WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 29, 2008

ยุบพรรคเรื่องเล็ก

คอลัมน์ : เดินหน้าชน
โดย จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด

ประเด็นที่ร้อนสุดสุด แข่งกับอุณหภูมิอากาศเวลานี้เห็นจะหนีไม่พ้นปมแก้รัฐธรรมนูญ"50 ที่พรรคพลังประชาชนในฐานะแกนนำรัฐบาลชี้ว่า หากยังคงนำโยงสู่การสั่งยุบพรรคกันง่ายๆ อาจทำให้ประเทศต้องบอบช้ำอีกครั้ง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในช่วงพลิกฟื้น เพราะความปั่นป่วนทางการเมืองและสุญญากาศที่เกิดขึ้น จะเท่ากับซ้ำเติมปัญหาเดิมที่แย่อยู่แล้วให้แย่ลงไปอีก

แต่ประเด็นนี้กลับถูกฝ่ายค้านรวมทั้งฝ่ายที่มีส่วนในการกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้สวนกลับทันทีว่า เป็นข้ออ้างที่เสมือนเอาประเทศเป็นตัวประกัน!

อย่างไรก็ตาม หากฟังจาก "คนกลาง" ทั้งจากแวดวงธุรกิจและเสียงสะท้อนรวมๆ จากประชาชนทั่วไป ก็มีหลายแง่มุมที่น่าสนใจ

เฉพาะในส่วนนักธุรกิจ แทบจะประสานเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่อยากให้ยุบพรรคเพราะหลายมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในขณะนี้อาจชะงักงันทันที แต่ก็ออกตัวว่าถ้ารีบร้อนแก้รัฐธรรมนูญโดยที่เพิ่งจะใช้มาได้แค่ไม่กี่เดือน ก็อาจเกิดเหตุบานปลายจนสะเทือนภาพรวมทั้งประเทศไปได้อีกเหมือนกัน ซึ่งการไม่ฟันธงให้ชัดลงไปก็เป็นธรรมดาของผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเสียหายโดยตรง เว้นแต่ผลลบจะกระทบถึงตัว

ขณะที่ประเมินจากเสียงชาวบ้าน โพลล่าสุดของเอแบคโพลก็ชัดเจนว่าเกือบ 60% ของประชากรตัวอย่าง 3,425 คน เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ "เพราะอยากให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ประเทศจะได้สงบสุขและการเมืองจะได้เข้มแข็งขึ้น" ขณะที่ ราว 33% ยังไม่สุกงอม เพราะเห็นว่า "มีการเบี่ยงเบนสาเหตุที่ต้องแก้ไขไปเป็นเรื่องประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และเกรงจะนำไปสู่ความวุ่นวาย"

ที่น่าสนใจคือ 49.1% ของผู้เห็นด้วย ต้องการให้แก้ไขทุกมาตรา ยกเว้นมาตราที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 40.4% อยากให้แก้เฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง และที่สำคัญ 51.7% เห็นว่ารัฐบาลควรมีแนวทางให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตของบ้านเมือง เพราะหลายคนเป็นผู้มีศักยภาพ

ฟังดูคลับคล้ายคลับคลากับที่ นายสมัคร สุนทรเวช ออกมาให้แนวทางเมื่อเร็วๆ นี้ จนคิดเล่นๆ ว่า ดีไม่ดี พรรคพลังประชาชนที่มีศักยภาพในการทำโพลชนิดที่ไม่อาจประมาทฝีมือได้ อาจแอบลงมือสำรวจความเห็นชาวบ้านมาก่อนหน้านี้แล้ว พอเอแบคโพล (ซึ่งมักถูกมองว่าเอนเอียงมาทางซีกตรงข้ามพรรคไทยรักไทยในอดีต) ออกมาในทิศทางเดียวกัน รัฐบาลที่แรกๆ ทำท่าจะปรับแก้เฉพาะมาตรา 237 ที่โยงเรื่องยุบพรรคเท่านั้น กลับสวมวิญญาณหมูไม่กลัวน้ำร้อน เปลี่ยนมาตั้งท่ารื้อทั้งฉบับ รวมทั้งมาตรา 309 ที่คุ้มครองบรรดาองค์กรทั้งหลายที่ คมช.ตั้งขึ้นด้วย

ปัญหาคือหากคิดการใหญ่เช่นนั้น ใน 6 พรรครวมรัฐบาล โดยเฉพาะภายในพรรคพลังประชาชนเอง เวลานี้มีความเป็นเอกภาพและเข้มแข็งเพียงพอที่จะรับแรงเสียดทานจากพลังต้านที่ยังทรงอิทธิพล และไม่คิดจะยอมเลิกราง่ายๆ หรือยัง โดยเฉพาะการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำท่าจะกลับมาภายในสิ้นเดือนนี้ เร็วกว่าเดิมที่กำหนดจะกลับก่อนมารายงานตัวต่อศาลวันที่ 11 เมษายน ก็แรงเสียดทานจะมีมากขึ้น จนทำให้อุณหภูมิการเมืองร้อนแรงยิ่งกว่าเวลานี้

เป็นไปได้ว่า ยิ่งพลังประชาชนประกาศชัดว่าจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญยกพวง อาจทำให้บางคนเผลอแสดงเจตนารมณ์อันชัดเจนที่จ้องอยากให้ยุบพรรคเสียไวๆ เช่นที่ นายสุเมธ อุปนิสากร 1 ใน กกต. ถูกตั้งข้อสงสัยจาก "เสธ.หนั่น" ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ก็อาจยิ่งผลักให้ชาวบ้านและฝ่ายเป็นกลางหันมาเห็นใจฝ่ายที่เป็นเป้าถูกกระทำมากขึ้น

แต่ปัจจัยรูปธรรมที่จะทำให้แรงหนุนในเรื่องนี้มีมากขึ้นแน่นอนยังอยู่ที่รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชาชนที่เป็นเป้าหลักว่า ได้แสดงฝีไม้ลายมือและความตั้งใจในการแก้วิกฤตประเทศได้ถูกจุดแค่ไหน ภายในกรอบเวลาการแก้รัฐธรรมนูญ ที่สำคัญคือทันกับการนับถอยหลังสู่กระบวนการยุบพรรค หาก "ธง" ที่ตั้งไว้ยังไม่เปลี่ยน!

เพราะศรัทธาและความน่าเชื่อถือที่ประชาชนมอบให้จะเป็นเกราะกำบัง หลังจากเห็นชัดว่า แม้จะฝ่าสารพัดด่านขึ้นมากุมอำนาจรัฐอยู่ในมือแล้วก็ตาม ยังมีสิทธิที่จะเอาตัวไม่รอดจากการตั้งรับกับอำนาจนอก-เหนือรัฐ ที่ยังมีอิทธิพลล้นเหลืออยู่จริงในสังคมไทยในเวลานี้

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2-3 ยกที่ออกมา อาจเป็นไฮไลต์ของความคาดหวัง แต่ก็ดูเหมือนยังมีช่องว่างระหว่างทีมเศรษฐกิจที่ทำให้ขาดพลังที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกประเด็น ในทิศทางที่สอดคล้องต้องกัน

ถ้าทีมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะคนตั้งใจดีมีฝีมือ อย่าง รมว.คลัง และ รมว.พาณิชย์ มาจับเข่าคุยกันให้ได้ใกล้ชิดกว่านี้

ศึกยุบพรรคนั้น อาจเป็นเรื่องเล็ก