Watergate Scandal อันอื้อฉาวที่ทำเอารัฐบาล ของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน สั่นคลอนแทบไปไม่รอด

ประเด็นหนึ่งก็มาจากการ ใช้อำนาจบริหารกับการตรวจสอบจากฝ่ายอัยการ ขณะนั้นประธานาธิบดีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แม้จะพยายามแสดงความบริสุทธิ์ใจ โดยสั่งให้อัยการสูงสุด ตั้งอัยการพิเศษ เพื่อสอบสวนคดีวอเตอร์เกทโดยเฉพาะก็ตามทีเถอะ

แต่ก็ด้วยอำนาจของประธานาธิบดีอีกนั่นแหละสั่งปลดอัยการพิเศษ ในเวลาต่อมาจนทำให้อัยการสูงสุดไม่พอใจตัดสินใจลาออก นิกสัน พยายามแก้เกมด้วยการ ตั้งอัยการพิเศษขึ้นมาใหม่ โดยให้อำนาจการถอดถอนอัยการพิเศษโดยวุฒิสภาเท่านั้น

แต่ชาวบ้านก็ยังไม่เชื่อน้ำยาอยู่ดีออกมาประท้วงกันวุ่นวาย สุดท้ายนิกสันก็อยู่ไม่ได้ เข้าใจว่าช่วงนั้นชาวบ้านจะอยู่ข้างอำนาจการตรวจสอบของอัยการพิเศษมากกว่า

จนในที่สุดอัยการพิเศษก็ได้เป็นอิสระกลายเป็นอัยการอิสระในสมัยที่ จิมมี่ คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดี แยกออกมาจากฝ่ายบริหารโดยสิ้นเชิง

ซึ่งอัยการอิสระที่เป็นหน่วยงานพิเศษก็ได้พยายามทำงานให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจ ทำหน้าที่ตรวจแหลก อาทิสมัยประธานาธิบดี เรแกน และประธานาธิบดี คลินตัน ได้ถูกอัยการพิเศษตรวจสอบถึง 7 ครั้ง ภายใน 5 ปี ไม่เป็นอันทำงานทำการ

เรียกว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับฝ่ายบริหาร

ต่อมาก็เกิดข้อถกเถียงกันอีกว่า พ.ร.บ.อัยการอิสระนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะรุกล้ำเขตอำนาจของฝ่ายบริหาร ในที่สุดศาลฎีกาแห่งสหรัฐฯ ได้ตัดสินเรื่องนี้โดยเห็นว่า การตั้งอัยการอิสระนั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและหลักการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด

สิ่งหนึ่งที่ปรากฏระหว่างการใช้อำนาจของ ฝ่ายบริหารและอำนาจของอัยการอิสระ คือพยายามที่จะไม่ให้กระทบถึง อำนาจอธิปไตย ของคนสหรัฐฯ

ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง

ไม่มีเรื่องของการยุบพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง อำนาจทางกฎหมายจะสอบสวนอย่างไร ก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า ตัวบุคคลจะใหญ่ขนาดไหน เป็นแกนนำระดับไหนของพรรค ก็เป็นเรื่องของตัวบุคคล

เพราะเขาถือว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่.


“หมัดเหล็ก”


คอลัมน์ คาบลูกคาบดอก