WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 13, 2009

โค่นต้นหรือริดกิ่ง

ที่มา มติชน

คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย ภาคภูมิ ป้องภัย



ใกล้เทศกาลปีใหม่ แทนที่ผมจะคิดถึงงานรื่นเริงบันเทิงใจ กลับกลายเป็นรู้สึกว่าต้องเตรียมตัวรับมือเทศกาลปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเดือนมกราคม 2553

มันกลายเป็นเทศกาลประจำปีในหมู่นักการเมือง แต่สำหรับผมแล้ว ปีนี้ออกจะแตกต่างกับปีก่อนๆ ที่ผ่านมา

เหตุเพราะไม่เพียง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แกนนำคนสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ฟันธงไว้ว่าปีหน้าคงมีการเลือกตั้ง และจะได้รู้กันว่าใครชอบธรรมที่จะขึ้นครองอำนาจ และบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาได้หรือไม่

เหตุเพราะพรรคเพื่อไทยเร่งตระเตรียมการเลือกผู้นำฝ่ายค้าน และหาบุคคลที่เหมาะสมจะเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แนบญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158

ถึงขนาดขบคิดหาช่องส่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมที่ใดที่หนึ่ง ถึงกลางเดือนมกราคม 2553 จะได้คู่ชิงนายกฯที่สมน้ำสมเนื้อ

นั่นหมายถึงพรรคเพื่อไทยเร่งเปิดเกมใหญ่ช่วงชิงอำนาจตามกติกา คู่ขนานไปกับกลุ่มเสื้อแดงซึ่งจะเปิดเกมใหญ่บนท้องถนน

อย่างไรก็ดี การยื่นอภิปรายเฉพาะนายกฯคนเดียวมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ ถ้ามั่นใจในหมัดเด็ดน็อคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ ก็มีโอกาสเปลี่ยนขั้วอำนาจได้ภายในพริบตา

ประการต่อมา ฝ่ายค้านสามารถไล่ลูกระนาดเล่นงานกระทบชิ่งรัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ ได้ทุกคน ทุกประเด็น คล้ายการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งคณะ

แต่มีข้อเสียคือ จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลผนึกกำลังกันโหวตไว้วางใจให้นายอภิสิทธิ์ เพราะไม่มีใครต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ในกรณีที่พรรคเพื่อไทยไม่มีคู่ท้าชิงที่เหมาะสม ไม่มีหมัดเด็ดน็อคนายอภิสิทธิ์ ก็ต้องเปลี่ยนแนวทางไปยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 159 แล้วหวังให้เนื้อหาโดนใจ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล จนส่งผลให้คะแนนโหวตรัฐมนตรีบางคนแปรปรวน

เข้าทำนองโค่นต้นไม่ได้ก็ลิดรอนกิ่งก้าน ทอนกำลัง

นี่คือสูตรสำเร็จที่ฝ่ายค้านหลายยุคยึดตามกันมา ยุคนี้ก็เช่นกัน นายวุฒิพงษ์ ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย เปิดเกมก่อนฝ่ายรัฐบาลว่า พรรคน่าจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลมากกว่ายื่นอภิปรายนายกฯ โดยมีรัฐมนตรีเข้าข่ายถูกอภิปราย อาทิ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ, นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข, นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ฯลฯ

"นายกฯ อาจตัดสินใจปรับ ครม.เพื่อหนีการซักฟอก ถ้ารัฐมนตรีเหล่านั้นไม่อยู่ ก็ต้องด่านายกฯ แทนในฐานะเป็นคนแต่งตั้งรัฐมนตรี" นายวิทยากล่าวดักคอ

พ้นปีใหม่ปุ๊บ เราจะได้เห็นเกมช่วงชิงจังหวะ ชิงเหลี่ยมกันระหว่างนายกฯกับกุนซือ และ พ.ต.ท.ทักษิณกับแกนนำพรรคเพื่อไทยที่ชัดเจนขึ้น

ถ้าหลังปีใหม่ปั๊บ นายอภิสิทธิ์รีบปรับ ครม.เอานายกอร์ปศักดิ์ นายวิทยาออกจากตำแหน่งทันทีเพื่อหนีการซักฟอก แสดงว่า ประเมินแล้วฝ่ายค้านมีข้อมูลเด็ดปีกทั้งสองจากแผลฉกรรจ์ "ชุมชนพอเพียง" และ "จัดซื้อครุภัณฑ์ไทยเข้มแข็ง"

แต่ถ้ามั่นใจว่าข้อมูลของฝ่ายค้านไม่สามารถคว่ำรัฐมนตรีทั้งสองได้ นายกฯก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับ ครม. เพราะมันจะกระเพื่อมไปทั้งรัฐบาล

ถึงฝ่ายค้านจะชิงยื่นญัตติก่อนแต่เนิ่นๆ เพื่อล็อคเป้า ฟากรัฐบาลก็ไม่ได้เสียเหลี่ยมอะไร เอาไว้ค่อยปรับ ครม.ใกล้วันอภิปรายก็ได้ เนื่องจากมาตรา 159 ฝ่ายค้านจะอภิปรายรัฐมนตรีที่ลาออกไปก่อนวันอภิปรายได้เฉพาะคนที่ทิ้งเก้าอี้หนึ่งไปเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่น แต่ไม่มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลุดไปเป็น ส.ส.ธรรมดาๆ

หากรัฐมนตรีเป้าหมายโดนปรับออกหมด ฝ่ายค้านก็ต้องกลับไปยื่นซักฟอกนายกฯคนเดียว

วันนี้ เริ่มแจกไพ่แล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าใครจะเล่นหน้าไหน ทิ้งไพ่อย่างไร