WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 4, 2008

วิปยกร่างฯ เลือก นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ นั่งประธาน กมธ.

รัฐสภา 4 ก.พ.- วิปยกร่างข้อบังคับการประชุมเลือก “ประสงค์ บูรณ์พงศ์” พปช.นั่งประธานกรรมาธิการ เล็งถกเพิ่ม-ลด กรรมาธิการ จาก 31 คณะ สัปดาห์หน้า

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส. พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.... แถลงผลการประชุมว่า การประชุมนัดแรกมีมติเลือก นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ และนายถวิล ไพรสณฑ์ เป็นรองประธาน คนที่ 1 นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็นรองประธานคนที่ 2 และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นรองประธาน คนที่ 4 ซึ่งการพิจารณาคณะกรรมาธิการจะยึดข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 เป็นหลัก โดยกำหนดกรอบการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือข้อบังคับที่มีปัญหาต้องแก้ไขปรับปรุง และข้อบังคับที่ไม่มีปัญหา โดยจะเริ่มพิจารณาในส่วนที่ไม่มีปัญหาก่อน จากนั้นจะพิจารณาในส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยส่วนที่ต้องแก้ไขมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และการประมวลว่าการใช้ข้อบังคับฯ พ.ศ. 2544 ว่ามีปัญหาและข้อขัดข้องอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดประชุมทุกวันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี ในเวลา 09.30 น.

นายนิพิฏฐ์ กล่าวอีกว่าที่ประชุมได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. โดยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 265 ได้บัญญัติห้ามไม่ให้ ส.ส.แทรกแซงก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ กรณีดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งกระทู้ถามข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องจะเป็นการแทรกแซงหรือไม่ เพราะตั้งกระทู้หรือยื่นญัตติที่เกี่ยวกับข้าราชการอาจเข้าข่ายเป็นการแทรกแซงและกระทบต่อสถานภาพความเป็น ส.ส.ได้

ด้านนายบุญจง กล่าวว่า ที่ประชุมสงสัยว่าการปฏิบัติหน้าที่เพียงใดที่จะเข้าข่ายแทรกแซงข้าราชการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 265,266 จึงมีความเห็นให้เชิญกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายอัมพร จารุจินดา อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมาชี้แจงให้ความกระจ่าง

นายนิพิฏฐ์ กล่าวเสริมในตอนท้ายว่า ยังมีประเด็นใหญ่ที่กรรมาธิการฯ จะนำมาหารืออีกคือจำนวนคณะกรรมาธิการที่จะคงไว้ 31 คณะหรือไม่ การทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันของกรรมาธิการที่มีการรับพิจารณาญัตติซ้ำซ้อนกันทำให้เกิดความลำบากของผู้มาชี้แจง รวมถึงได้พิจารณาถึงอำนาจการตั้งอนุกรรมาธิการของแต่ละคณะที่ในอดีตมีปัญหาเกิดขึ้น จากการตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้งบประมาณเบี้ยประชุมอย่างสิ้นเปลือง

ส่วนที่มีกระแสข่าวตอบแทนสมาชิกพรรคพลังประชาชนที่ไม่ได้ตำแหน่งในรัฐบาลด้วยการให้ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการแทน นายบุญจง กล่าวว่า ที่ประชุมไม่ทราบเรื่องนี้ และคิดว่าการจะเพิ่มหรือลดจำนวนกรรมาธิการ ขึ้นอยู่กับปัญหาของประชาชน จึงพิจารณาเฉพาะความซ้ำซ้อนของการทำหน้าที่ของกรรมาธิการเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-02-04 14:43:58