WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 3, 2008

ต้นเหตุ"ความวุ่นวาย"...



สภาพการเมืองที่วุ่นวายจากการวิ่ง "ต่อรอง" ทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาลกันฝุ่นตลบ ของบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ หลังการเลือกตั้งในขณะนี้

หลายคนที่เพิ่งติดตามการเมืองมาไม่กี่ปี อาจจะสงสัยถึงความเคลื่อนไหวนี้ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่มีการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และในช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

ความสงสัยนี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า หรือเป็นเพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความวุ่ยวายนี้

"วรเจตน์ ภาคีรัตน์" รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามนี้ว่า "กรณีที่จะมีรัฐบาลผสมเกิดขึ้น การต่อรองกันในเรื่องตำแหน่งต่างๆ ในรัฐบาลเป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นกับทุกประเทศในโลกนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นปกติ ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ทั้งพรรคพลังประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์

"การต่อรองเช่นนี้ ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มากนัก หากจะเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีส่วนทำให้เกิดหลายพรรคการเมืองขึ้นมา

"นั่นคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอื้อให้โดยการกำหนดให้ ส.ส.ระบบเขตเป็นแบบเขตใหญ่แต่มี ส.ส.ได้หลายคน ทำให้ผู้สมัครจากพรรคขนาดเล็กมีโอกาสเข้ามาในสภาได้ ทำให้พรรคขนาดใหญ่ไม่ได้ ส.ส.ยกทีมในเขตนั้นๆ แต่ระบบสัดส่วนไม่ได้เอื้อให้แก่พรรคการเมืองขนาดเล็ก"

ส่วนความต้องการที่จะได้ ส.ส.จำนวนมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลล้มง่ายๆ เนื่องจากกำหนดในเรื่องจำนวนที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 นั้น อ.วรเจตน์มองว่า "ก็อาจเป็นเพราะต้องการเสถียรภาพ เนื่องจากกลไกตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น ก็อาจจะต้องการรัฐบาลที่มีเสียงที่มีความเป็นปึกแผ่น อาจมีความจำเป็น

"ส่วนหนึ่งมาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่ก็เป็นเหตุผลลำดับสอง เหตุผลลำดับแรกน่าจะมาจากความต้องการได้จำนวน ส.ส.เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดก่อน

"สำหรับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้น หลายประเด็น ในวันข้างหน้าอาจจะต้องมีการตีความ เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี อาจจะต้องมีการตีความว่ารัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ด้วยจะลงมติให้เพื่อนรัฐมนตรีได้หรือไม่

"หลายเรื่องในรัฐธรรมนูญยังจะเป็นประเด็นให้ถกเถียง ทั้งในแง่คุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ"

ฟังจาก อ.วรเจตน์แล้วก็อาจจะมองได้ว่า สาเหตุของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว

แต่น่าจะมาจากทั้งรัฐธรรมนูญและตัวบุคคล ซึ่งเป็น "นักการเมือง" นั่นเอง..


จาก http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php