WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 8, 2008

ต้องยกเลิก รธน.50ผลผลิตจากรัฐประหาร

ประเด็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงสาระสำคัญที่ซ่อนปมปัญหาทางการเมืองเอาไว้มากมาย ตลอดจนที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของเผด็จการ โดยล่าสุดกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่าน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และกฎหมายที่มีคราบไคลเผด็จการ พร้อมกับการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆ เพื่อตรวจสอบความเสียหายจากการรัฐประหาร ซึ่งนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้บอกเล่าถึงสาระสำคัญของเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ

มีเหตุผลหรือแนวคิดอย่างไรในการเรียกร้องให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แทนที่จะเป็นการแก้ไข
การรัฐประหารที่ผ่านมาได้ฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 ทิ้ง เป็นการทำลายประชาธิปไตย และพยายามยัดเยียดรัฐธรรมนูญปี 2550 มาให้ ซึ่วรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหาสาระที่ทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมือง และระบบรัฐสภา ผลจากรัฐธรรมนูญดังกลบ่าวทำให้สังคมไทยได้รับความเสียหายในทุกๆ ด้าน อย่างรุนแรง
หากเรายอมรับให้เกิดการแก้ไขในกระบวนการของรัฐธรรมนูญเท่ากับว่าเรายอมรับให้เกิดการรัฐประหาร และยอมรับการยัดเยียดรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน เราเห็นว่าการรัฐประหาร 19 กันยายนนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายประชาธิปไตย และเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ
ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นเป็นผลผลิตที่มาจากการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ใช้อำนาจเถื่อนในการร่างรัฐธรรมนูญและยัดเยียดให้กับประชาชน กฎหมายที่มาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ก็เป็นกฎหมายถื่อน หากปล่อยให้มีการบังคับใช้ ก็เท่ากับเป็นการยอมรับอำนาจเถื่อนของกลุ่มโจรกบถ เป็นการยอมรับการรัฐประหารและระบอบการปกครองเผด็จการทหาร
เมื่อ คมช. ได้ยุติบทบาทลงไปแล้ว แต่ยังคงไว้ซึ่งตัวหนังสือที่เป็นบทบัญยัติและองค์กรผลผลิต ถือเป็นมรดกบาปและสิ่งชั่วร้าย ในเมื่อวันนี้เรามีรัฐบาลที่มาจรากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอเรียกร้องให้สภาดำเนินการให้รัฐธรรมนูญ 2550 คำสั่ง คมช. กฎหมาย และองค์กรต่างๆ ที่มาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ให้สิ้นสุดลงหรือเป็นโมฆะ


การตรวจสอบความเสียหายที่เกิดจากการรัฐประหารมีแนวทางในการดำเนินการและมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง
สำหรับแนวทางและเหตุผลที่เรียกร้องให้มีการตั้งกรรมมาธิการวิสามัญตรวจสอบความเสียหายจากการรัฐประหารนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายให้กับภาคเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย อย่างรุนแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน หลังการรัฐประหารมีการเบิกเงินไปใช้จำนวนมาก ในช่วงแรกของการรัฐประหารมีการเบิกเงินจากกระทรวงการคลังไปถึง 1,200 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานต่างๆ ทำให้เราอยากทราบว่าเงินจำนวนนี้ไปเข้าหน่วยงานใดบ้าง มีความโปร่งใส มีการทุจริตคอรัปชั่นกันหรือไม่
เพราะบางหน่วยงานไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยกกำลังพลมาก่อการรัฐประหารเลย แต่ก็ได้รับเงินจำนวนนี้ไปด้วย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นี่คือหน่วยงานที่ควรจะตรวจสอบ
อีกจุดหนึ่งที่ควรได้รับการตรวจสอบคือ บ้านพักส่วนตัวที่กรมทหารราบ ที่ 11 บ้านหลังดังกล่าวสร้างด้วยงบประมาณ 21 ล้านบาท ซึ่งทราบข่าวมาว่าเป็นบ้านพักให้กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ขณะนั้น
เป็นการกระทำในลักษณะเดียวกันกับ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ที่อยู่บ้านสี่เสาเทเวศน์ ตรงนี้เองที่ต้องการให้มีการตรวจสอบว่า งบประมาณที่นำมาสร้างบ้านพักหลายล้านบาทนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ มีที่มาที่ไปอย่างไร
ทั้งนี้ยังรวมไปถึงงบประมาณที่มีการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกณัฐมนตรีขณะนั้น โดยใช้คำว่า “งบประมาณเพื่อความมั่นคง” จำนวน 555 ล้านบาท ซึ่งต่อมาถูกส่งมาอยู่ในความดูแลของ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ตรงนี้จะมีการตรวจสอบว่าเงินจากงบประมาณดังกล่าวถูกส่งไปที่หน่วยงานใดบ้าง ใช้จ่ายอย่างไร เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่
นี่คือตัวอย่างที่เราจะต้องตรวจสอบ เพราะการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นการใช้อำนาจเถือน เป็นการทำลายหลักนิติรัฐ ทำลายกฎหมาย ทำลายระบอบประชาธิปไตย
เพราะฉะนั้นเราถือว่าผลผลิตหรือการดำเนินการของ คมช. ไม่สามารถรับได้ จึงต้องการให้สภาผู้แทนราษฏร จัดตั้งกรรมมาธิการตรวจสอบความเสียหายจากการรัฐประหารเป็นการเร่งด่วน
โดยกรรมาธิการชุดนี้จะประกอบด้วย ตัวแทนจากพรรคการเมือง, ตัวแทนจากภาคประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร และตัวแทนนักวิชาการที่เป็นกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องไม่เป็นผู้ที่เคยสนับสนุนการรัฐประหารมาก่อน คณะกรรมาธิการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ มีงบประมาณและบุคคลากรที่จะเข้าไปตรวจสอบความเสียหายในทุกด้าน ทุกมิติ
เพราะเรากำลังพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นผลผลิตจากการรัฐประหารต้องไม่มีผลบังคับใช้ ต้องมีการตรวจสอบความเสีบหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อรัฐสภา เพื่อกำหนดเป็นกฎหมาย หรือเป็นมาตรการที่จะป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารอีก อีกทั้งยั้งเป็นการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารเพื่อที่จะดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
ตรงนี้เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องพิจารณาต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพรรคพลังประชาชนจะคำนึงถึงเสียงเรียกร้องประประชาชน เพราะการรัฐประหารสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ลึกซึ้ง และรุนแรง
โดยเฉพาะงบประมาณของแผ่นดินที่ถูกนำไปใช้จ่ายจำนวนมาก งบประมาณที่ส่งลงไปภาคใต้เราก็อยากจะตรวจสอบว่าใช้จ่ายกันอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินในอนาคต และเราเชื่อมั่นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะรักษาศักดิ์ศรีของตนเอง
คนที่กระทำความผิดสมควรถูกตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมาย เราจะดำเนินการไปตามเนื้อผ้า ไม่ได้เป็นการชำระแค้นหรือเช็คบิลแต่อย่างใด

นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
ให้สัมภาษณ์ นสพ.ประชาทรรศน์
วันที่ 6 มีนาคม 2551