WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 4, 2008

อดีต กก.บห.ทรท.ชี้ กกต.ไม่มีความชอบธรรมสั่งยุบพรรคการเมือง

กรุงเทพฯ 3 ก.พ.-อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุ กกต.และตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชอบธรรมในการตัดสินเรื่องยุบพรรคการเมือง ขณะที่นักวิชาการเห็นว่าหากอ้างอิงคำตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย จะก่อให้เกิดความเสียหายกับสังคม

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง ”วิเคราะห์กระแสยุบพรรคการเมือง” โดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 2540 โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้านนายอดิศร กล่าวว่า การยุบพรรคการเมืองเป็นเรื่องธรรมดา แต่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ไม่มีความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่ได้มีที่มาจากประชาชน ดังนั้น หากการยุบพรรคเกิดขึ้นในอนาคต โดย กกต.มีมติ หรือตุลาการรัฐธรรมนูญวินิฉัยให้ยุบพรรคการเมือง ก็ถือว่าไม่มีความชอบธรรม เพราะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดปัจจุบัน เกิดจากการต่ออายุของผู้ที่เข้ามายึดอำนาจ เชื่อว่าการยุบพรรคการเมืองจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่เชื่อว่าการยุบพรรคพลังประชาชน หรือพรรคการเมืองใดในขณะนี้ คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะปัญหาของประเทศบีบตัวเข้ามา ซึ่งมีความสำคัญกว่าการยุบพรรคการเมือง

นายวรพล กล่าวว่า ปัจจุบันพรรคการเมืองต่างมีความกังวล และหวาดกลัวว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง ทั้งนี้ มีปัจจัยมาจากการยุบพรรคการเมืองโดยอ้างเหตุจากการกระทำของกรรมการบริหารพรรค เช่น กรณีการยุบพรรคไทยรักไทย เชื่อว่าบทบัญญัติมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ออกคำสั่งยุบพรรคการเมือง หากถูกนำไปใช้ประกอบการตีความ ตามแนวทางคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 จะเป็นบทบัญญัติที่สร้างปัญหาความวุ่นวาย ต่อสถาบันพรรคการเมือง

นายวรพล กล่าวว่า ผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมและประชาชน หากการตีความกฎหมายขัดต่อหลักนิติธรรม เท่ากับเป็นเครื่องมือขมขู่นักการเมือง และพรรคการเมือง นอกจากนั้นแนวโน้มการใช้อำนาจตามแนวทางดังกล่าว มีแนวโน้มไปในทางที่ปราศจากความรับผิดชอบ ต่อผลความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทางสังคม ทั้งนี้ ตนเห็นว่าการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 มีปัญหาและความผิดพลาด ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญควรรับผิดชอบด้วยการลาออก

นายจรัล กล่าวว่า เชื่อว่าฝ่ายการเมืองที่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ภายหลังพรรคพลังประชาชนได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง มีความพยายามดำเนินการ 2 อย่างคือ 1. การถล่มรัฐบาลของนายสมัคร และ 2.การยุบพรรคการเมือง ซึ่งช่วงหลังกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พูดเรื่องการยุบพรรคบ่อยขึ้น ทำให้กระแสเรื่องการยุบพรรคขณะนี้ กลายเป็นเรื่องลัทธิทางการเมืองไปแล้ว เวลานี้มีการพูดถึงเรื่องการยุบพรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ที่อาจโยงไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนในอนาคต ตนจึงเห็นว่าเรื่องการยุบพรรคควรให้ความสำคัญและวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม

นายวีระ กล่าวว่า อดีตแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ไปพบกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักวานนี้ (2 ก.พ.) เพื่อทำความเข้าใจกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ถึงสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน สำหรับเป้าหมายที่ตนและคณะจะดำเนินต่อไป คือ การผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเร็วที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นผลผลิตของเผด็จการ.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-02-03 16:56:44