WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 18, 2009

ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ รบ.สอบตกสร้างสมานฉันท์

ที่มา ข่าวสด

สัมภาษณ์พิเศษ




หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับโปรดเกล้าฯ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อ 17 ธ.ค.2551 และฟอร์มคณะรัฐมนตรี และเริ่มต้นทำงานเมื่อ 21 ธ.ค.2551

ภาพ ครม.ที่ออกมาถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการมากมาย

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยระบุว่า ครม.อภิสิทธิ์ทำให้เห็นว่าระบบการจัดสรรตำแหน่งยังเหมือนเดิม เกิดข้อกังขาในเรื่องจริยธรรมคุณธรรมที่พรรคประชาธิปัตย์เคยอ้าง เมื่อเข้าสู่อำนาจกลับติดกับดักเดิม ทั้งการทะเลาะเบาะแว้งแย่งตำแหน่ง ส.ส.อกหักผิดหวัง เกิดแรงกระเพื่อม มีคลื่นใต้น้ำ

สิ่งที่ประชาธิปัตย์เคยวิจารณ์รัฐบาลก่อนหน้านี้ ยิ่งพูดยิ่งเข้าตัว เพราะมีนอมินีในรัฐบาล แม้ตัวเองไม่เป็น แต่ก็เป็นมือใหม่ นายกฯ แม้เคยเป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ แต่ผ่านมาแล้ว 8 ปี

ครม.โดยรวมดูแล้วไม่ค่อยสง่างาม โฉมหน้าไม่น่าประทับใจ ตำแหน่งใน ครม.กระจัดกระจาย แม้นายกฯ คุมทีมเศรษฐกิจเองแต่หลายกระทรวงอยู่ในมือพรรคร่วม

อย่างไรก็ตามหลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ใกล้บริหารบ้านเมืองครบ 1 ปี สำนักข่าวเอเอฟพีนำเสนอบทวิเคราะห์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่า ระยะเวลา 1 ปีที่ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ยังไม่ประสบความสำเร็จทั้งในประเทศและบนเวทีระดับภูมิภาค

รวมทั้งยังล้มเหลวในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยที่เกิดการแบ่งแยกอย่างลึกซึ้งรุนแรงในขณะนี้

เอเอฟพีอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายฐิตินันท์ ว่า ประเทศไทยแตกแยกมากขึ้นอีก มีการแบ่งขั้วกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในคำปราศรัยหลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าจะเป็นนายกฯ ของทุกคน แต่ที่จริงแล้วเขาไม่ได้เข้าถึงกลุ่มที่อยู่อีกขั้วหนึ่ง

นับตั้งแต่นายอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งมักจะประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เมื่อต้องเผชิญกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ขณะที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลืองไม่เคยมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ

จากบทวิเคราะห์ดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ออกมาตอบโต้ว่า เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการคนหนึ่งที่วิจารณ์ในลักษณะนี้มาตลอด รัฐบาลอยากให้วิเคราะห์ให้ชัดว่าสิ่งที่รัฐบาลทำในช่วงที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการเคารพสิทธิของทุกฝ่าย การบังคับใช้กฎหมาย และการสมานฉันท์ในกระบวนการของรัฐสภานั้นได้ดำเนินการจริงๆ

แต่ความสมานฉันท์เกิดขึ้นจากฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงต้องดูว่าทำอย่างไรจะให้ฝ่ายอื่นเข้ามาร่วม ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้พอใจที่สภาพความขัดแย้งยังคงอยู่ แต่การแก้ปัญหานั้นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

นายอภิสิทธิ์ยังระบุถึงการใช้พ.ร.บความมั่นคงว่า การจะใช้หรือไม่ใช้ไม่ได้อยู่ที่สีเสื้อ แต่อยู่ที่การประกาศวัตถุประสงค์ในการชุมนุม รัฐบาลไม่ได้ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.เพราะไม่มีข่าวบอกว่าจะมีปัญหา

นี่เป็นบทพิสูจน์แล้วว่ารัฐบาลไม่ได้เลือกปฏิบัติ

และในโอกาสที่รัฐบาลจะแถลงผลงาน 1 ปี ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยบุคคลในรัฐบาลต่างออกมาพูดแสดงความมั่นใจในการบริหารงานของตัวเองอย่างมาก

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ออกมาวิจารณ์ผลงานรัฐบาลอีกครั้งว่า

เราต้องดูตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำหน้าที่ว่าได้ประกาศจุดยืนและจุดประสงค์ นโยบายอะไรไปบ้าง อีกทั้งต้องดูบริบทการเมืองในขณะนั้น

ตอนที่รัฐบาลเข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศได้ประกาศหน้าที่หลักไว้ 2 ข้อ คือ 1.ต้องสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ 2.ต้องปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ในส่วนของนโยบายที่รัฐบาลประกาศว่าจะสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองในประเทศนั้น ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลไม่ได้ล้มเหลวในการทำหน้าที่ในส่วนนี้ แต่รัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ

เราต้องมองย้อนกลับไปว่าขณะนี้ประเทศของเรามีความสมานฉันท์ปรองดองมากขึ้นหรือไม่ คำตอบที่ได้ก็จะพบว่าประเทศเรายังมีความแตกแยกอยู่เหมือนเดิมและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย

แต่ถ้านายกฯ สามารถทำในส่วนนี้ได้ทุกคนก็จะยกนิ้วให้ แต่หากเราลองมองย้อนกลับไปก็จะพบอีกว่าเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เพราะเมื่อดูจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศหลายครั้ง อาทิ ปรากฏการณ์ก่อจลาจลของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีกลุ่มคนไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาล

ปรากฏการณ์ที่มีประชาชนมาประท้วงรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่นายกฯ เดินทางลงพื้นที่ในภาคอีสานไม่ง่ายนัก

จากสิ่งที่เกิดขึ้นถ้ารัฐบาลยังบอกว่าประเทศมีความสมานฉันท์ก็จะเป็นการหลอกตัวเองและไม่ยอมรับความจริง

ความแตกแยกในสังคมไทยตอนนี้กำลังเริ่มกระจายตัวและมีความรู้สึกเป็นวงกว้าง ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากบ้านเมืองมีสองมาตรฐานและไม่มีความเป็นธรรม

อาทิ เรื่องการดำเนินคดีกับกลุ่มคนเสื้อแดงในคดีต่างๆ มีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว แต่คดีความของกลุ่มเสื้อเหลืองกลับไม่มีความคืบหน้า

เรื่องพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถูกยุบพรรคไปถึง 2 ครั้ง แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกร้องเรียนเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เรื่องกับเงียบหายไป

อีกทั้งเรื่องเหตุใดจึงมีการตั้งรัฐบาลกันในกรมทหาร และเหตุใดรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้จึงไม่สามารถสั่งการทหารได้ แต่พอมาถึงรัฐบาลชุดนี้สามารถสั่งการอะไรให้ทหารทำได้หมด

ส่วนสาเหตุที่นายกฯ และรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานในรอบ 1 ปี

เพราะเขาปฏิเสธแนวนโยบายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่เคยทำไว้ ซึ่งนโยบายบางอย่างถือเป็นส่วนดี แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธไม่ยอมดำเนินการต่อทั้งหมด ทำให้มีปัญหาตามมาเพราะยังมีคนที่ชอบนโยบายเหล่านี้อยู่

การที่รัฐบาลยังปฏิเสธส่วนดีบางอย่างของนโยบายในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ อาจส่งผลทำให้สังคมหาจุดสงบและเดินหน้าต่อไปไม่ได้

ส่วนนโยบายที่รัฐบาลต้องการปฏิรูปการเมืองนั้น

หากย้อนกลับไปดูคำพูดของนายกฯ ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะต้องมีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งต่อมาก็ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาวินิจฉัย ก่อนจะมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น และนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่

แต่ต่อมาพรรคเพื่อไทยได้ถอนตัวออกไปและไม่ยอมร่วมด้วย ซึ่งหากเรามองย้อนไปดูอีกครั้งก็จะพบมูลเหตุที่พรรคเพื่อไทยต้องถอนตัวเพราะมีสาเหตุมาจากนายกฯ และพรรคประชาธิปัตย์ตุกติก บอกว่าจะไม่มีการเลือกตั้งใหม่และจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น

ประกอบกับรัฐบาลยังถูกกลุ่มพันธมิตรฯ กดดันด้วยการห้ามมาแตะต้องรัฐธรรมนูญปี 2550 อีก

การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้หากนายกฯ ต้องการล้างไพ่และให้ประชาชนออกเสียงใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมก็สามารถทำได้ถ้านายกฯ และรัฐบาลมีความจริงใจ แต่เขากลับมีเทคนิคและชั้นเชิงเพื่อหวังดึงเกมให้สามารถอยู่ในอำนาจต่อไปได้

อย่างไรก็ตามภาระในการแสดงถึงความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่ฉันทามติ อันดับแรกต้องมาจากกลุ่มบุคคลที่อยู่ในอำนาจ

แต่ตอนนี้เราก็ต้องตำหนิทั้ง 2 ฝ่าย

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลที่พยายามตุกติกหรือฝ่ายค้านที่พยายามตีรวน