WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 28, 2008

โฟกัส 'อำนาจ-หน้าที่' 'ประธานสภา' เก้าอี้นี้ 'สำคัญไฉน?'

โหวตแรกหลังเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ก็คือการโหวตเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” และ รองประธาน ซึ่งกับรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์ในไม่กี่วันนี้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช คือประธานสภา และมีรองอีก 2 คนคือ คนที่หนึ่ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และคนที่สอง พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ซึ่งทั้ง 3 ล้วนมีที่มาจากพรรคพลังประชาชน-พรรคแกนนำจัดตั้ง รัฐบาล

ประธานสภาก็เป็นตำแหน่งที่มีการจับตากันมาก...

ประเด็นน่าพิจารณาก็คือ...ตำแหน่งนี้สำคัญไฉน ??

ทั้งนี้ หากจะดูกันตามตัวอักษรตามรัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2550 ในหมวดรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา หรือสภาในส่วนของ ส.ว. ในการประชุมร่วมของ 2 สภานี้เพื่อปฏิบัติงานบริหารราชการแผ่นดิน “ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นประธานรัฐสภาด้วย” ขณะที่ประธานวุฒิสภาจะทำหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา ซึ่งจุดสำคัญคือ “ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่” โดยที่ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับ

ขณะที่เฉพาะกับสถานะในตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งนี้ก็ยังมีหน้าที่ “เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” ด้วย

รศ.ประหยัด หงส์ทองคำ นักวิชาการอาวุโสทางด้านรัฐศาสตร์ ขยายความถึงบทบาทหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาในการประชุมของ 2 สภาด้วย โดยบอกว่า... ผู้ที่จะทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ต้องไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเข้าร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง (ทั้งประธานสภาและรอง)

“สิ่งสำคัญนี้จะเรียกว่าเป็นมารยาททางการเมือง ประเพณีทางการเมือง ก็ว่าได้ ในอดีตก็เคยมีการท้วงติงถึงความไม่เหมาะสมอยู่บ่อย ๆ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเก่าไม่ได้ระบุไว้ แต่สำหรับรัฐธรรมนูญใหม่ได้มีการระบุไว้ชัดว่าต้องลาออกก่อนถึงจะรับตำแหน่งได้” ...รศ.ประหยัดกล่าว

จุดนี้ก็เป็นคำตอบว่าทำไมจึงมีข่าวตั้งแต่ก่อนหน้าการโหวตเลือกประธานสภาและรองว่า นายยงยุทธได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าและกรรมการบริหารของพรรคพลังประชาชน

ส่วนประเด็นที่มีการตั้งขอสังเกตว่าตำแหน่งประธานสภาและรอง “ให้คุณ-ให้โทษอะไรได้หรือไม่ ??” โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เกมการเมืองเข้มข้นลึกซึ้งยิ่ง รศ.ประหยัดบอกว่า... ก็คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะถูกมองแบบนี้

“ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก...เพราะเป็นมาทุกยุคทุกสมัย !!” ดังนั้น คนที่จะทำหน้าที่นี้ได้อย่างไม่มีปัญหาก็จำเป็นต้องยึดมั่น-ตั้งมั่นในความเป็นกลางอย่างถึงที่สุด โดยยึดตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างเรียบร้อย “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...สำหรับการอภิปราย” หากทำให้รู้สึกได้ว่าสมาชิกทุกคนได้รับการจัดสรรเวลาหรือได้รับการวินิจฉัยที่เป็นธรรม ก็จะได้รับคำชมเชย และแก้ภาพลบได้

สำหรับการตรวจสอบการทำหน้าที่ของประธานสภา-ประธานรัฐสภาโดยประชาชน นักวิชาการคนเดิมบอกว่า... หน้าที่หนักคงต้องตกอยู่กับสื่อมวลชน ที่ต้องทำหน้าที่เก็บข้อมูลมาเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ เพราะจะให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทุกครั้งก็คงจะลำบาก แต่ก็ควรจะมีในเรื่องสำคัญ ๆ ที่ประชาชนควรได้รับรู้

“คนที่มานั่งทำหน้าที่นี้ ไม่ง่าย พรรษาการเมืองต้องมาก ข้อกฎหมายต้องแม่น เครดิตสำหรับสังคมต้องพอ โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือในหมู่สมาชิกสภา เพราะถ้าหากคุณสมบัติไม่ได้ ไม่เก่ง ไม่แม่น แล้วเจอ ส.ส. ที่เก่งข้อกฎหมาย แทนที่จะเป็นผลดีก็อาจกลายเป็นผลร้าย” ...รศ.ประหยัดระบุ

ด้าน รศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ก็บอกว่า... บทบาทและหน้าที่ของ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ที่จะเป็นประธานรัฐสภาด้วยนั้น “ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างมากในระบอบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นตำแหน่งประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ”

กับประเด็นที่ว่าตำแหน่งนี้จะมีผลกับพรรคการเมืองบางฝ่ายหรือไม่-อย่างไร ?? รศ.ดร.ไชยวัฒน์ระบุว่า... ก็คงจะห้ามไม่ให้คนคิดได้ยาก เนื่องจาก “ตำแหน่งนี้มีผลสำคัญในการควบคุมการประชุมในสภา” โดยเฉพาะควบคุมการอภิปรายของ ส.ส. ซึ่งหากประธานไม่สามารถควบคุมให้เกิดความเป็นกลางได้ หรือทำให้บางฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม บรรยากาศการประชุม-การอภิปรายโดยรวมก็จะดูไม่ดี

ทั้งนี้ การที่ภาคประชาชนอาจสนใจตรวจสอบหรือติดตามการทำหน้าที่ จุดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความใจกว้างของรัฐบาลเป็นหลัก หากต้องการทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นธรรม-โปร่งใสก็ต้องยอมให้ถ่ายทอดสดการประชุมโดยตลอด เพื่อที่ประชาชนจะได้มีโอกาสติดตามดูการทำหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิด

“ไม่ว่าคนที่นั่งตำแหน่งนี้จะมาจากฝ่ายไหน ส่วนใหญ่ก็จะถูกมองในแง่ลบไว้ระดับหนึ่งก่อนแล้ว เว้นเสียแต่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นธรรม ตาชั่งไม่เอียง หรือสามารถควบคุมสภาให้เกิดความเรียบร้อยได้ ก็อาจจะได้รับคำชื่นชมในภายหลัง” ...รศ.ดร.ไชยวัฒน์ระบุ

เหล่านี้ก็เป็นการโฟกัสจุดหลักของอำนาจ-บทบาท-หน้าที่

โฟกัสตรง ๆ ไปที่ตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”

ตอบโจทย์ว่า “สำคัญไฉน ??” เหตุใดจึงถูกจับตา ??.