WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 28, 2008

อํานาจ!!!ไม่เข้าใครออกใคร

กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ติอต่อกันหลายวัน กับการตัดสินใจจะล่นการเมืองหรือไม่ของ พล.อ.สนธิบุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเจ้าตำรับ แผนพิฆาต 4 ขั้นตอน ที่ได้กระทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ทิ้ง เมื่อสองขวบปีที่ผ่านมา

ตื่นเช้ามาสอดรู้สอดเห็นโผล่มา เสพข่าวสารบ้านเมืองต้องหยุดแปรงฟันล้างหน้าตัวเองเจอตัวจริงเสียงจริงบนจอทีวีช่องหนึ่ง เชิญนักข่าวสาวสายทหาร จากค่ายหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ‘ วาสนา นาน่วม ' ผู้เขียนหนังสือลับลวงพราง ที่มาของการรวบรวมประมวลที่เขียนมาทั้งหมด และทัศนะที่น่ารับฟังว่าทุกอณูจิตใต้สำนึกของทหารเรื่องปฎิวัติมันฝังหัวไม่มีวันดับมอดม้วยอย่างเด็ดขาด เชื้อปะทุระเบิดก้อนนี้มันจุดติดตลอดเวลาในสังคมไทย ซึ่งทหารเองเขาคิดเสมอว่าเขามีส่วนพิทักษ์รักษาชาติมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แก้ไขยาก

ทัศนะผู้เขียนหนังสือลับลวงพราง ชัดเจนที่สุดว่าการเมืองกับทหารแยกออกจากกันไม่ได้ การเมืองต้องแก้ด้วยการเมืองเท่านั้น ฉะนั้นมีหนทางเดียวที่ทหารต้องเลิกคิดการปฎิวัติเสีย โดยคำนึงทั่วโลกเขาไม่คบค้ารับรองรัฐบาลที่มาจากปลายกระบอกปืนโดยเด็ดขาด ประเทศชาติเสียหายมากกว่าได้...นี่คือข้อสรุปตรงไปตรงมา

อยากเปรียบเทียบประเด็นทหารกับการเมืองที่ถูกมองข้าม ประเด็นดังกล่าวหลายคนในรัฐบาล คมช.รวมทั้งนักวิชาการหลายท่าน ให้ความเห็นว่าการที่ พล.อ.สนธิ จะเล่นหรือไม่เล่นการเมืองเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิทางการเมืองโดยทั่วไปของคนไทยที่พึงจะกระทาได้ (หากไม่ถูกเพิกถอนทางการเมืองเสียก่อนตามแผน 4 ขั้น) และในเมื่อ พล.อ.สนธิ เป็นทหาร เมื่อปลดประจําการก็เป็นข้าราชการเกษียณอายุที่พึงมีสิทธิ์ในการดำเนินการทางการเมืองตามระรอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในอดีตก็มีนายทหารไม่ว่าจะเป็น บิ๊กซัน หรือ บิ๊กจิ๋ว ดำเนินการทางการเมืองภายหลังเกษียณจากกองทัพ ดังนั้นการลงเล่นการเมืองของประธานคมช. จึงไม่เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด

มันแปลกครับ...มันเป็นความแปลกบนความไม่แปลก ที่เกิดขึ้นบนมิติของความแตกต่างในที่มาแห่งอำนาจ

แปลกแรกคือ ทั้ง พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก และ พล.องชวลิต ยงใจยทธ ไม่เคยกระทำการโค่นล้มรัฐบาลหรือปฎิวัติรัฐประหาร...

แปลกที่สองคือ บทบาทผู้นำของทั้ง พล.อ.อาทิตย์ และ พล.อ.ชวลิต มาจากการต่อต้านการยึดอำนาจและเป็นผู้ปราบกบฏ...

แปลกที่สามคือ ก่อนเข้าสู่การเมือง พล.อ.อาทิตย์ และ พล.อ.ชวลิต ไม่เคยดํารงตําแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือตำแหน่งในลักษณะเดียวกัน อันมาจากการยึดอำนาจ...

ทั้งหมดล้วนเป็นคุณสมบัติที่ทั้ง พล.อ.อาทิตย์ และ พล.อ.ชวลิติ มี แต่ พล.อ.สนธิ ไม่มี

ในเมื่อที่มาแห่งอำนาจแตกต่างกัน ดังนั้นตรรกะในการเลือกที่จะเข้าสู่เส้นทางแห่งอำนาจทางการเมืองก็ย่อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าตัวของผู้เข้าสู่อำนาจคือพล.อ.สนธิ เองจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะมองเห็นความชัดเจนในตรรกะดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด

สิ่งที่น่าเห็นใจคือมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ศักยภาพดังกล่าวในตัวมนุษย์อาจจะถูกบดบังด้วยอำนาจหอมหวนแห่งอำนาจ

เป็นอำนาจที่มีในปัจจุบัน...

เป็นอำนาจที่กำลังจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว...

ขณะเดียวกันก็เป็นอำนาจที่พยายามจะรักษาไว้ในอนาคต...

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความหอมหวนของอำนาจที่อาจจะรักษาไว้ได้ด้วยการกระโจนเข้าสู่หลุมดำ ตามคําเตือนของคุณหมอประเวศ วะสี สืบย้อนถึงประเด็นที่มาเรื่องดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีที่มาจากทฤษฎีการโยนหินถามทางของคนหน้าเดิมในรัฐบาล

เป็นหินก้อนเดียวกันจากการโยนของคนเดียวกัน ที่เปิดประเด็นเรื่อง เขตปกครองพิเศษภาคใต้ และต่อมาภายหลังต้องกลับลำ กับคําพูดของตนเองแบบเกือบหมดสภาพเป็นหินที่ถูกโยน โดยมุ่งหวังจะดูแรงกระเพื่อมของน้ำจะขยายวงกว้างขนาดไหน

อันที่จริงแล้วไม่มีความจำเป็นอันใดเลย ที่จะต้องโยนหินถามทาง ให้เปลืองแรง เนื่องจากประเด็น เรื่องการลงเลือกตั้งหรือไม่ของ พล.อ.สนธิ นั้น ผู้ที่จะตอบได้ดีที่สุดคือตัว พล.อ.สนธิ เอง หากพยายามทำความเข้าใจ และประยุกต์ใช้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ดี

3 ห่วง 2 เงื่อนไขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน การใช้ความรู้และคุณธรรม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจการดารงชีวิตในระดับปัจเจกบุคคลได้เป็นอย่างดี

พล.อ.สนธิ ควรตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่า การที่จะตัดสินใจเข้าสุ่สนามเลือกตั้งนั้นมีเหตุผลหรือไม่...เมื่อเทียบกับสถานะปัจจุบันของตนเอง ซึ่งมีที่มาจากการใช้กำลังยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย สถานะของประธาน คมช. ยืนยันมาโดยตลอดว่าไม่ยึดติดอำนาจ รวมไปถึงความชอบธรรมในการยึดอำนาจที่ พล.อ.สนธิ จะต้องสูญเสียไป โดยในที่สุดประชาชนจะมองว่า เป็นการยึดอำนาจเพื่อตนเองและพวกพ้อง...

มีความพอประมาณหรือไม่...กับสถานะของการเป็นประธาน คมช. ที่หากมองแล้ว ควรจะต้องเป็นกลางในการสร้างความสมานฉัทน์และความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมและประเทศ

ถึงแม้จะอ้างว่าสถานะของความเป็นประธาน คมช. ของ พล.อ.สนธิ จะหมดไปพร้อมวาระของ คมช. เมื่อมีการเลือกตั้ง ดังนั้นการเข้าสู่การเมืองจะไม่เกี่ยวกับสถานะของปราน คมช. ซึ่งจะต้องหมดไปแต่อย่างใด

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สถานะมันหมดไปจริงหรือไม่ อย่าลืมว่าปรากฎการณ์ในโลกมนุษย์มีหลายสิ่งที่ไม่สามารถแยกความจริงกับความไม่จริงออกจากกันได้ หากแต่สิ่งใดที่ประชาชนเห็นว่าเป็นความสําคัญ นั่นก็คือความจริงสําหรับประชาชน

ภูมิคุ้มกัน...ดูจะเป็นเหตุผลที่ใกล้เคียงที่สุดที่ พล.อ.สนธิ อาจใช้อ้างในการตัดสินใจลงเล่นการเมืองได้ นั่นคือ เพื่อหาภูมิคุ้มกันอำนาจให้กับตนเองภายหลังเกษียณอายุราชการ เพื่อป้องกันการเอาคืนจากกลุ่มอำนาจเก่า

ความรู้...ทักษะของการเป็นทหารสายอาชีพ กับทักษะการเป็นนักการเมืองข้อนี้ อดีตผู้นากองทัพ เช่นนายกฯสุรยุทธ์ ได้ให้ความเห็นสั้นๆแล้วว่า ไม่เหมือนกัน และไม่ง่าย

คุณธรรม...ที่ผ่านมา พล.อ.สนธิ ให้การยึดมั่นกับคุณธรรมมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความกตัญญู การรักษาคําพูด การไม่แบ่งแยกฝ่าย และการให้อภัย

เมื่อประมวลสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน พล.อ.สนธิ น่าจะมีคาตอบสุดท้ายสำหรับการตัดสินใจดังกล่าวของตนเองจานาไปสู่ความยั่งยืนในภาคการเมืองหรือไม่อย่างไรและบทบาทของ พล.อ..สนธิ ถูกสังคมจับตามองในมุมมองอีกมิติหนึ่ง

เป็นรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็นครั้งก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นมิติที่หลุดพ้นจากสถานะของปัจเจกบุคคลที่ พล.อ.สนธิ คือ พล.อ.สนธิ แต่เป็นมิติในบทบาทของสถาบันที่ พล.อ.สนธิ คือ กองทัพ และกองทัพคือ พล.อ.สนธิ

การเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ถึงแม้จะเป็นการลงสมัครรับเลือกตั้งตามสิทธิ์โดยชอบธรรม แต่เป็นการยากที่จะสลัดภาพของการสืบทอดอำนาจจากกองทัพ

เรายังพอจํากันได้กับเหตุการณ์เมื่อ 9 เดือนก่อน ภายหลังการปฎิวัติที่ประธาน คมช. ได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันกับประชาชนมาโดยตลอดว่า ไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองแต่อย่างใด และสมาชิกใน คมช.เอง ก็ไม่เห็นมีใครแสดงท่าทีการสืบทอดอำนาจหรือสนใจทางการเมืองแต่อย่างใด

หลายๆ คน ยังคงพอจํากันได้ กับคําให้สัมภาษณ์ที่หนักแน่นและเข็มแข็งแบบชายชาติทหารของประธาน คมช. เมื่อถูกถามถึงความเป็นไปได้ในการสืบทอดอำนาจในอนาคต โดยประธาน คมช. กล่าวย้ำ พร้อมทั้งชี้นิ้วไปที่อกตนเองอย่างสง่าผ่าเผย ด้วยคําพูดที่ว่า ‘ นั่นไม่ใช่ตัวผม ไม่ใช่ พล.อ.สนธิ '

พวกเรายังจํากันได้ และ พล.อ.สนธิ เอง ก็ย่อมจําได้

ฤาว่าปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ ไม่ใช่ตัวตนของ พล.อ.สนธิ ตอนนั้น

คืนรัง

จาก hi-thaksin