กว่าจะผ่านแต่ละขั้นตอนในการจัดตั้งรัฐบาล ดูจะต้องใช้เวลานานนักหนา จนหลายคนรู้สึกว่าความอดทนเริ่มจะลดน้อยถอยลง ยิ่งมีข่าวลือข่าวจริงมากมายในช่วงเวลาอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าต้องเสพข่าวกันจนท้องเฟ้อไปเลยทีเดียว
แต่นั่นล่ะครับคือความเป็นจริงของระบอบประชาธิปไตย
เพราะประชาธิปไตยไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เอาคนมารวมๆกันแล้วก็ทูลเกล้าฯขึ้นไป เพื่อหวังพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงโปรดเกล้าฯเป็นคณะรัฐมนตรี แต่จะต้องนำชื่อแต่ละชื่อที่ได้รับการเสนอมาผ่านกระบวนการคัดกรองต่างๆตั้งแต่ในพรรคการเมืองนั้นๆไปจนถึงกระบวนการทางสังคม เช่น การวิจารณ์ผ่านสื่อสารมวลชนของคนกลุ่มอื่นๆในสังคม ฯลฯ
เรียกว่าต้องผ่านด่านต่างๆมากมาย
ด่านเหล่านี้ล้วนเป็นขั้นตอนอันชอบธรรมของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น
คงไม่ลืมกันง่ายๆว่า รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่หัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้เสนอตั้ง ไม่มีประชาชนธรรมดาๆได้รับรู้มาก่อนเลยว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านมาจากไหนอย่างไร นอกจากชื่อเสียงทางสังคมของแต่ละคนที่รู้กันมาก่อน
แต่นั่นล่ะครับคือความเป็นจริงของระบอบประชาธิปไตย
เพราะประชาธิปไตยไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เอาคนมารวมๆกันแล้วก็ทูลเกล้าฯขึ้นไป เพื่อหวังพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงโปรดเกล้าฯเป็นคณะรัฐมนตรี แต่จะต้องนำชื่อแต่ละชื่อที่ได้รับการเสนอมาผ่านกระบวนการคัดกรองต่างๆตั้งแต่ในพรรคการเมืองนั้นๆไปจนถึงกระบวนการทางสังคม เช่น การวิจารณ์ผ่านสื่อสารมวลชนของคนกลุ่มอื่นๆในสังคม ฯลฯ
เรียกว่าต้องผ่านด่านต่างๆมากมาย
ด่านเหล่านี้ล้วนเป็นขั้นตอนอันชอบธรรมของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น
คงไม่ลืมกันง่ายๆว่า รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่หัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้เสนอตั้ง ไม่มีประชาชนธรรมดาๆได้รับรู้มาก่อนเลยว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านมาจากไหนอย่างไร นอกจากชื่อเสียงทางสังคมของแต่ละคนที่รู้กันมาก่อน
ประชาชนถูกกีดกันให้อยู่นอกกระบวนการอย่างสมบูรณ์แบบ ตามลักษณะหลักของระบอบเผด็จการ ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงของเผด็จการ คือการสร้างระบบชนชั้นนำขึ้นมาในสังคม จะเรียกว่าประชาชนชั้นหลักและประชาชนชั้นรองก็น่าจะไม่ผิด ประชาชนชั้นหลักหรือชนชั้นนำนั่นเองที่ตัดสินอนาคตทุกอย่างของบ้านเมืองแทนประชาชนที่เหลือทั้งประเทศ ทำลายประชาธิปไตยแล้วเขาก็ต้องพรากอย่างอื่นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการเมือง สิทธิที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ทั้งของประชาชนและสื่อมวลชน รวมไปถึงสิทธิที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ และคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี เมื่อประชาธิปไตยกลับคืนมา การมีส่วนร่วมของประชาชนก็ต้องย้อนกลับมาด้วย สังเกตได้จากการที่ชื่อแต่ละชื่อถูกนำมาฉายไฟส่องดูอย่างละเอียด ตั้งแต่คนชื่อสมัคร สุนทรเวช ลงมาเลยทีเดียว นักสู้เพื่อประชาธิปไตยจะยินดีปรีดาต่อขั้นตอนเหล่านี้ อันเป็นการคืนสิทธิอันชอบธรรมให้กับคนธรรมดาๆที่เป็นเจ้าของประเทศนี้ร่วมกัน ส่วนคนที่รับเชื้อเผด็จการมามากพอ ก็จะนั่งบ่นว่าหรือแช่งชักหักกระดูกไปตามระเบียบ คนเหล่านี้ทนไม่ได้อยู่แล้วที่คนธรรมดาๆจะมีสิทธิเสมอตนในการชี้นำทิศทางของประเทศนี้ อะไรที่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยก็จะเห็นเป็นส่วนเกิน ขวางหูขวางตาไปหมด
บางทีเราหลงคิดไปว่า ประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบ มีการเลือกตั้งแล้วก็มีสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นก็มีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศไปจนหมดวาระหรือสิ้นสุดไปตามวิถีทางอื่นๆของระบอบประชาธิปไตย แต่ลืมคิดไปว่า “วัฒนธรรมประชาธิปไตย” คือสิ่งที่สำคัญสูงสุด วัฒนธรรมคือธรรมะที่คนหมู่มากเชื่อว่ายึดถือแล้วจะเจริญก้าวหน้า ประชาธิปไตยจะลงรากลึกขนาดเป็นวัฒนธรรมได้ ก็ต้องรอเวลาให้สังคมเชื่อโดยสนิทใจว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริงๆ ไม่ใช่ใหญ่ชนิดเบ่งกันไปเบ่งกันมา แล้วก็ลงเอยด้วยการเปิดโอกาสให้ “มือที่สาม” ซึ่งบางครั้งก็มองเห็นและบางครั้งก็มองไม่เห็น เดินเข้ามาแล้วฉกฉวยอำนาจนั้นไปใช้แทน เพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก แถมยังรื้อถอนทำลายประชาธิปไตยจนราบไปกับดิน เมืองไทยของเรานี้ ปลูกฝังสั่งสอนกันมานานเหลือเกินว่า เราแต่ละคนไม่มีสติปัญญาความสามารถใดๆที่จะช่วยเหลือตัวเองหรอก เราจะต้องยอมรับระบบอุปถัมภ์ที่ต้องขอความช่วยเหลือจากใครสักคนหนึ่ง เพื่อที่วันหนึ่งเขาก็จะขอร้องให้เราทำอะไรสำหรับเขาบ้าง เหมือนป้ายที่ระบาดไปทั่วเมือง ที่เขียนในตอนหนึ่งว่า “พวกเจ้าจงอย่าทรยศต่อแผ่นดิน...” ที่ลงชื่อว่า “ชาวสียามา” นั่นล่ะครับ นวพล กระทิงแดง ฯลฯ เหล่านี้อาจจะไม่ใช่ของเก่าทีเดียวนัก ความอดทนในขั้นตอนจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ จะเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อว่าจะได้ผลในการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เพราะเป็นความอดทนต่อพี่น้องร่วมชาติ ที่เรานับถือว่าเกิดมาเท่าเทียมกัน ความคิดอย่างนี้มีค่าเหลือหลาย.
คอลัมน์ เลือกคบไม่เลือกข้าง
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้