WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 5, 2008

กลุ่ม 24 มิถุนาจับมือคนวันเสาร์จี้สภาฯยกเลิกรธน. 50

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และโฆษกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาคนที่สอง เพื่อให้ยกเลิกผลิตผลของคมช.-รัฐธรรมนูญ 50 สิ้นสุด

ที่รัฐสภา กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย โฆษกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาคนที่สอง เพื่อให้ยกเลิกผลิตผลของคมช.-รัฐธรรมนูญ 50 สิ้นสุด และริเริ่มการปฎิรูปการเมือง โดยนายสมยศ กล่าวว่า จากการรัฐประหารที่ผ่านมาได้ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ทำลายประชาธิปไตยและยัดเยียดรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมืองและระบบรัฐสภา สังคมไทยได้รับความเสียหายในทุกด้านอย่างรุนแรง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาโดยสนช.และคำสั่งของคมช.ถือเป็นกฎหมายเถื่อน หากปล่อยให้มีการบังคับใช้เท่ากับเป็นการยอมรับอำนาจเถื่อนของกลุ่มโจรกบถ เป็นการยอมรับการรัฐประหารและระบอบการปกครองเผด็จการทหาร

นายสมยศ กล่าวว่า เมื่อคมช.ได้ยุติบทบาทลงไปแล้วยังคงไว้ตัวหนังสือที่เป็นบทบัญญัติและองค์กรผลผลิต ถือเป็นมรดกบาปและสิ่งชั่วร้าย ดังนั้นจึงขอเรียกร้อง 1.ให้สภาฯดำเนินการให้รัฐธรรมนูญ 2550 คำสั่งคมช. กฎหมายและองค์กรต่าง ๆที่มาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ให้สิ้นสุดลงหรือให้เป็นโมฆะ 2.ให้จัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบความเสียหายจากการรัฐประหาร (คตร.) ประกอบด้วยพรรคการเมือง ตัวแทนองค์กรที่ต่อต้านการรัฐประหาร นักวิชาการ และองค์กรประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งนี้จะต้องมีงบประมาณ บุคคลากร และอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการัฐประหาร 19 กันยายนทั้งหมด

พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า ขณะนี้สภาฯได้ประสานไปยังสถาบันพระปกเกล้าให้ศึกษาผลกระทบจากการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 นอกจากนี้สำนักวิชาการของสภาฯก็ได้ศึกษาเช่นกัน เพื่อข้อไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องง่ายจะต้องดำเนินการบนหลักวิชาการ ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัว หรืออาฆาตมาดร้าย ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น สำหรับแนวทางในการตั้งกรรมาธิการต้องประกอบด้วยทุกพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล และต้องฟังความเห็นของประชาชนด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับกฎหมายที่ออกโดยสนช.จะมีการพิจารณาศึกษาว่าฉบับที่ดีก็จะใช้ต่อไป ยกเว้นที่มีปัญหา โดยเฉพาะพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จะต้องพิจารณาแก้ไข