WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 28, 2008

รวมพลังแก้ไข รธน.50

กระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้ถูกก่อตัวขึ้นอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงเฉพาะในฝ่ายการเมือง ที่มติวิปรัฐบาลเห็นควรให้มีการแก้ไขก่อนในบางส่วนคือ มาตรา 237, 266, 309 และมาตรา 190 เนื่องจากมีสาระสำคัญที่ฉุดรั้งการดำเนินกิจกรรมในทางการเมือง และการทำงานของฝ่ายบริหาร ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เท่านั้น

แต่กระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเสียงของประชาชนทั่วทั้งประเทศ ที่สะท้อนผ่านผลการสำรวจความคิดเห็น ชี้ชัดว่าอยากเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากอยากได้กฎหมายที่มีความเป็นธรรม

หรือในกลุ่มนักวิชาการ ก็มีการหยิบไปเป็นประเด็นอภิปราย และเสวนา อย่างกว้างขวางหลายเวที มีเนื้อหาสาระแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด แต่ก็มีแก่นอันเดียวกัน คือไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่มีรากมาจากเผด็จการ มุ่งสืบทอดอำนาจ และมีการซ่อนสาระอันตรายเอาไว้

รวมทั้งในภาคประชาชนก็ทยอยกันออกมาเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก อย่างเช่น กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง องค์กรประชาธิปไตย นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ลุกมาเคลื่อนไหวยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ โดยแก้ไขเพิ่มเติมบางมาตรา

ด้านสมาพันธ์ประชาธิปไตย ได้ออกมาสนับสนุนรัฐบาลทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าแม้จะต้องเสียงเงินในการดำเนินการ ก็ยังถือว่าคุ้มค่าหากสามารถทำลายอำมาตยาธิปไตย ที่ทำลายการเมืองไทยอยู่ในขณะนี้ลงได้
ส่วนกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ ก็ออกมาชี้ชัดๆ ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทย แต่เป็นผลผลิตของ คมช. ที่กำลังส่งผลทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะเนื้อหาของมาตรา 237 ที่นำไปสู่การยุบพรรคการเมือง

ในขณะที่ ชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย ได้ทำจดหมายถึงทุกพรรคการเมือง รวมถึงฝ่ายค้านพรรคเดียวอย่างประชาธิปัตย์ ให้ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะเล็งเห็นว่านอกจากจะไม้เป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ให้อำนาจแก่ประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ยังวางกับดักให้ประชาธิปไตยตกหลุมพรางได้ง่ายอีกด้วย
นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มต่างๆ ที่กำลังเตรียมที่จะออกมาร่วมเคลื่อนไหวในเรื่องเดียวกัน อย่างเช่น สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่จะมีแถลงการณ์ออกมาเร็วๆนี้

และเชื่อแน่ว่ากระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสกัดกั้นการสืบทอดอำมาตยาธิปไตย จะขยายตัวเป็นวงกว้างมายิ่งขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้...!!

โพลชี้ประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เอแบคโพล เผยประชาชนส่วนใหญ่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกมาตรา ยกเว้นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

โดยผลจาการสำรวจเรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,425 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะอยากให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศไทยเกิดความสงบสุข และการเมืองเข้มแข็งขึ้น

ในกลุ่มประชาชนที่ต้องการให้แก้ไขประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ต้องการให้แก้ไขทุกมาตรายกเว้นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ร้อยละ 40.4 ต้องการให้แก้ไขที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง

ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ช่วงเวลาอาจยังไม่เหมาะเพราะประชาชนเกินครึ่งที่อยากให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญพร้อมๆ ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และคนไทยยังเชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะไม่ลุกลามบานปลาย

สาระสำคัญแก้ รธน. ตามมติวิปรัฐบาล
มติวิปรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ทั้ง 6 พรรคเห็นพ้องกันว่าควรให้มีการแก้ไขใน 4 ประเด็น รวม 5 มาตรา ด้วยกัน ดังนี้

1. มาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค เป็นประเด็นที่มีการพูดจากันมากที่สุดเพราะการที่
ยุบพรรคการเมืองได้โดยง่าย และการนำความผิดเฉพาะบุคคลลงโทษคนทั้งพรรคเป็นความไม่ยุติธรรม และจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นกับการเมืองได้อย่างไม่หยุดหย่อน

2. มาตรา 265-266 เป็นประเด็นที่ถูกวางยาไง้ไม่ให้ ส.ส. เข้ามาทำงานเป็นที่ปรึกษา
หรือเลขานุการรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นกรรมาธิการ เป็นผลให้ไม่สามารถใช้ทรัพยากรบุคคลได้อย่างคุ้มค่า

3. มาตรา 309 ที่ให้กระทำการต่างๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 เป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เป็นประเด็นที่นักกฎหมายมองว่าขัดต่อหลักนิติธรรม เพราะเป็นกฎหมายที่ให้มีผลย้อนหลัง และยังทำให้ไม่สามารถเอาผิดกับความเสียหายทุกประการที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ คมช.

4. มาตรา 261 การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เห็นว่าควรจะมีการแก้ไขให้หมายรวมถึง กรรมการในองค์กรอิสระ ผู้บริหารส่วนราชการ และผู้นำทางการทหารด้วย