WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 16, 2009

ปรีดี-ประเวศ กับทัศนะต่อประเทศเพื่อนบ้านต่างกัน

ที่มา Thai E-News



ความคิดของรัฐบุรุษอาวุโส คือ ปรีดี พนมยงค์ แตกต่างจากประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปรีดี เสนอถึงภราดรภาพ คือพี่น้องอยู่ร่วมกัน และพี่น้องช่วยเหลือกัน ส่วนประเวศ วะสี เสนอเป็นเรื่องผู้ใหญ่กับเด็ก ซึ่งแน่นอนว่า มันมาจากที่มาของสังคมความแตกต่างจากยุคสมัยของทั้งสองคน รวมถึงกรณีศิวรักษ์ ว่าจัดฉากเหมือนภาพยนตร์


โดย อรรคพล สาตุ้ม
15 ธันวาคม 2552

ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึง กรณีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า ประเทศไทยใหญ่ มีประชากรมากกว่า กองทัพก็มีศักยภาพสูงกว่า รวมทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจก็มากกว่ากัมพูชา ซึ่งไทยเป็นเสมือนผู้ใหญ่ ส่วนกัมพูชาก็เป็นเด็ก ดังนั้น เราต้องทำตัวเป็นผู้ใหญ่ที่ดี อย่าไปท้าตี เพราะเด็กมีกำลังน้อยกว่า จะถูกมองว่าไปรังแกเด็ก แต่ต้องระวังอย่าไปหลงกลเด็ก เพราะบางครั้งเด็กก็หลอกผู้ใหญ่ได้ และอาจทำให้ผู้ใหญ่เพลี้ยงพล้ำได้เหมือนกัน แต่ก็อยากให้เชื่อมั่นว่าความชอบธรรมจะอยู่ในสายตาของคนทั้งโลก ซึ่งพวกเขารู้ดีว่าใครมีความชอบธรรมมากกว่ากัน ดังนั้น ไทยต้องมองกัมพูชาด้วยความเมตาและอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูล(1)

แนวคิดเรื่อง “ภราดรภาพ” หรือการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง เป็นอีกประเด็นที่ปรีดี พนมยงค์ ย้ำเสมอ ไม่ว่าในขณะที่เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในขณะที่ทำงานทางการเมือง รวมทั้งในนวนิยายและภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก(2) ดังนั้น แนวคิดเรื่องภราดรภาพของปรีดี จากภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก ที่รบกับพม่า จึงเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงภราดรภาพ สันติภาพ ก่อนเกิดรัฐชาติไทยเป็นอาณาเขตที่แน่นอน(3) ไม่ใช่อาการคลั่งชาตินั่นเอง

ความคิดของรัฐบุรุษอาวุโส คือ ปรีดี พนมยงค์ แตกต่างจากประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปรีดี เสนอถึงภราดรภาพ คือพี่น้องอยู่ร่วมกัน และพี่น้องช่วยเหลือกัน ส่วนประเวศ วะสี เสนอเป็นเรื่องผู้ใหญ่กับเด็ก ซึ่งแน่นอนว่า มันมาจากที่มาของสังคมความแตกต่างจากยุคสมัยของทั้งสองคน

เพราะว่า กระบวนทัศน์สันติวิธีของปรีดี พนมยงค์ จากกรณีศึกษาเรื่องพระเจ้าช้างเผือก (4)โดยหนังสือดังกล่าว อ้างถึงศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เล่าว่า ในขณะที่ท่านเรียนกฏหมายอยู่กับอาจารย์ปรีดีนั้น สิ่งที่อาจารย์ย้ำอยู่เสมอ คือ เรื่องของภราดรภาพ หรือการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง(5)

จากข้อมูลในอดีตถึงภาพของปัจจุบัน ในสถานการณ์ดังกล่าว ความน่าสนใจเรื่องภราดรภาพ คือฉันพี่น้อง แตกต่างจากเรื่อง ผู้ใหญ่-เ็ด็ก เปรียบเทียบข้อคิดเรื่องภราดรภาพของปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส กับประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ซึ่งเคยเขียนหนังสือเรื่องวิถีสังคมไท ชุดที่๑ "ภูมิปัญญา กระบวนทัศน์ใหม่ และจินตนาการใหม่"โดยประเวศ วะสี ฯลฯ

ทั้งนี้ วิถีสังคมไท คือ สรรนิพนธ์ทางวิชาการเนื่องในวาระหนึ่งศตวรรษ ปรีดี พนมยงค์ เพราะฉะนั้น ประเวศ ก็เขียนหนังสือเกี่ยวข้องปรีดี และทั้งสองคน คือ ปรีดี และประเวศ ก็อยู่ภายใต้กระแสชาตินิยม และคลั่งชาติ โดยกรณีปรีดี สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์ของการเรียกร้องดินแดนคืนของยุคปรีดี(รัฐบุรุษอาวุโส) เรียนจบกฎหมายเป็นผู้ร่วมเปลี่ยนแปลงประเทศ และปรีดี เคยดำรงตำแหน่งรมต.การต่างประเทศ-รมต.การคลังฯลฯ ทั้งนี้ ปรีดีกับประเวศ ก็คือ ประสบการณ์ทำงานในหน้าที่การงาน และตำแหน่งการทำงานแห่งที่ต่างกัน

จนกระทั่งต่อมาปี 2552 ยุคสมัยสืบเนื่องมาจากดินแดนของปราสาทเขาพระวิหาร และมันก็เป็นยุคสมัยของกระแสคลั่งชาตินิยมจากกลุ่มพันธมิตรฯ-พรรคการเมืองใหม่(ไม่มีกลุ่มพันธมิตรฯ โดยสมัยปรีดี ที่มีผู้นำเป็นทหาร) ในปัจจุบัน เราก็เห็นว่ากรณีประเวศ เรียนจบด้านการแพทย์ และทำงานด้านช่วยเหลือสังคม แนววัฒนธรรมชุมชน ต่อมาประเวศเป็นราษฎรอาวุโส ในยุครัฐบาลเสนอนโยบายไทยเข้มแข็งเชื่อมโยงมาถึงบริบทหาทางออก ในตำแหน่งแห่งที่ของความเป็นราษฎรอาวุโส ต่างกับรัฐบุรุษอาวุโส ตรงที่นำเสนอความเป็นผู้ใหญ่(อาวุโส) กว่าเด็ก และนั่นก็คือ ไทย(ผู้ใหญ่) อาวุโสกว่ากัมพูชา (เด็ก) นั้นเอง

มันสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของภูมิปัญญาของคำศัพท์จากประเวศ คือ คำว่า ผู้ใหญ่-เด็ก ที่มีสร้างความหมายเป็นตรงกันข้ามแนวคิดภราดรภาพ คือ การอยู่ร่วมกัน และช่วยเหลือกัน ฉันพี่น้อง

แน่นอน ว่า คำศัพท์ของปรีดี กับประเวศ สองคนย่อมแตกต่างทางทัศนะต่อประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งบทความนี้ ไม่ต้องการวิเคราะห์ ตีความตัวบท และมุ่งโจมตีประเวศ เพียงชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลของคำสะท้อนข้อเท็จจริงในทั้งสองคน ย่อมสามารถแสดงความหมายแตกต่างกันชัดเจนอย่างแท้จริง

ซึ่งเหตุผลดังกล่าว ทำให้เรื่องแนวคิดภราดรภาพ ฉันพี่น้องอยู่ร่วมกัน และช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองต่างๆ โดยภราดรภาพเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดของชุมชนจินตกรรม(6) เกี่ยวข้องชาติไทย เพื่อข้ามพันกับดักของประเด็นกรณีศิวรักษ์ เรื่องว่าจัดฉากเหมือนภาพยนตร์ แต่ว่ารัฐบาลไทยไม่คิดแก้ไขปัญหาประเทศเพื่อนบ้านอย่างจริงจัง แล้วเหมือนกับว่า ใครเป็นเด็กถูกรังแกง่ายคนต่อไป

และถ้าใครจะเป็นเหยื่อคนต่อไปของความสัมพันธ์ประเทศไทยกับกัมพูชา ท่ามกลางความขัดแย้งที่ไม่แก้ไขให้เกิดภราดรภาพระหว่างกัน


เชิงอรรถ
1."หมอประเวศ"เตือน"มาร์ค"ทำตัวเป็นผู้ใหญ่อย่าไปตีเด็กระวังหลงกลเขมรวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 15:42:16 น. มติชนออนไลน์
2.สุรัยยา (เบ็ญโส๊ะ) สุไลมาน.กระบวนทัศน์สันติวิธีของปรีดี พนมยงค์ ? : กรณีศึกษาเรื่องพระเจ้าช้างเผือก : 215
3.อรรคพล สาตุ้ม ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’ สงคราม สันติภาพ ชาตินิยม
4.กระบวนทัศน์สันติวิธีของปรีดี พนมยงค์ ? : กรณีศึกษาเรื่องพระเจ้าช้างเผือก เพิ่งอ้าง และแน่นอนเรายังมีหนังสือ ที่น่าสนใจของปรีดี เช่น วิธีพิจารณาทางรอดของสังคมไทย โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น
5.สุรัยยา (เบ็ญโส๊ะ) สุไลมาน.กระบวนทัศน์สันติวิธีของปรีดี พนมยงค์ ? : กรณีศึกษาเรื่องพระเจ้าช้างเผือก : 216 เพิ่งอ้าง
6.ธงชัย วินิจจะกูล “อ่่าน Imagined Communities ของ Benedict Anderson หรือ IC ของ “ครูเบ็น” วารสาร“อ่าน” ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เมษายน-กันยายน 2552