WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 27, 2008

มุ้งเล็ก"พปช."รวมพลัง เตือนภัย"รัฐบาล พปช." ท้าทายภาวะผู้นำ"สมัคร"

วิเคราะห์


วันที่ 28 มกราคม 2551 เป็นวันดีเดย์ที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร นัดหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

คาดหมายกันว่านายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย

เหตุที่ต้อง "คาดหมาย" ก็เพราะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดให้การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย

นั่นหมายความว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ควรจะรู้ผลกันในวันที่ลงมติ

ไม่อาจจะใช้มติพรรค ประกาศตัวนายกรัฐมนตรีก่อนวันลงมติ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดโอกาสให้เช่นนั้น

ดังนั้น จึงต้องรอจนถึงวันที่ 28 มกราคม ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรนัดหมาย

และคาดว่า การลงมติเลือกนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีคงจะผ่านฉลุย

ทั้งนี้เพราะก่อนวันนัดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏข่าวการตกลงโควต้าตำแหน่งรัฐมนตรีของรัฐบาลพรรคพลังประชาชนว่า "ลงตัวแล้ว"

ตามข้อมูลคอลัมน์ "เคียงข่าว" หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2551 สรุปการแบ่งโควต้าตำแหน่งรัฐมนตรีของแต่ละพรรค สรุปได้ ดังนี้

รัฐบาลใหม่มี 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน 233 เสียง พรรคชาติไทย 37 เสียง พรรคเพื่อแผ่นดิน 24 เสียง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 เสียง พรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 เสียง พรรคประชาราช 5 เสียง

รัฐบาลใหม่มีรัฐมนตรีได้ 35 คน ไม่นับนายกรัฐมนตรี

ใช้สูตรคำนวณแบ่งสรรโควต้ารัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์ที่นิยมกันโดยทั่วไป คือเอาจำนวนรัฐมนตรี (35 คน) ไปหารจำนวนเสียงของรัฐบาล (315 คน) จะเท่ากับโควต้าการได้เก้าอี้รัฐมนตรี

นั่นคือ เมื่อเอา 35 ไปหาร 315 จะได้จำนวน 9

หมายถึง ตำแหน่งรัฐมนตรี 1 คนต่อจำนวน ส.ส. 9 คน

คอลัมน์ "เคียงข่าว" ยังได้สรุปจำนวนตัวเลขรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคที่มีการตกลงกันแล้ว ดังนี้

พรรคชาติไทย ขอ 5 ที่นั่ง จาก ส.ส. 37 คน หรือ 1 ต่อ 7 คน

พรรคเพื่อแผ่นดิน ขอ 4 ที่นั่ง จาก ส.ส. 24 คน หรือ 1 ต่อ 6 คน

พรรครวมใจไทยฯ ขอ 2 ที่นั่ง จาก ส.ส. 9 คน หรือ 1 ต่อ 4.5 คน

พรรคมัชฌิมาธิปไตย ขอ 2 ที่นั่ง จาก ส.ส. 7 คน หรือ 1 ต่อ 3.5 คน

พรรคประชาราช ขอ 1 ที่นั่ง จาก ส.ส. 5 คน หรือ 1 ต่อ 5 คน

ส่วนพรรคพลังประชาชน ได้ 21 ที่นั่ง จาก ส.ส. 233 คน หรือคิดเป็น 1 ต่อ 11 คน

นี่เท่ากับว่า พรรคพลังประชาชนเสียเปรียบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพราะแทนที่จะได้ ส.ส.มากกว่า 21 ที่นั่ง กลับต้องแบ่งให้กับพรรคการเมืองอื่นไป

เท่ากับว่าตัวแทนของพรรคพลังประชาชนที่ไปเจรจาต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล ยอม "อ่อนข้อ" ให้กับพรรคร่วมรัฐบาล

และการยอมอ่อนข้อนี้เองที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การชุมนุมทางการเมืองตามมา เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานของพรรคพลังประชาชนจำนวน 80 คน นัดชุมนุมรับประทานอาหารกันที่ร้านอาหารบัว โดยมีข่าวว่านายเนวิน ชิดชอบ เป็นเจ้าภาพ

การนัดชุมนุมกันครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับข่าวความไม่พอใจของ ส.ส.ภาคเหนือ และภาคอีสาน ต่อผลการเจรจาตำแหน่งรัฐมนตรี

แม้รูปลักษณ์ภายนอกการร่วมรับประทานอาหารกันอาจจะเป็นเพียงเรื่องปกติธรรมดา

หากแต่ในทางการเมืองแล้ว ถือว่าผู้ที่สามารถรวบรวม ส.ส. มาชุมนุมพร้อมกันได้ถึง 80 คน นับว่าไม่ธรรมดา

นี่ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของการสะสมพลังภายในพรรคที่น่าจับตามองไม่น้อย

นี่ย่อมส่งสัญญาณให้พรรคพลังประชาชนระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นภายใน

และย่อมสะท้อนให้เห็นอีกครั้งว่า พรรคพลังประชาชนมิได้เผชิญหน้ากับการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญหน้ากับการต่อรองภายในพรรคตัวเองด้วย

และผู้ที่ต้องรับบทบาทในการถ่วงดุลอำนาจเพื่อต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล และมุ้งเล็กภายในพรรคพลังประชาชน คงหนีไม่พ้นนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน

อย่างไรก็ตาม ขณะที่เกิดปัญหาที่ต้องตัดสินใจขึ้น แม้ตามฐานะตำแหน่งแล้ว นายสมัครในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ

แต่ทุกครั้งที่มีข่าวคราวเกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรค กระแสข่าวมักจะพาดพิงไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า เมื่อพรรคพลังประชาชนมีปัญหา หรือเมื่อรัฐบาลพรรคพลังประชาชนมีปัญหา ผู้ที่ตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่แท้จริงคือใคร

คือนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เนืองๆ

หากผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาคือนายสมัคร ปัญหาทุกอย่างก็จะได้รับการแก้ไขให้คลี่คลายลง

แต่หากผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกระแสข่าวที่พาดพิงถึง

ปัญหาย่อมเกิดขึ้นแก่ตัวนายสมัครอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง

ก็ในเมื่อนายสมัคร ไม่ใช่ "คำตอบสุดท้าย" ในการแก้ไขปัญหา คู่กรณีที่ก่อปัญหาย่อมต้องพยายามจะมุ่งไปติดต่อผู้แก้ไขปัญหา "ตัวจริง"

เท่ากับว่านายสมัคร ซึ่งมีอำนาจ กลับไม่ใช่ผู้แก้ไขปัญหา "ตัวจริง"

แต่ผู้แก้ไขปัญหาตัวจริง กลับไร้อำนาจ

ลักษณะเช่นนี้ย่อมกระทบต่อภาวะผู้นำของนายสมัคร สุนทรเวช อย่างแน่นอน

แม้วันนี้ นายสมัคร สุนทรเวช จะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน

แม้วันนี้ นายสมัคร สุนทรเวช จะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่หากนายสมัคร ไม่ใช่ "คำตอบสุดท้าย" ในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง

คำกล่าวและคำมั่นสัญญาของนายสมัครจะได้รับความเชื่อมั่นได้อย่างไร

นี่คือสิ่งที่ท้าทายภาวะผู้นำของ "สมัคร สุนทรเวช"