หลังจาก “น.พ.เหวง โตจิราการ” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ “พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย” รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตแกนนำ นปก.เพื่อขอให้มีการเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.51ล่าสุด วันที่ 5 ก.พ.51 “นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข”ประธานกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย และคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อพ.อ.อภิวันท์ เป็นรายที่ 2 โดยเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารเป็นโมฆะ“นายสมยศ” บอกว่า จากการเกิดการรัฐประหาร 19 ก.ย.49ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทำให้ “รัฐธรรมนูญปี2540” ถูกฉีกทิ้ง มีการจัดตั้งรัฐบาล “สภานิติบัญญัติ (สนช.)” และองค์กรเถื่อน ออกกฎหมายมาบังคับประชาชน รวมทั้งยัดเยียด“รัฐธรรมนูญ ปี 2550” มาบังคับใช้ ทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมืองและระบบรัฐสภาดังนั้น “รัฐธรรมนูญ ปี 2550” และกฎหมายที่ออกจาก “สนช.”รวมทั้งคำสั่งของ คมช. จึงเป็นกฎหมายเถื่อนของ “กลุ่มโจรกบฏ”หากปล่อยให้มีการบังคับใช้ เท่ากับว่าเป็นการยอมรับอำนาจเถื่อนยอมรับการรัฐประหารและระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหาร“นายสมยศ” บอกต่อว่า เมื่อมีการเลือกตั้ง 23 ธ.ค.50 ที่ผ่านมาและได้ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้บ้านเมืองพัฒนาไปสู่การมีระบอบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น โดยที่ “คมช.” ได้ยุติบทบาทลงคงเหลือไว้แต่หนังสือที่เป็นบทบัญญัติ เป็นมรดกและสิ่งชั่วร้ายของเผด็จการทหารดังนั้น “กลุ่ม 24 มิถุนาฯ” จึงขอเรียกร้อง คือ 1. ให้ ส.ส.ดำเนินการให้ “รัฐธรรมนูญปี 2550” ที่เป็นคำสั่งของ คมช. ไม่มีผลบังคับใช้ ให้เป็นโมฆะ 2. ให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญ” ตรวจสอบความเสียหายจากรัฐประหาร 19 ก.ย. โดยให้ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง ตัวแทนองค์กรต่อต้านรัฐประหาร นักวิชาการ และองค์กรประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยรวมทั้งตรวจสอบความเสียหายที่มีต่อรัฐ งบประมาณ บุคลากรอันเนื่องมาจากการรัฐประหาร เพื่อเสนอต่อรัฐสภาให้มีมติป้องกันรัฐประหารในโอกาสต่อไปซึ่ง “พ.อ.อภิวันท์” บอกว่า เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องที่ทางกลุ่มเสนอมา โดยจะประสานกับสถาบันพระปกเกล้าและสำนักวิชาการสภาผู้แทนราษฎร ทำวิจัยถึงผลกระทบต่อ “รัฐธรรมนูญ ปี 2550”ว่ามีอะไรบ้าง“ผมอยากให้มีการแก้ไขโดยหลักวิชาการ ไม่ใช่ทำเพราะความรู้สึกส่วนตัวหรือความอาฆาตมาดร้าย และอยากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กฎหมายที่ออกโดย สนช. หลายฉบับดี ส่วนบางฉบับที่มีปัญหา ก็ต้องมาปรับปรุงแก้ไขกันอีกครั้ง”จากข้อซักถามที่ว่า “รัฐธรรมนูญปี 2550” ได้ผ่านการลงพระปรมาภิไธยแล้ว การออกมาระบุอย่างนี้จะเข้าข่ายการละเมิดพระราชอำนาจหรือไม่“นายสมยศ” บอกว่า การก่อรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย. ถือว่าเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจอยู่แล้ว ดังนั้น จึงต้องปฏิเสธทั้งระบบเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรมีศักดิ์ศรี และประชาชนไม่สามารถยอมรับอำนาจเถื่อนและเผด็จการทหารที่มีโจรกบฏเป็นประมุขได้ส่วนข้อซักถามกรณี หากรัฐธรรมนูญมีความเป็นเผด็จการ ส.ส.ที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องลาออกหรือไม่ เพราะมีที่มาไม่ชอบธรรมเช่นกัน“นายสมยศ” บอกว่า ส.ส.ชุดนี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนพอมาถึงช่วงนี้ “พ.อ.อภิวันท์” ได้พูดตัดบท “นายสมยศ”ว่า การแก้ไขอะไรก็ต้องมีหลักวิชาการ จะแก้เพราะความรู้สึกของคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ ซึ่งสภาฯ จะได้ประสานไปยังสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันวิชาการของสภาฯและการตั้ง “คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ” ก็เพื่อศึกษาผลกระทบจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยจะคัดเลือกตัวแทนภาคประชาชนและพรรคการเมืองทุกพรรค เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย