WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 17, 2008

ตุลาการภิวัตน์

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ข้อเสนอของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ที่แนะให้ “ศาล” ใช้อำนาจ “ยุบสภา” โดยคงไว้เฉพาะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อเริ่มต้นการเมืองใหม่ ที่ก็ยังไม่แน่นอนว่าคืออะไรนั้น

หากเป็นในยามปกติคงเป็นเรื่องน่าขบขันเข้าขั้นโง่เขลา ที่หวังจะดึง “อำนาจตุลาการ” มายุ่งเกี่ยวกับ “อำนาจบริหาร” หรือ “การเมือง”

แต่...เมื่อเป็นคำกล่าวในยุคที่ผู้พิพากษาจำนวนมากรับหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับคณะรัฐประหาร

ยุคที่ตุลาการตัดสินคดีเกี่ยวกับการเมือง นักการเมือง และพรรคการเมืองหลายคดี

ยุคที่มีอดีตนายกรัฐมนตรีเตรียมการลี้ภัยด้วยเหตุผลว่า เคลือบแคลงใจในระบบยุติธรรม

ยุคที่มีนายกรัฐมนตรีคนแรกหลุดพ้นจากตำแหน่งด้วยอำนาจตุลาการ ฯลฯ

ข้อเสนอที่ดูเหมือน “ไร้สติ” ของนายสนธิ จึงควรเงี่ยหูฟัง เพราะถ้าคิดว่า “เป็นไปไม่ได้” ก็คงไม่แทงเรื่องออกมาให้สังคมปั่นป่วนเล่น

ยิ่งเมื่อผลการจัดอันดับล่าสุดของ “เพิร์ค” บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่ได้สำรวจความ “ไม่” น่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมใน 12 ประเทศเอเชีย

ผู้ให้คะแนนได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงที่ประกอบธุรกิจในเอเชีย โดยคำนึงถึงตัวแปรต่างๆ อาทิ ธรรมาภิบาล กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซง มาตรฐานการศึกษาของทนายความและผู้พิพากษา ฯลฯ

ยิ่งได้คะแนนมาก ยิ่ง “ไม่” น่าเชื่อถือมาก

และไทยได้ 7 คะแนน เต็ม 10 …

ความน่าเชื่อถือแทบจะรองบ๊วย

มุมมองจากต่างชาติอาจไม่ใช่ “สัจจะ” แต่อย่างน้อยก็เป็นภาพสะท้อนเกี่ยวกับระบบยุติธรรมไทยที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง...

และยิ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า การพาตัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในหลายๆ ประเด็นก่อนหน้า ได้สร้างความแปดเปื้อนให้แก่อำนาจตุลาการไทยไปทีละน้อย ชนิดที่บุคลากรในแวดวงกฎหมายหลายท่านก็ไม่สบายใจ และไม่อยากเห็น

ทั้งที่ตราบใดที่ยังมีรัฐสภา การเมืองในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีทางออกและคลี่คลายได้ ดังที่เห็นในนานาประเทศเป็นตัวอย่าง

แต่การกระโดดเข้ามาร่วมคลุกวงในของกระบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” แทนที่จะเป็นนิมิตหมายอันงดงาม กลับจุดประเด็นคำถามขึ้นมากมาย เกิดเป็นความกังวลห่วงใยทั้งต่อระบบการเมือง และต่อภาพลักษณ์ของอำนาจตุลาการเอง

ยังไม่นับที่ว่า เป็นเพียงอำนาจเดียวในอำนาจ 3 ขา ที่แตะต้องหรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้...

เพราะนั่นยิ่งทำให้อำนาจขานี้มีความ “เบ็ดเสร็จ” มากยิ่งขึ้น

การออกมา “แย็บ” ของกลุ่มพันธมิตรฯ หวังพึ่งอำนาจตุลาการให้เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทย

จึงเป็นได้ทั้งความ “ไร้สาระ” และความ “ท้าทาย”

“ไร้สาระ” เพราะไม่อยู่ในข่ายอำนาจที่ตุลาการจะมายุบสภา หรือเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองให้บิดเบือนไปจากการเลือกตั้งอย่างที่พันธมิตรฯ อยากให้เป็น

แต่ก็ “ท้าทาย” เพราะเท่ากับมีคนเชื่อ หวัง และกำลังยุแยงให้ระบบยุติธรรมยื่นมือมาสางปมการเมืองอีกครั้งและอีกรอบจริงๆ

สิ่งใดเคยเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นก็ไม่รับประกันว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้อีก

ติดที่ว่า ที่เคยเกิดขึ้นมานั้น มันนำ “เกียรติยศ” หรือความ “เสื่อม” มาให้

เป็นความท้าทายที่ “ตุลาการภิวัตน์” จะขีดเขียนให้ตัวเอง