WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 18, 2008

สำรวจ ‘คนจน’ (นปช.) เรื่องเล่าคืนปะทะและมุมมองต่อสังคมการเมืองไทย (จบ)

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

“อ้วน” (ไม่สะดวกเปิดเผยชื่อจริง) วัย 40 กว่าปี เป็นอีกคนหนึ่งที่ร่วมชุมนุมและอยู่ในเหตุการณ์คืนนั้น เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงจริงจังและแผดก้อง ทั้งเหตุการณ์นั้นตลอดจนถึงการวิเคราะห์สังคมการเมืองไทย แม้จะอยู่แถบหน้าๆ แต่อ้วนไม่ได้รับบาดเจ็บ

ทำไมจะต้องเคลื่อนไปสร้างเงื่อนไขความรุนแรงให้มากยิ่งขึ้นในคืนนั้น?

“จริงๆ วันนั้นว่าจะไปปิดล้อมตรงนั้น เพื่อให้พวกต่างจังหวัดเข้ามาร่วมด้วย คนที่นั่นอยากไปนานแล้ว ได้แต่รอและรอ คนเราไปทุกวันนานๆ มันเกิดความเครียด ความกดดันขึ้นมา ตอนแรกว่าจะไปกดดันกันตอนเช้า พอมีคนถาม ตอนเที่ยงคืนกว่าๆ ก็เฮไปกัน แกนนำบอกตลอดว่าไปแล้วอย่าใช้อารมณ์นะ ปกติเราเดิน เราต้องมีสิ่งป้องกันตัวอยู่แล้ว แต่ภาพที่ออกมาว่ามีมีดมีอะไร มันไม่เป็นอย่างนั้น

ผมอยู่ตรงตึกยูเอ็น แต่บังเอิญตอนนั้นมันมืด ถือก้อนหินก้อนใหญ่ไว้ เขาอาจคิดว่าถือปืน ไม่กล้าเข้ามา พวกที่อยู่ด่านหน้าของเขาถอยให้พวกที่อยู่ข้างหลังเข้ามา แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น พอเสียงปืนดังเท่านั้น เราก็ตกใจ ถอยกรูกันเลยแล้วเสียจังหวะ เหยียบเหล็กกั้นกันล้มบ้าง ทีนี้พอจะเข้าไปช่วยมันก็ช่วยไม่ได้แล้ว เพราะเราเสียเปรียบมาก หมวกก็ไม่มีป้องกัน”

“ผมก็ไม่สบายใจ ที่เราออกไปด้วยกันแล้วพรรคพวกตาย โดยเราช่วยอะไรไม่ได้”

เมื่อถามว่ามีการเตรียมอาวุธกันหรือไม่ อย่างไร อ้วนเล่าว่า คนด่านหน้าวันนั้นก็มีราว 20-30 คน โดยหาไม้จากไม้ที่ใช้ประกอบเวที มีเหล็กท่อนกลมๆ สั้นๆ เตรียมไว้บ้าง

“ผมคิดอย่างเดียวว่า อยู่กับพวกนี้ตายดีกว่า เราจะอยู่กับกบฏอย่างไร ถ้าเขามีอำนาจมันก็มาเฟียดีๆ นี่เอง แล้วสื่อ นักวิชาการ เอ็นจีโอ ตุลาการ ก็ยังไปร่วมสนับสนุนเขา”

อ้วน พื้นเพเป็นคนศรีสะเกษ เรียนไม่จบปริญญาตรี และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปอยู่ในกรุงเทพฯ มากว่า 20 ปี ทั้งยังเรียกได้ว่าเป็นหนอนหนังสือ (พิมพ์) อ่านแทบทุกฉบับเท่าที่หาได้ แต่ไม่เคยออกมาชุมนุมเป็นเรื่องเป็นราว จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุด

“เราว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ เป็นคนดี ถ้าผมเป็นนายกฯ ผมก็จะทำอย่างนั้น ต้องทำเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ต่อไปเงินซื้อเสียงไม่ได้ แต่อยู่ๆ ก็มีคนมาปฏิวัติ แรกๆ ผมแค่ออกมาดูว่าเขาชุมนุมอะไรที่สนามหลวง ตอนนั้นจำได้ว่ามีตั้งหลายเวที ความคิดเห็นก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์”

“มันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เขาก็ยังมาว่าว่าจ่ายเงินจ่ายทอง สักบาทผมก็ไม่เคยได้ เรามีแต่ให้ คนที่มาเราก็ไม่รู้จักกัน แต่รู้ว่าเราคิดบางอย่างเหมือนกัน สู้กันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งไปบ้านพลเอกเปรม (ติณสูลานนท์) ผมก็ไป ที่นั่นถึงไม่มีอาวุธแต่โดนตีหนักกว่า ที่มันน้อยใจก็คือ เราไปบ้านพลเอกเปรม ไปพูดปราศรัยกันข้างถนนไม่ถึงสองชั่วโมง ก็โดนปราบ แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไทย หัวแตกกันก็หลายคน”

คนที่ชอบทักษิณส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด ไม่มีการศึกษามากนัก และเห็นแก่ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ที่รัฐบาลให้ โดยเฉพาะข้อหาเรื่องการขายเสียง จริงไหม คิดอย่างไร ?

“ถูกต้อง ที่เจ็บช้ำเจ็บใจก็เพราะอย่างนี้ เขาพูดเพราะจะไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกตั้ง ระบบอย่างนี้มันเป็นมานานแล้ว แต่คนส่วนใหญ่รู้จักประชาธิปไตยจริงๆ ก็เพราะรัฐบาลทักษิณ จับต้องได้ จะไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ คนมันต้องอยู่ดีกินดีก่อน ในหลวงท่านก็เคยตรัสอย่างนี้”

“คนจนได้เข้าถึงโอกาส มีหนี้ แต่มีเงินเก็บในธนาคาร มีโอกาสไปเรียนเมืองนอก มีความรู้ ถามว่าคุณให้เงินเขา 500 เขาจะเอาไหม ระบบทุกวันนี้มันมีซื้อเสียง แต่บอกเลยว่าไม่ว่ายังไงชาวบ้านก็จะเลือกพรรคนี้ เพราะมันเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดมาก”

ในฐานะที่เป็นคนศรีสะเกษ อะไรคือความเปลี่ยนแปลงที่เห็น?

“ยกตัวอย่างว่า ยุคคุณชาติชาย (ชุณหะวัณ) โดนปฏิวัติผมยังเห็นด้วย เพราะคนกลุ่มเล็กๆ ได้ประโยชน์ ทำให้คนรวยซื้อที่ดินเก็บไว้จนล้นเกิน คนหาเช้ากินค่ำไม่มีโอกาสแม้แต่จะซื้อห้องอยู่ มันต่างจากยุคทักษิณที่เอาของไปปล่อยให้ชาวบ้านโดยตรง ให้เงินชาวบ้านยืม บ้านนอกเขาไม่มีเงินก็เอาโฉนดที่ไปกู้ดอกเบี้ยขั้นต่ำร้อยละ 5 ถ้ากู้กันเองร้อยละ 10 แต่รัฐบาลสมัยนั้นให้ร้อยละ1 มีกองทุนหมู่บ้าน หลังจากนั้น สื่อบอกว่าชาวบ้านติดงอมแงม เอาเงินไปซื้อมอเตอร์ไซค์ มือถือ สุรุ่ยสุร่าย ผมเห็นแล้วว่ามันผิด เอาปัญหาส่วนน้อยมาอธิบายคนส่วนมากไม่ได้ คนส่วนมากเขาได้เอาไปทำประโยชน์กันเยอะ คนจึงเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร เราจะเลือกอะไร เพื่ออะไร”

“ปีอื่นๆ เขาก็จ่าย จ่ายกันทั้งนั้น แต่การเลือกตั้งที่ผ่านมานี่ พลังประชาชนไม่มีเลย ไม่มีใครกล้าให้ แต่คนอีสานนี่ เวลามีงานอะไร ส.ส. เขาไปเยี่ยมตลอด มันกลายเป็นความผูกพันกัน วัฒนธรรมมันเป็นแบบนี้มานาน ไม่ต้องไปจ่ายเขาหรอก คนมาทำทีหลังมันก็ทำไม่ได้แล้ว คนอีสานเดี๋ยวนี้เขาจะบอกว่า ทักษิณช่วยมาเยอะ ต้องเลือกพรรคนี้ คนเฒ่าคนแก่ที่รักทักษิณเพราะจากที่เขาไม่เคยมี ก็มีเงินกองทุนหมู่บ้านมาจัดสรรแบ่งกัน เมื่อก่อนจะหาเงินซื้อพริก ซื้อน้ำปลา บางทีก็ลำบาก แต่เดี๋ยวนี้ทุกอย่างมันง่ายหมด ผมไม่เข้าใจว่าเกลียดอะไรกันหนักหนา ที่มันผิดพลาด มีบ้างก็ต้องว่ากันไป แต่ไม่ใช่มาปฏิวัติหรือยึดทำเนียบไล่”

“มันง่ายๆ เลยว่า ถ้าเราไม่รักษาคนที่ทำประโยชน์ให้ประชาชนไว้ แล้วคนดีๆ เก่งๆ ที่ไหนจะกล้าออกมาเล่นการเมืองอีก ประชาชนจึงต้องแสดงให้เห็นว่า คนดีมีทางเดียวคือต้องออกมาสู้กับปืน กับอำมาตยาธิปไตย ไม่สู้เลยเราก็ต้องเป็นทาส คนรวยก็จะกดขี่คนจนได้ต่อไป อย่างน้อยยุคนั้นเรายังพอมีโอกาสตั้งหลักได้ คนรวยก็รวยต่อไป แต่คนจนก็ดีขึ้น”

“ผมว่านี่เป็นสงครามคนจนกับคนรวยเลยนะ อยู่ที่ว่าคนจนจะออกมามากเท่าไรเท่านั้นเอง” อ้วนกล่าวทิ้งท้าย

สนธยา แก้วโสม วัย 50 กว่าปี เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในกระทรวงแห่งหนึ่ง และเป็นผู้หนึ่งในเหตุการณ์ความรุนแรงคืนนั้น ขณะนี้กำลังเฝ้าไข้ลูกชายวัย 26 ปี ซึ่งไปร่วมชุมนุมกับพ่อ และได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ขาจนกระดูกแตก ที่โรงพยาบาลนวนคร

สนธยาเล่าว่า หลังเลิกงานเขาและลูกชายซึ่งทำงานเป็นพนักงานเซเว่น อีเลฟเว่น จะไปชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อต่อต้านการรัฐประหาร เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ทำให้บ้านเมืองถอยหลังไม่เป็นประชาธิปไตย แรงจูงใจสำคัญที่ต้องเดินทางไกลจากบ้านพักย่านนวนครไปถึงสนามหลวงเป็นประจำ ก็เพราะรู้สึกว่าไม่มีทางที่อื่นที่จะแสดงออกได้

สนธยา ไม่ได้เป็นคอการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร เป็นเพียงคนทำมาหากินทั่วๆ ไป แต่เริ่มสนใจการเมืองมากขึ้นในสมัยของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เช่นกัน

“ผมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ชีวิตไม่เคยมีโอกาสอะไร เมื่อก่อนมีมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งวิ่งไปทำงาน รับส่งลูก พอมาสมัยของรัฐบาลทักษิณ ชีวิตมันดีขึ้น มีบ้านของตัวเอง ตอนนี้มีรถเก๋งเก่าๆ คันหนึ่ง ชีวิตมันมีโอกาสมากขึ้น”

“เมื่อก่อนทำงานไม่เคยมีโบนัส ก็เริ่มได้โบนัส เงินเดือนขึ้น กู้เงินซื้อบ้านก็กู้ได้เต็มร้อย ผมเป็นข้าราชการจนๆ ไม่เคยคิดเลยนะว่าจะมีบ้าน”

ในคืนวันเกิดเหตุ เขาเล่าว่า เวทีปราศรัยจัดกันตามปกติ จนกระทั่งตกดึกมีการปราศรัยกันจนผู้ชุมนุมรู้สึกฮึกเหิม และสรุปกันว่าจะเดินไปกดดันกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นชั้นที่สาม เนื่องจากมีตำรวจกั้นอยู่แล้วสองชั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเคลื่อนขบวนไป มีการดันฝ่าด่านตำรวจเข้าไป และเริ่มคุมสถานการณ์กันไม่ได้ ผู้คนวิ่งเข้าไปใกล้กันมากขึ้น มีการปาก้อนหินและไม้ใส่กัน ขณะที่รถกระจายเสียงของแกนนำก็พยายามจะเข้าไปขวางและประกาศให้ระวัง จากนั้นจึงได้ยินเสียงคล้ายประทัด ดังทีละ 2-3 นัด ดังอยู่ราว 20 นาที

“ตอนนั้นผมกับลูกหลบอยู่ตรงซุ้มเฉลิมพระเกียรติ แถวๆ ลิขิตไก่ย่าง มองไปเห็นแท็กซี่คนหนึ่งถูกตี เลยวิ่งเข้าไป ช่วยเอาคนเจ็บออกไปที่รถพยาบาลที่เข้ามาจอด แล้วบอกให้ลูกชายรออยู่ตรงนั้น พอไปช่วยคนเจ็บ กลับมาอีกทีผมก็เห็นลูกล้มทั้งยืน เพราะถูกยิงที่ขา รีบวิ่งกลับไปหาลูกและอุ้มมาที่รถพยาบาล”

“ผมมั่นใจว่ากระสุนมาจากฝั่งตรงข้ามแน่นอน” ลูกชายของสนธยากล่าวยืนยัน และบอกว่าหากเขาหายดีจะกลับไปร่วมชุมนุมอีกแน่นอนเพราะรู้สึกว่าอีกกลุ่มหนึ่งไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง

ถึงวันนี้ อาการลูกชายของสนธยา เริ่มดีขึ้นและกำลังรอผ่าตัดเพื่อนำเหล็กเข้าไปดามกระดูกหลังจากย้ายจากวชิรพยาบาล เพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มีประกันสังคม โดยค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ค่าเหล็กดามขา 5,000 บาท เขาระบุว่าได้รับเงินช่วยเหลือจากหลากหลายกลุ่มที่ร่วมชุมนุมที่สนามหลวง และรวมกันเงินไว้เป็นกองกลางช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

ทุกวันนี้ นอกจากเฝ้าไข้ลูกทุกเย็น บางวันเขาจะปลีกตัวไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพของนายณรงศักดิ์ ผู้เสียชีวิต หรือไม่ก็ไปร่วมชุมนุมต่อ หากทาง นปช. มีการจัดเวทีที่ใดที่หนึ่ง และยังยืนยันด้วยว่า หากพันธมิตรฯ ยังคงชุมนุมยึดทำเนียบ เขาก็จะร่วมชุมนุมคัดค้านพันธมิตรฯ ต่อไปเช่นกัน

“ถ้าเรากลัว บ้านเมืองก็จะวุ่นวายไม่จบสิ้น” สนธยากล่าว

…ทั้งหมดนี้คือสุ้มเสียง “ส่วนหนึ่ง” ในกลุ่มคนจนที่เคยรวมตัวกัน ณ ท้องสนามหลวง

ผ่านมา 76 ปี ประชาธิปไตยของไทยเป็นอย่างที่เห็น ความขัดแย้งกำลังทวีความหนักหน่วง ท่ามกลางกระแสข้อเสนอ “การเมืองใหม่” หรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีนักวิชาการ ราษฎรอาวุโส ผู้มีสถานะทางสังคมหลายคนให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกจากวิกฤติความขัดแย้ง ระบบทุนนิยมสามานย์การเลือกตั้งสกปรก ฯลฯ ทั้งยังพยายามระดมสมองประดิษฐ์ถ้อยคำใหม่ หานิยาม ‘ประชาธิปไตย’ ใหม่ และขบคิดในเนื้อหารายละเอียด

ขณะที่เหล่าคนจนยังคงยึดมั่นและออกมาปกป้องหลักการประชาธิปไตยธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา แบบที่เคยเข้าใจกัน ....

กรกช เพียงใจ
ที่มา : ประชาไท