WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 14, 2009

ผ่าปมนักการเมือง"รวยผิดปกติ"

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




วันที่ 11 ธ.ค. ที่อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "ร่ำรวยผิดปกติของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ" มีเนื้อหาน่าสนใจ ดังนี้

กมลชัย รัตนสกาววงศ์

อาจารย์พิเศษด้านกฎหมายมหาชน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความหมายของการร่ำรวยผิดปกติ ในตัวบทกฎหมาย หมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง ระดับ 10 ระดับอธิบดี ปลัดกระทรวงขึ้นไป หรือตามรูปแบบราชการปัจจุบันจะใช้คำว่านักบริหารระดับสูง

ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ภายใน 30 วันเมื่อได้รับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่งและภายใน 30 วัน หลัง 1 ปีที่รับตำแหน่ง

การเป็นนักการเมืองที่เข้าบริหารราชการแผ่นดินก็เหมือนตำแหน่งอธิบดี ปลัดกระทรวง

การยึดอายัดทรัพย์เดิมหากเป็นเจ้าหน้าที่ต้องมีความผิดอาญาก่อน หรือหากเป็นพ่อค้ายาเสพติด ศาลยกฟ้องต้องคืนทรัพย์ จากนั้นมีการต่อยอดกฎหมายว่าแม้หลุดคดีอาญาต้องพิสูจน์ที่มาทรัพย์สินก่อน จึงเกิดแนวคิดร่ำรวยผิดปกติ

นักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐจะอยู่ภายใต้กฎหมายป.ป.ช. ส่วนประชาชนอยู่ภายใต้กฎหมายฟอกเงิน ปปง. ที่มี 8 มูลฐาน ล่าสุดเพิ่มมูลฐานจากกฎหมายเลือกตั้ง เงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐระดับ 10 ขึ้นไป นักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติ อยู่ในขอบข่ายรัฐธรรมนูญ ุาป.ป.ช.สอบมีมูลจะส่งวุฒิสภา แล้วถอดถอนออกจากตำแหน่งทันที เพิกถอนสิทธิ 5 ปี

กฎหมายป.ป.ช. มาตรา 4 นิยามความร่ำรวยผิดปกติ คือ การมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่

เมื่อหักลบบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง โดยทรัพย์ที่ได้มานับแต่เข้าปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองหรือรับราชการหากได้มาไม่สมควรต้องมีการพิสูจน์

ขณะที่มาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าสิทธิบุคคลในทรัพย์สินต้องได้รับการคุ้มครอง ทรัพย์ที่ได้มาหากพิสูจน์ว่าได้มาปกติจะได้รับการคุ้มครอง

นักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้ชื่อว่าร่ำรวยผิดปกติ ต้องดูนิยามตามกฎหมายป.ป.ช. ผลที่ตามมา คือ การถอดถอน แต่ไม่มีโทษทางอาญา ส่วนทางแพ่ง ทรัพย์ที่งอกมาพิสูจน์ไม่ได้ ต้องตกเป็นของแผ่นดิน กฎหมายมหาชนจะเพิกถอนสิทธิ 5 ปี

ส่วนมาตรา 75 กฎหมายป.ป.ช. บัญญัติว่าการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องดูว่าเข้ากฎหมายป.ป.ช.หรือไม่ การจะกล่าวหาต้องทำขณะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะดำรงตำแหน่งหรือพ้นแล้วไม่เกิน 2 ปี

โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐมนตรีหากถูกปรับครม. ย้ายกระทรวงก็ยังถือว่าอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่อง แต่หากปรับออกจากครม. แล้วได้กลับมาครม.เดิมอีกกฎหมายไม่ได้กำหนด

แต่หากพ้นจากตำแหน่ง 2 ปีแล้วดำเนินการไม่ได้ ไม่ว่าจะร่ำรวยผิดปกติหรือกลับมาเป็นอีกในครม.ก็ดำเนินการไม่ได้

ส่วนการยึดทรัพย์ถ้าพ้น 2 ปีแล้วก็ยึดไม่ได้ หากอยู่บนพื้นฐานร่ำรวยผิดปกติก็ต้องพิสูจน์ว่ามาระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือเป็นของเก่าที่มีอยู่แล้ว

ส่วนความผิดในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเท็จ โทษเท่ากับการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน



คณิน บุญสุวรรณ

อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540

แนวคิดการตรวจสอบนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่ำรวยผิดปกติ เริ่มต้นจากการบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 40 เพื่อหวังปฏิรูปการเมืองอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การปฏิรูปกระบวนการเข้าสู่อำนาจ ใช้อำนาจ และตรวจสอบการใช้อำนาจ

ปรัชญาการตรวจสอบการใช้อำนาจ ไม่ใช่เฉพาะตรวจสอบนักการเมืองที่ถูกตราว่าเป็นนักเลือกตั้ง เข้ามาเป็นส.ส. รัฐมนตรี นายกฯ เหมือนเป็นผู้ร้ายในวงการเมือง นักการเมืองไม่ได้มีเฉพาะผู้ที่สมัครลงเลือกตั้ง

ถ้าดูพัฒนาการการเมืองใน 77 ปี คนที่เข้ามามีอำนาจโดยไม่ผ่านการกระบวนการเลือกตั้ง หลังการรัฐประหารคนที่เข้าสู่อำนาจจะเป็นผู้ร่วมก่อรัฐประหาร จากนั้นจะแต่งตั้งคนเข้าสู่ฝ่ายนิติบัญญัติแทนส.ส. แต่งตั้งนายกฯ รัฐมนตรี

และคนที่จะเข้ามาเป็นองค์กรตรวจสอบอื่น เช่น กกต. ป.ป.ช. ล้วนแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ฉะนั้นต้องแยกแยะว่านักการเมืองกลายเป็นแพะไปหรือไม่เพราะถูกโยงว่าเป็นนักเลือกตั้ง ซื้อเสียง

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากไม่เคยถือว่าผู้พิพากษา ข้าราชการประจำระดับสูง ผบ.เหล่าทัพ ผบ.ตร. เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ ยึดถือแต่นักการเมืองเท่านั้น

แต่รัฐธรรมนูญ 40 ให้ผู้ใช้อำนาจรัฐหมายถึงทุกคนที่มีตำแหน่งบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ตั้งแต่ประธานศาลฎีกาถึงผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องถูกตรวจสอบว่าร่ำรวยผิดปกติหรือไม่

ช่วง 8-9 ปีที่ใช้รัฐธรรมนูญ 40 แต่ค่านิยมยังไม่หมด ยังเชื่อว่าผู้ถูกตรวจสอบต้องเป็นนักการเมือง ทำให้คนที่อยู่ในองค์กรตรวจสอบไม่เคยถูกตรวจสอบ ทั้งที่ต้องยอมรับการตรวจสอบอำนาจ มิฉะนั้นจะเกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขต เกิดผลเสียกับประเทศ ประชาชนและประชาธิปไตย

เมื่อกฎหมายกำหนดว่าผู้ดำรงตำแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทั้งก่อนและรับตำแหน่ง เป็นกระบวนการตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติโดยป.ป.ช. ที่ยังมีข้อบกพร่องบ้างเพราะเป็นเรื่องใหม่ของไทย หากแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ก็น่าจะพัฒนาไปได้

บางมาตราขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ อีกทั้งกระบวนการการเมืองส่งผลกระทบในการตรวจสอบอำนาจรัฐ มีการรัฐประหารก็ล้มล้างกฎหมายแม่ไปชูกฎหมายลูก แทนที่จะเป็นเครื่องมือให้ประชาชนกลับปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นเครื่องมือของคณะรัฐประหาร

สังคมไทยไม่สามารถแยกแยะการต่อสู้ทางการเมืองว่าไม่ใช่สงครามได้ หากเป็นสงครามผู้ชนะจะได้หมด ไม่ควรนำมาใช้ในระบบการเมือง อย่างน้อยผู้แพ้ควรมีที่ยืนทางสังคมบ้าง ได้เป็นที่พึ่งของผู้มีเสียงข้างน้อย

หลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ผู้ยึดอำนาจสารภาพเองว่าถูกหลอกให้ทำปฏิวัติ ซึ่งน่ากลัวว่าเบื้องหลังจะขนาดไหน มีเป้าหมายอย่างไร รู้หรือไม่ว่าการตรวจสอบอำนาจรัฐมีความหมาย ที่มาอย่างไร และอย่างไรจะเรียกว่าการทุจริตฉ้อฉล ร่ำรวยผิดปกติ

หลังการรัฐประหารมีการกำหนดระบบตรวจสอบ ทั้งนำกฎหมายป.ป.ช.มาเป็นหลัก มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคปค. ออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาบังคับใช้เวลาสั้นๆ เพียง 11 วันทำออกมา มีการวางพิมพ์เขียวไว้แล้ว

การตรวจสอบลามไปหมด ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบทุจริตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยตั้งผู้มีส่วนได้เสียเป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตคอร์รัปชั่น

กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของไทยผิดพลาด วิธีรอดทางเดียวของไทยที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คือการเอาประชาธิปไตยกลับคืนให้ประชาชน

ด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่



พงศ์เทพ เทพกาญจนา

การแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณา เพราะทรัพย์สินที่มีนั้นของบางอย่างราคาขึ้นลงเร็วมาก เช่น ทองคำ ที่ดิน หุ้น

นักการเมือง ข้าราชการจำนวนมากชอบสะสมทองคำ ที่ถูกกล่าวหาพบว่ามีเยอะ หากมีทองคำแล้วทรัพย์สินเพิ่มมากก็ต้องบอกว่าไม่ผิดปกติ หรือที่ดินราคาเพิ่ม 4-5 เท่า ก็ไม่ผิดปกติ

หากพบว่าส่วนที่เพิ่มผิดปกติจึงจะตกเป็นของแผ่นดิน หรือทรัพย์สินเพิ่ม หากดูไม่ออกว่าได้มาอย่างไร อธิบายไม่ได้ก็จะถูกยึด แต่จะยึดส่วนที่มีมาก่อนไม่ได้ จะยึดตามอำเภอใจแบบอันธพาลไม่ได้ต้องดูตามกฎหมาย