WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 18, 2009

รายงาน: สัมมนาสาธารณะ จินตนาการปฏิรูปสื่อในทศวรรษหน้า

ที่มา ประชาไท

เวทีสัมมนาสาธารณะ “จินตนาการปฏิรูปสื่อในทศวรรษหน้า 2010 – 2020” นักวิชาการด้านสื่อระบุคนไทยยังขาดความเท่าเทียมในการบริโภคสื่อ ชี้จินตนาการถึงอิสรภาพในโลกไซเบอร์ทำให้ประชาธิปไตยหายไปด้านพลเมืองเน็ต เสนอรัฐต้องผลักดันอินเตอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาประเทศ

เมื่อวันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ตและมูลนิธิหนังไทย จัดงานสัมมนาสาธารณะนำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “จินตนาการปฏิรูปสื่อในทศวรรษหน้า 2010 – 2020” ที่โรงแรมบางกอกชฎา ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึงเวลา 17.00 น.เริ่มต้นเปิดงานด้วยการกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “จากนวัตกรรมแท่นพิมพ์ถึงปฏิวัติดิจิตอล: อิสรภาพการสื่อสารอยู่ในมือใคร” โดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการ คปส. หลังจากนั้นมีการนำเสนอผลการศึกษา 4 เรื่องในสื่อ 4 ประเภท ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อภาพยนตร์, สื่อวิทยุโทรทัศน์, และสื่ออินเตอร์เน็ต
ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียมในการบริโภคสื่อของคนไทย
รศ.ดร.อุบลรัตน์กล่าวว่า การมองสิทธิในการสื่อสารควรพยายามมองในเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานก่อน แต่จุดนี้สังคมไทยยังมองน้อยมากและจะมองจำกัดอย่างยิ่ง คือมองเฉพาะความเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้บริโภคสื่อเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นสิทธิในการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะครอบคลุมถึงสิทธิการเป็นพลเมือง การเป็นคนในกลุ่มใหม่ๆที่เพิ่งจะก่อตัวขึ้นมา เช่น อาเซียน ด้วย
รศ.ดร.อุบลรัตน์กล่าวต่อว่า จากที่ผ่านมาสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อของชนชั้นกลาง เพราะเน้นที่การอ่านเท่านั้น ซึ่งผู้บริโภคสื่อประเภทนี้ต้องอ่านออกเขียนได้ แต่สำหรับคนไทยแล้วแม้สถิติจะระบุว่า 98% สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ แต่ยืนยันว่ายังมีคนอ่านไม่ออกเขียนไมได้รวมถึงพวกเราด้วย เพราะหลายคนมองว่าการฟังข่าวนั้นสะดวกกว่าและไม่จำแป็นต้องเสียเงินซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย เจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้คือทุนก้าวหน้า (ในอดีตเชื่อเช่นนั้น) ที่ต่อสู้เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อชนชั้นที่เสียผลประโยชน์ในสังคม เพื่อต่อกรกับผู้มีอำนาจ และนั่นเป็นจารีตหนึ่งที่สังคมจะเรียกร้อง ว่าจารีตนี้ควรดำรงอยู่ต่อไปแต่มันกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
สำหรับสื่อภาพยนตร์ วิทยุ และโทรทัศน์นั้น เป็นสื่อที่ชนชั้นล่างบริโภคมากที่สุด แต่ชนชั้นกลางกลับเมินมาตลอด แต่ปัจจุบันชนชั้นกลางเริ่มให้ความสนใจต่อสื่อประเภทนี้แล้ว เนื่องจากมีรายการจากต่างประเทศที่ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาให้บริการมากขึ้น ซึ่งสื่อภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์นั้น ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องอ่านออกเขียนได้ นั่นหมายถึงการเข้าถึงที่สะดวกสบายและง่ายกว่า หากมองให้ดีแล้วจะเห็นว่าภาพยนตร์เป็นทุนขนาดเล็ก ซึ่งสามารถวัดได้จากรายได้ของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง หากมีรายได้ถึงร้อยล้านผู้ผลิตก็จะเกิดความภาคภูมิใจ ในขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับต้นทุนในการสร้าง หากใช้ทุนถึงร้อยล้านก็แสดงว่าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ในความเป็นจริงนั้นในระบบทุนภาพยนตร์ทั้งระบบอาจจะมีงบประมาณไม่ถึงหมื่นล้านก็ได้และเป็นทุนที่มีขนาดเล็กลงมาก หากเทียบกับทุนในสื่อสิ่งพิมพ์หรือโทรทัศน์ ซึ่งโทรทัศน์นั่นอาจจะมีทุนทั้งระบบหลายหมื่นล้าน ดังนั้นความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองในสังคมก็ขึ้นอยู่กับขนาดทุนเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ในเชิงสิทธิเสรีภาพทางสังคมนั้น จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์จะยอมรับข้อจำกัดทางเสรีภาพและจะเซ็นเซอร์ตัวเองเมื่อถูกเสนอ หากเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์แล้วการเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่ในระดับที่สูงกว่า เนื่องจากเป้าหมายในการนำเสนอแตกต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ก็เป็นสื่อที่อยู่ในการดูแลและควบคุมโดยรัฐและเป็นทุนที่ล้าหลัง และก็ยอมข้อจำกัดทางสิทธิเสรีภาพโดยตนเองและโดยรัฐ
อินเตอร์เน็ตที่เป็นสื่อใหม่ ที่มีผู้บริโภครายใหญ่คือชนชั้นกลางหรือคนที่มีการศึกษาดี และต้องใช้ทักษะทั้งการฟัง การดู การอ่าน การเขียน ในการบริโภคและอินเตอร์เน็ตกลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่คนเข้ามาแย่งชิงเพื่อครอบครอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีกฏเกณฑ์หรือโครงสร้างที่เบ็ดเสร็จ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสังคมไทยและสังคมโลกนั้นพื้นที่ตรงนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จและเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันต่อไป
สำหรับโทรคมนาคมแม้จะเป็นเพียงระบบพื้นฐานแบบสายส่งของสื่อประเภทต่างๆก็ตาม แต่ในอนาคตจะกลายเป็นตัวที่ควบรวมและควบคุมสื่อแบบอื่นๆทั้งหมด เพื่อให้ตนเองมีเนื่อหามากขึ้นและไม่ได้เป็นแค่ท่อส่งน้ำ ท่อส่งไฟและท่อส่งภาพหรือเสียง ผู้ที่ควบคุมสื่อประเภทนี้ในขณะนี้คือกลุ่มทุนใหม่ เช่น ทรู ซีพี หรือชินคอร์ปอเรชั่น นอกจากจะเป็นทุนใหม่แล้วยังมีสถานะเป็นทุนภูมิภาคหรือทุนโลกอีกด้วย
จากการแสวงหาความจริง สู่ สินค้าส่งออก สู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์
ในขณะเดียวกันก็มีการแย่งชิงเพื่อครอบครองสื่อต่างๆ จากหลายแหล่งทุน ไม่ว่าจะเป็นทุนรัฐ ทุนเอกชน หรือแม้แต่ทุนบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ แต่ตรงนี้มันซ่อนอยู่ เนื่องจากความตึงเครียดในการแข่งขันและการแบ่งปันผลประโยชน์ไม่ลงตัว ทำโครงสร้างนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่เหมือนกัน
รศ.ดร.ได้กล่าวต่อว่า ในอนาคต ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศในรูปแบบใหม่จะกลายเป็นสินค้ามากขึ้น และจะเกิดสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เข้มขันขึ้นสามเรื่อง ซึ่งประเด็นแรก เนื่องจากสื่อกลายเป็นอุตสาหกรรม จึงทำให้ข่าวต่างๆมีมาตรฐานที่ชัดเจนและมีคุณสมบัติหลักคือข่าวก็ให้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ภาพยนตร์ก็ให้ความบันเทิง อยากรู้อะไรมากกว่านั้นคนต้องประกอบขึ้นมาเอง โดยการประกอบความหมายหรือตีความหาความจริงเอาเอง ขณะนี้สื่อจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ทั้งระบบหรือกลายเป็นอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่ง หากเกิดการปฏิรูปสื่อขึ้นจริงฝ่ายการตลาดอาจจะมีอำนาจมากกว่าฝ่ายผลิตและมีอำนาจสูงขึ้นเรื่อย ซึ่งต้องตอบโจทย์ของสินค้าที่มีมาตรฐานมากขึ้น หรือโจทย์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มในสังคม และบุคลากรในองค์กรสื่อต้องเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยการเข้าถึงความจริงน้อยลงแต่สามารถทำตัวให้เป็นมาตรฐานเพื่อเข้ากับสูตรมากขึ้น แต่เนื้อหาและสาระกลับลดลง แม้กระทั่งภาพยนตร์อาจต้องลดระยะเวลาของเนื้อหาลงมาเพื่อแทรกโฆษณาเข้าไปมากขึ้นและสามารถเพิ่มรอบได้มากขึ้น
ประเด็นที่สองเทคโนโลยีที่มีอยู่นั้นเริ่มล้าสมัย เนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆเริ่มจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้น เช่น การถ่ายทำ การพิมพ์แยกสี ก็เริ่มใช้เครื่องมือที่เป็นดิจิทัลเกือบหมดแล้ว ดังนั้นจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นแบบดิจิทัลทั้งระบบ แม้แต่ในมหาวิยาลัยก็จำเป็นต้องเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นระบบดิจิทัลเนื่องจากการผลิตบุคลากรจำเป็นต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งสำคัญก็คือทุน ซึ่งแหล่งทุนอาจจะเป็นทุนใหม่ ทุนเก่า หรือตลาดของผู้บริโภคจะสามารถสนับสนุนให้เกิดทุนได้หรือไม่
ประเด็นที่สามเมื่อกลายเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตสินค้ามาตรฐานได้แล้ว การส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเพื่อนบ้านในอาเซียน หรือประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ต้องเกิดขึ้นและต่อไปก็ต้องส่งไปไกลกว่านั้นอีก และนี่คือเป้าหมาย ความหวังและจินตนาการ 2020 ของคนจำนวนมากที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐไทยก็พูดถึงเรื่องนี้แต่การสนับสนุนจากรัฐนั้นก็เป็นเรื่องแฟนตาซีอยู่เช่นกัน
ประเด็นสุดท้ายในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะมีการรวมศูนย์อำนาจของการเป็นเจ้าของและควบคุมเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐกับกลุ่มผู้ผลิตจะร่วมมือกันและจะร่วมกันควบคุมอำนาจใหม่ เพราะทุนจะเข้าไปเป็นผู้ควบคุมอำนาจรัฐและทุนต้องการอำนาจเพื่อจัดการวางและระเบียบต่างๆ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสื่อและรัฐในประเทศไทยเท่านั้น แต่สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจในระบบเสรีนิยมใหม่นั้น จะเห็นว่ารัฐทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือแม้แต่เอเชียจะเข้าไปอุดหนุนเมื่อเกิดการล่มสลายของทุนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นตัวขี้ว่าเสรีนิยมที่รัฐควรจะเปิดอิสระให้ทุนได้ดำเนินการเองนั้นหมดไปแล้ว แต่กลายเป็นการร่วมมือของสองฝ่ายเพื่อผลักดันทุนให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่น จากนั้นนักวิชาชีพจะประสบปัญหาการถูกควบคุมที่สูงขึ้นแต่จะแนบเนียนกว่าผ่านมา เพื่อสินค้าจะได้มีมาตรฐานมากขึ้น
เมื่อทุนนิยมโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้น คนก็อยู่กับจิตนาการมากขึ้น
สาเหตุที่ความร่วมมือระหว่างรัฐกับอุตสาหกรรมสื่อมีความสำคัญมาก เพราะทั้งหมดนี้คือเส้นเลือดของระบบทุนโลกาภิวัฒน์ หรือเศรษฐกิจการเมืองในระบบทุนนิยมในตอนปลาย นั่นคือสื่อสารมวลชน การเปลี่ยนตัวเองเป็นแบบดิจิทัลของอุตสากรรมจำเป็นต้องพึ่งความร่วมมือนี้เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเข้ามาควบคุมมันคือทุนขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันทุนนิยมก็หวังว่าอุตสาหกรรมนี้จะเข้ามาต่อลมหายใจให้แก่ระบบ อาจจะเป็นลมหายใจสุดท้ายหรืออาจจะเติบโตมากขึ้น
รศ.ดร.กล่าวว่า ในขณะเดียวกันก็มีข้อขัดแย้งในระบบใหม่ ซึ่งตอนนี้คนกำลังก้าวอยู่ระหว่างสังคมสมัยใหม่และสังคมหลังสมัยใหม่ ซึ่งสิบปีก่อนหน้านี้ การพูดถึงสังคมหลังสมัยไหม่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากนัก เนื่องจากโลก cyber space ยังเข้ามาน้อยมาก แต่สำหรับตอนนี้คนไทยเริ่มจะจินตนาการได้แล้วว่าสังคมหลังสมัยใหม่จะเป็นอย่างไร เพราะว่าโลกสัญลักษณ์ และความเป็น cyber space เริ่มเข้ามามากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นโลกเสมือนจริงที่กลายเป็นความจริง นั่นคือการเกิดขึ้นของสองโลกซึ่งจะเกิดการเสียสมดุลขึ้นหากคนไม่สามารถแยกระหว่างสองโลกนี้ออกจากกันได้
นอกจากนั้น การเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่จะส่งผลให้สิทธิเสรีภาพเกิดการกระจายตัว ซึ่งการสื่อสารในระบบนี้จะเกิดขึ้นในทุกๆ ที่และทุกๆ เวลา ซึ่งจะมีมุมๆหนึ่งบนโลกที่มีคนตื่นอยู่ตลอดเวลาและคนจะสามารถกำหนดหรือจัดการเวลาในโลกเสมือนจริงได้เอง เช่น การดูหนังในอินเตอร์เน็ต สามารถกำหนดเวลาของหนังให้เร็วหรือช้าได้ตามความต้องการของตนเอง แต่ในโลกจริงเวลาก็ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติเหมือนที่เคยเป็นมา นอกจากนั้นก็จะมีอิสรเสรีที่เสมือนจริง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ออกมายืนอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง อาจรับไม่ได้ และเลือกที่จะเพลิดเพลินอยู่ในโลกเสมือนจริงเท่านั้น เพื่อเป็นการปลอบใจตนเองที่อย่างน้อยก็ยังมีอิสรภาพเล็กๆของตนเอง ซึ่งจะมีแค่นั้น แต่จะไปต่อได้แค่ไหนก็เป็นเรื่องที่ต้องรอต่อไป
จินตนาการถึงอิสรภาพในโลกไซเบอร์ทำให้ประชาธิปไตยหายไป
รศ.ดร.อุบลรัตน์กล่าวต่อว่า มีการวิเคราะห์เรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมสื่อในอนาคตไว้สามประเด็น จากการมองโลกของคนสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่มองโลกในแง่ร้าย กลุ่มที่มองโลกแบบกลางๆ ตามความเป็นจริง และกลุ่มที่มองโลกในแง่ดี สำหรับกลุ่มที่มองโลกในแง่ร้าย คือ กลุ่มนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว เช่น มาร์ค เชฟนี่ และ เจฟ เชตเตอร์ สำหรับมาร์ค เชฟนี่นั้นมองว่า การปฏิรูปสื่อแล้วก็เปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย และสำหรับมาร์ค เชฟเตอร์นั้นมองว่า สื่อใหม่จะต้องเปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยมากขึ้น
อุตสาหกรรมสื่อจะเข้าไปอยู่ในตลาดทุนมากขึ้น จะกลายเป็นหัวใจที่ทำให้ทุนดำรงอยู่ต่อไป และสามารถทำให้ทุนเปิดตลาดได้กว้างขึ้น จากที่เคยเป็นแค่ทุนชาติ ก็จะกลายเป็นทุนภูมิภาค และกลายเป็นทุนโลกาภิวัฒน์ นอกจากนั้นระบบธุรกิจต่างๆที่อยู่ในสื่อเหล่านี้จะเป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้ข้อมูลข่าวสาร วัฒนธรรมกลายเป็นการซื้อขายเชิงพาณิชย์ คุณค่าทางจิตใจและการดำรงชีวิตจะลดลงและกลายเป็นเรื่องรองในที่สุด
ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรที่ดีอย่างทุนกับรัฐที่อยุ่ในกลุ่มทุนนิยมใหม่จะสร้างเครื่องมือที่อยู่ในระบบนี้ เพื่อควบคุมสารสนเทศและความคิดของคนในสังคมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้โฆษณาชวนเชื่อกลับเข้ามาอยู่ในกระแสสังคมอีกครั้ง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะกลายเป็นผู้บริโภคในระบบบริโภคนิยมที่สูงขึ้นไปอีก และผู้บริโภคไม่สามารถเข้าไปต่อสู้ในระบบการผลิตได้อีกแล้ว ที่ทำได้ดีที่สุดก็คือการต่อสู้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ในโลกอิสระที่สร้างขึ้นในโลกเสมือนจริง สำหรับประชาธิปไตยจะล่มสลายหายไป เนื่องจากทุกคนคิดว่าตนเองมีเสรีภาพในโลกเชิงสัญลักษณ์แล้ว ดังนั้นในโลกจริง คนจน ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ ก็จะถูกมองข้ามและนิ่งเฉย
สำหรับการมองโลกในแง่กลางๆตามความเป็นจริง เช่น เนคเทค ผู้เสนอแผนงานแบะทำวิจัยเรื่อง E-commerce E-society และ E-education เมื่อสิบปีที่แล้ว มองว่า นวัตกรรมใหม่ควรจะถูกนำมาใช้ และจะเกิดโอกาสใหม่ๆขึ้นกับการศึกษา การทำงาน หรือแม้แต่เศรษฐกิจ แต่ต้องพัฒนาการรับรู้ การใช้รหัส และสัญลักษณ์ต่างในโลกเสมือนจริงให้มากขึ้น เพื่อที่ให้คนรุ่นใหม่ที่จะอยู่ในโลกเสมือนจริง สามารถอยู่ในระบบนี้ได้อย่างมีความสุขและรู้เท่าทัน แต่ช่องว่างต่างๆจะตามมามากมายและจำเป็นต้องแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้ เพราะมันคือโลกแห่งความเป็นจริงที่ถูกโลกเสมือนจริงสร้างภาพหลอกและทำให้เกิดการสับสนระหว่างสองโลกขึ้น
สำหรับกลุ่มสุดท้ายที่มองโลกในแง่ดี มองว่าภายในของโครงสร้างใหม่ที่มีการครอบงำและมีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จสูง จะทำให้เกิดกลุ่มเล็กๆที่มีอิสรภาพมากขึ้น จะเกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในกลุ่มเหล่านี้ จะเกิดการแสวงหาความจริงกันเอง และจะเกิดการสร้างรหัสใหม่ๆในกลุ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เหล่านี้คือช่องทางที่จะหลบหนีอำนาจการควบคุมของทุนและรัฐได้ และจะนำไปสู่การผลิตเครื่องมือสื่อสารเพื่อใช้เองแต่อยู่นอกอุตสาหกรรมและสูตรสำเร็จต่างๆ สภาพเช่นนี้ทำให้เห็นว่าโลกหลังสมัยจะปรากฎ ซึ่งการเล่าเรื่องที่เป็นความจริงเพียงสิ่งเดียวจะเลือนหายไปเช่นกัน การสื่อสารจะไม่ใช่แบบบนลงล่างและสารสนเทศจะกระจายไปหลายทิศทาง การโฆษณาชวนเชื่อและการบังคับให้มองโลกในแบบเดียวกันไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกต่อไป
รศ.ดร.อุบลรัตน์เสนอว่า อย่างไรก็ดีควรมองเรื่องสิทธิในการสื่อสาร ความเท่าเทียม ความทั่วถึง และการเข้าถึง สำหรับรัฐไทยเองจะมองว่าการควบคุมคือกฎหมาย แต่หากจะปฏิรูปส่วนนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของทั้งรัฐและผู้บริโภคเอง ซึ่งการควบคุมนั้นไม่ใช่อำนาจการควบคุมของรัฐหรือทุนแต่อำนาจทางสังคมเกิดขึ้นได้จากคนทุกกลุ่ม ได้แก่กลุ่มทางสังคม กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มวิชาชีพ ในขณะนี้แต่ละกลุ่มยังไม่เข้มแข็งพอแต่จำเป็นต้องขึ้นมาต่อรองกับอำนาจที่ยิ่งใหญ่ และทุนก็จำเป็นต้องปรับตัวใหม่เพื่อการเข้ามามีส่วนร่วมหรือกลายเป็นทุนก้าวหน้าใหม่เช่นกัน
การนำเสนอข่าวที่เจาะลึกจะช่วยพยุงสื่อสิ่งพิมพ์ให้หายใจต่อได้
จากนั้น คุณนิดา หมอยาดี ผู้ช่วยวิจัยและผู้แทนอาจารย์พรรษาศิริ กุหลาบ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนองานศึกษาเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เรื่อง “อนาคต วารสารศาสตร์ และ หนังสือพิมพ์ในทศวรรษหน้า” โดยใช้วิธีวิจัยเอกสารลำดำเนินการสนทนากลุ่ม 2 ครั้งโดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักวิชาชีพด้านสื่อสิ่งพิมพ์เชิงวารสารศาสตร์และนักรณรงค์ทางสังคมรวม 12 ท่าน รวมทั้สัมภาษณ์นักวิชาชีพ นักวิชาการและนักรณรงค์จำนวน 12 ท่าน
สำหรับงานศึกษาชิ้นนี้มี 2 คำถามที่ผู้วิจัยใช้สำหรับสอบถามผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้แก่ คำถามที่ 1.ถามว่าบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์เชิงวารสารศาสตร์ในสังคมไทยในทศวรรษหน้าจะเป็นอย่างไร และคำถามที่ 2.ถามว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีผลต่อองค์กรและนักวิชาชีพสื่อสิ่งพิมพ์เชิงวารสารอย่างไร
จากผลการวิจัยผู้วิจัยพบว่า นักวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า สื่อสิ่งพิมพ์เชิงวารสารศาสตร์จะยังคงดำรงอยุ่ในสังคมไทยในสิบปีข้างหน้า เนื่องจากผู้อ่านจำนวนหนึ่งยังนิยมเสพข่าวสารจากนังสือพิมพ์ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังไม่กระจายไปยังภาคส่วนต่างๆอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์จะมีเล่นจำนวนจำกัดและส่วนใหญ่เป็นองค์กรสื่อขนาดใหญ่ ทุกองค์กรจะมีช่องทางการนำเสนออื่นเพื่อสนับสนุนการคงอยู่ของสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น เว็บไซต์ sms เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นต้น ส่วนองค์กรสื่อขนาดกลางและเล็กที่อาจจะต้องปิดตัวลง คือองค์กรที่ไม่สามารถหารูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ต้องพึ่งพิงรายได้จากโฆษณาหรือรายได้จากผู้อ่านเป็นหลักและไม่มีช่องทางอื่นในการสื่อสาร นอกจากนั้นบทบาทที่จะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์อยู่ได้ถึงทศวรรษหน้านั้นการนำเสนอข้อมูลที่วิเคราะห์ เจาะลึก ซึ่งจะเป็นการรักษาความน่าเชื่อถือของสถาบันสื่อและสร้างความแตกต่างจากช่องทางการสื่อสารอื่นที่จะเกิดขึ้นจำนวนมาก
ในอนาคตสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องเผชิญหน้ากับนโยบายในการกำกับดูแลและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อ แม้ปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกกำกับดูแลด้วยกลไกของรัฐน้อยกว่าสื่อประเภทอื่น แต่ในอนาคตหากสื่อสิ่งพิมพ์เข้าไปอยู่ในโลก cyber ก็ต้องพบกับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างแน่นอน
นอกจากนั้นนักวิชาชีพสื่อสิ่งพิมพ์ยังเชื่อว่ามั่นว่า ความน่าเชื่อถือของสถาบันสื่อที่สั่งสมมานานจะยังคงสถานะการเป็นผู้คัดสรรข่าวสารและผู้กำหนดวาระของสังคมอยู่ แม้สถานะดังกล่าวจะมีแนวโน้มว่าจะถูกลดทอนอำนาจลงเรื่อยๆในอนาคตก็ตาม
หลังจากนั้นเป็นการวิจารณ์ผลการศึกษาโดย ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต กล่าวว่า ในงานศึกษาชิ้นนี้ควรจะมีจินตนาการต่อไปถึงทศวรรษหน้าอีกเล็กน้อย ควรมีแผนภูมิประกอบในข้อมูลบางส่วน ซึ่งจากแผนภูมิที่มีอยู่นั้นยังไม่ชัดเจนและการบัญญัติคำที่ใช้ในแผนภูมิค่อนข้างขาดมูล นอกจากนั้นคือการอภิปรายผล ซึ่งในรายงานการอภิปรายนั้นผู้วิจัยยังคงวนกลับไปที่ตัวข้อมูลอยู่ ซึ่งการอภิปรายตรงนี้ควรจะจับประเด็นมาอภิปรายได้เลยโดยที่ไม่ต้องไปวนส่วนของข้อมูล
ภาพยนตร์ไทยจะเป็นเชิงอนุรักษ์นิยมมากขึ้น
ต่อมาเป็นการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ โดยสัณห์ชัย โชติรสเศรณี มูลนิธิหนังไทย มีผู้ช่วยทำวิจัยคือ นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต เรื่อง “ภาพยนตร์ในทศวรรษหน้า”ซึ่งมีรูปแบบการวิจัยโดย การเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการภาพยนตร์ไทยจำนวน 18 ท่านมาร่วมสนทนา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม จากการวิจัยผู้วิจัยมีคำถามกว้างๆเพื่อให้เกิดการถกเถียงกันในกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย ดังนี้ “ความคิดเห็นในภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน”, “เนื้อหา ประเภท และรูปแบบของภาพยนตร์จะเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร”, “ความท้าทายของสื่อภาพยนตร์ในกระแสการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ภาพยนตร์จะต้องประบเปลี่ยนตัวเองไปอย่างไร”, “ในอนาคตการรับชมภาพยนตร์จะปรับเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร”, “ความคิดที่มีต่อระบบเรตติ้งในปัจจุบัน” และ “ระบบเรตติ้งในอุดมคติ เป็นอย่างไร และจะพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร”
ซึ่งผู้วิจัยพบว่าแนวโน้มของสื่อภาพยนตร์ที่จะเกิดในอนาคตคือธุรกิจภาพยนตร์จะผูกขาดมากขึ้น พระราชบัญญัติภาพยนตร์จะจำกัดเนื้อหาของภาพยนตร์มากขึ้น ส่งผลให้เนื้อหาของภาพยนตร์จะมีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ต่างประเทศก็มีอิทธิพลต่อเนื้อหาของภาพยนตร์ไทยมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วในอนาคตภาพยนตร์จะมีการฉายในหลายๆสื่อพร้อมกัน
วิจารณ์ผลการศึกษาโดย ผศ.ดร.กฤษณา เกิดดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่าการศึกษาเรื่องภาพยนตร์ไทยนั้นมีอยู่น้อยมากในเชิงปริมาณ สำหรับงานศึกษาชิ้นนี้ผู้วิจัยไม่แยกหัวเรื่องใหญ่ๆที่ดูเหมือนจะเป้นอีกประเด็นหนึ่งออกจากกัน นอกจากนั้นแล้วสำหรับผู้ที่เข้ากลุ่มศึกษานั้น ดูจากรายชื่อแล้วล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีภูมิหลังค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้นในแนวการคิดย่อมไม่แตกต่างกันนัก และจากข้อความที่บอกว่า “อนาคตเนื้อเรื่องของหนังไทยจะสั้นลง เพราะคนดูสมาธิสั้น” งานวิจัยตรงจุดนี้ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องขาดข้อมูลเปรียบเทียบ ซึ่งควรจะมีข้อมูลเชิงปริมาณมาเปรียบเทียบ เช่น เนื่อหาภาพยนตร์ยาวขนาดนี้ มีรายได้จากการเข้าชมเท่านี้ เป็นต้น
การผูกขาดสื่อวิทยุโทรทัศน์ไม่สามารถทำได้แล้ว
หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับสื่อวิทยุโทรทัศน์ เรื่อง “สื่อวิทยุโทรทัศน์ในทศวรรษหน้า” วิจัยโดยสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ คปส. สำหรับงานศึกษาครั้งนี้เน้นการสำรวจงานศึกษาที่เกี่ยวข้องและการระดมความคิดเห็นจากผู้เชียวชาญระดับสูงในด้านนโยบายสื่อกระจายเสียงด้านวิทยุโทรทัศน์รวมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประมาณ 18 ท่าน นอกจากนั้นยังใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การวิเคราะห์เชิงบรรยายบนหลักการเรื่อง SWOT และการมองฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงวรรณกรรมปริทัศน์ด้วย
สำหรับงานศึกษาชิ้นนี้ใช้คำถามเชิงวิจัย ได้แก่ 1.สภาพการณ์ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบันเชื่อมโยงไปสู่ความน่าจะเป็นใน ค.ศ.2020, ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างมีมุมมองอย่างไรต่อสถานการณ์ของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในปัจจุบัน, และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆมีข้อเสนออย่างไรต่อพัฒนาการของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในอนาคต
จากการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยพบว่า ทิศทางสื่อกระจายเสียงในสังคมไทยมีการพัฒนาไปตามระบบทางการเมืองเศรษฐกิจแนวเสรีนิยมเช่นเดียวกับปรากฎการณ์สากล แต่ปัจจัยความเปลั้ยนแปลงทางการเมืองตัวแปรสำคัญที่เป็นเงื่อนไขให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว บวกหรือลบ ก้าวหน้าหรือถอยหลัง สำเร็จหรือล้มเหลว คลี่คลายหรือสะสมความโกลาหลนั้น แม้ว่าอำนาจรัฐยังคงมีบทบาทหรืออำนาจอยู่มาก แต่ในขระเดียวกันกลุ่มอำนาจต่างๆก้แตกกระจายออกไปมาเช่นกัน มีความเป็นประชาธิปไตยที่คานอำนาจกันอยู่สูง ดังนั้นการควบรวมอำนาจโดยกลุ่มใดอย่างเบ็ดเสร็จจึงเป็นไปได้ยาก ลักษณะการควบรวมสื่อในทางการเมืองก็เช่นกัน ท้ายที่สุดพลวัตรการเติบโตของพลเมืองและการเมืองไทย รวมทั้งการตื่นตัวในสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมาพร้อมกับการเปิดเสรีด้านสื่อ ส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เป็นได้ยากที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะผูกขาดอำนาจชี้นำในสังคมไทย
รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิจารณ์ว่า จุดแข็งของงานศึกษาชิ้นนี้คือการเมือง แต่ยังคงมีอีกด้านหนึ่งคือ commercial สำหรับแง่ของการลงทุนแน่นอนว่าผู้ลงทุนต้องอยู่ให้ได้ ซึ่งในความเป็นทุนนั้นมันไม่ต้องการการกำกับ แต่ต้องการความปลอดภัยสำหรับตนเอง ณ ปัจจุบันนี้เครื่องมือในการสื่อสาร เครื่องมือในการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์นั้นถูกลงมาก ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่การทำรายการวิทยุเป็นเรื่องที่ยากมาก คนที่สามารถทำได้ต้องเป็นชนชั้นสูงหรือหน่วยราชการใหญ่ๆเท่านั้น ตรงนี้ทำให้ภาคประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคสื่อวิทยุและโทรทัศน์มากขึ้นด้วย
รัฐต้องผลักดันอินเตอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาประเทศ
สำหรับผลการศึกษาเรื่องสุดท้าย นำเสนอโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ซึ่งมีผู้ร่วมวิจัยอีก 2 ท่านคือ กานต์ ยืนยงและพิสิต ศรีประสาททอง ซึ่งทั้งสามคนอยุ่ในเครือข่ายพลเมืองเน็ต และ Siam Intelligent Unit เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสื่ออินเตอร์เน็ต เรื่อง “อนาคตของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย” ซึ่งศึกษาโดยการสร้างฉากปริทัศน์ของอนาคตออกเป็น 10 ประเด็นใหญ่ครอบคลุมหัวข้อในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ชีวิตส่วนตัว โดยการสอบถามความคิดเห็นในแบบสอบถามออนไลน์และการเสวนากลุ่ม และมีคำถามเชิงวิจัยดังนี้ อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยมีลักษณะอย่างไรใน ค.ศ.2020 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆมีมุมมองอย่างไรต่อสถานการณ์ของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน, และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆมีข้อเสนออย่างไรต่อพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตในอนาคต
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า ใน ค.ศ.2020 อินเตอร์เน็ตในฐานะเครือข่ายโทรคมนาคมจะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ และจะถูกขยายออกไปสู่อุปกรณ์ชนิดพกพาอย่างอื่นมากขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับความสนใจมากขึ้นและกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนั้นอินเตอร์จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตและสังคมแบบเดิมๆ เพราะอินเตอร์เน็ตจะช่วยสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ในส่วนบทบาทของภาครัฐจะมีผลต่อพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตในทศวรรษหน้าเป็นอย่างมาก นโยบายที่แตกต่างไปจากนานาชาติจะไม่ได้รับการยอมรับ และภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาอินเตอร์ให้เท่าทันนานาชาติ เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
หลังจากนั้นมีการวิจารณ์ผลการศึกษาโดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เป็นงานศึกษาที่น่าสนใจเนื่องจากมีการเอาความเห็นของผู้เชียวชาญและผู้ใช้บริการมารวบรวมกันไว้ แต่ในส่วนของคำถามยังคงมีปัญหาอยุ่มาก เช่น คำถามที่เอามาจาก Pew ที่เป็นคำถามที่ใช้ในอเมริกา ซึ่งในเรื่องของเทคโนโลยีอาจจะมีความเหมือนกัน แต่แน่นอนว่าเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาของประชาชนย่อมแตกต่างกันแน่นอน ดังนั้นการใช้คำถามเดียวกันแต่มีการดัดแปลงเล็กน้อยกับคนสองกลุ่มที่มีชุดความคิดที่อยู่เบื้องหลังต่างกันนั้น คำตอบที่ได้ย่อมไม่เหมือนกันแน่นอน ทำให้ไม่ชัดเจนว่าผู้ทำวิจัยมีแนวคิดยังไงในการถามในงานศึกษาชิ้นนี้ แม้แต่พื้นฐานที่แตกต่างกันระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกานั้นย่อมมีผลต่อการทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์อนาคตสื่ออินเตอร์เน็ตในประเทศไทยใน 10 ปีข้างหน้าแน่นอน นอกจากนั้นคำถามไม่ชัดเจนทำให้การตีความคำตอบเป็นไปได้ยากและคนตอบนั้นไม่สามรถระบุได้ว่าเป็นตัวแทนคนไทยเท่าไร เนื่องจากผู้ตอบเลือกที่จะตอบ ไม่ใช่ผู้วิจัยเลือกผู้ตอบ นอกจากนั้นงานศึกษาชิ้นนี้ยังรวบรวมได้เฉพาะส่วนที่เป็นความคิดเห็น ซึ่งแทบจะปราศจากข้อเท็จจริง
นำเสนอภาพรวมจินตนาการสื่อในทศวรรษหน้าโดยกานต์ ยืนยง เครือข่ายพลเมืองเน็ต และ Siam Intelligent Unit กานต์กล่าวว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีบทบาททางสังคมอยู่ การนำเสนอของสื่อสิ่งพิมพฺควรเน้นที่การวิเคราะห์เชิงลึก เข้าถึงข่าวสาร ส่งข่าวสารให้ถูกที่ถูกเวลา นอกจากนั้นควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สำหรับสื่อภาพยนตร์นั้น โครงสร้างอุตสาหกรรมจะมีการผูกขาดมากขึ้น จะมีปัญหาในด้านการเข้าถึงแหล่งทุน จะมีผลกระทบในด้านเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันต้นทุนในการผลิตจะต่ำลง สุดท้ายรัฐจะควบคุมเนื้อหาให้อยู่ในกรอบของวัฒนธรรมมากขึ้น ทางด้านวิทยุและโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่ออำนาจหลักและเป็นสื่ออภิสิทธิ์ ในด้านของสื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ตนั้นรัฐยังคงเป็นผู้ผลักดันหลักแต่อาจจะไม่ใช่ทุนหลัก แต่รัฐจะเข้ามาควบคุมดูแลแต่ในขณะเดียวกันสื่อด้านนี้ก็ต้องเดินตามกระแสโลก นอกจากนั้นอุปกรณ์พกพาจะเป็นช่องทางในการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น