WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 18, 2008

DSI ชวนคิด ‘ทิ้งลูกให้เกมเลี้ยง เสี่ยงไปหรือไม่!!!’


คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

พิษภัยจากการใช้คอมพิวเตอร์กำลังเป็นปัญหาคุกคามครอบครัวและสังคมอย่างน่าเป็นห่วง ลูกหลานของเราที่กำลังนั่งเล่นเกม ส่งอีเมลติดต่อกับเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ค้นคว้าหาความรู้ หรือแม้แต่ทำรายงาน อยู่ในสายตาของผู้ปกครองทุกวินาทีหรือไม่ เป็นคำถามที่ไม่ยากจะคาดเดาคำตอบและยากที่จะหาทางอุดช่องโหว่ดังกล่าว เพราะทันทีที่ท่านซื้อคอมพิวเตอร์หรือแม้กระทั่งโทรทัศน์ใส่ไว้ในห้องนอนลูกก็ไม่ต่างจากจับยาพิษใส่มือลูกรอวันที่มันจะหันมาทำร้ายคุณและคนในครอบครัว หากท่านไม่มีเวลามากพอที่จะดูแลบุตรหลานของท่านอย่างใกล้ชิด

นายโชค วิศวะโยธิน วิทยากรจากเว็บไซต์กระปุก ดอทคอม กล่าวในการอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครองและเยาวชน รวมทั้งผู้สนใจใน “โครงการอบรมเยาวชนในการสอดส่องและแจ้งเบาะแสการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” หรือ DSI CYBER FORCE ว่า หนทางแก้และป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การเอาใจใส่จากคนในครอบครัวและไม่ตามใจเด็ก การสร้างวินัยและความรับผิดชอบให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก อย่าให้ลูกเล่นเกมมากหรือนานโดยไม่มีขอบเขตและควรมีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา ได้แก่ การพูดจาที่ดีต่อกัน ไม่ดุด่าแต่ควรปรับวิธีสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองและเด็ก การรู้จักชื่นชมและให้กำลังใจ และควรเปิดโอกาสให้เด็กและผู้ปกครองได้กำหนดกติการ่วมกัน

ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับและทำตามกติกามากขึ้น ดีกว่าการบังคับ อีกทั้ง ผู้ปกครองควรปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก เช่น การหาพื้นที่จัดวาง ควรวางไว้กลางบ้านหรือวางไว้ในพื้นที่ผู้ใช้อยู่ในสายตาของคนในครอบครัวได้อย่างชัดเจน และควรเพิ่มและเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ตามความถนัด เด็กจะได้รับการยอมรับและความภาคภูมิใจจากความสำเร็จจากกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งเด็กจะลดเวลาการเล่นเกมหรือ หันออกจากเกมเองด้วยความสมัครใจ

นายโชค กล่าวด้วยว่า แม้ที่ผ่านมา “เกม” จะตกเป็นจำเลยเสมอเมื่อเกิดพฤติการณ์ไม่คาดฝันกับเด็กและเยาวชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้าใจผิดเหมาว่าเกมทั้งหมด เป็นตัวการร้าย โดยตนขอยืนยันว่า เกมไม่ใช่ภัยร้ายเสมอไป หากผู้เล่นหรือผู้ปกครองรู้เท่าทันจะสร้างประโยชน์มายังผู้เล่นอย่างมหาศาล

“เพื่อนของผม เล่นเกมตั้งแต่อนุบาลแต่ทุกอย่างอยู่ในสายตาของพ่อ คอยให้คำแนะนำ กระทั่งเขาสามารถเขียนโปรแกรมบนเครื่องเล่นเกมมือถือได้ ตอนอยู่ ป.4 เขาสามารถประกอบคอมพิวเตอร์ได้ พอ ม.5 เขาได้เข้าร่วมในการแข่งขันโอลิมปิกชิงชนะเลิศด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเขานำความสามารถด้านนี้มาประกอบหน้าที่การงานที่ดี ดังนั้น ผมยืนยันและสนับสนุนให้มีเกมไว้ในบ้าน เพราะเกมที่ดีจะช่วยพัฒนาเซลล์สมองของเด็กทำให้เขาสามารถคิด และได้มองสิ่งรอบตัวได้หลายๆ แง่มุมมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่นเกมที่สร้างสรรค์ เช่นแผนการรบ หรือเกม Puzzle”

สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเล่นเกมในแต่วันนั้น นายโชคแนะนำว่า ไม่ควรเกินวันละ 1.5 ชั่วโมงถือว่ากำลังดี แต่หากเกินกว่า 1.5-3 ชั่วโมงต่อวัน ควรตักเตือนและให้คำแนะนำ หรือชักชวนให้ไปทำกิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว แต่หากเกินกว่าวันละ 3 ชั่วโมง ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญบทบาทของผู้ปกครองควรเล่นกับลูก หรือช่วยเหลือให้คำแนะนำในการเล่น โดยไม่ต่อต้านอย่างตรงไปตรงมา จะทำให้เกิดความไว้วางใจ และทำให้ผู้ปกครองรู้เท่าทันว่าบุตรหลานของตนที่กำลังเล่นเกมอยู่นั้นอยู่ในสถานการณ์ใด

“เคยมีผู้ปกครองท่านหนึ่งเป็นทนาย แม้เขาเองจะไม่มีเวลามากพอที่จะดูแลใกล้ชิดเมื่อลูกของเขาเล่นเกม แต่เมื่อใดก็ตามที่ลูกมาขอเงินเพื่อไปซื้อเกมหรือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเขาจะพูดคุยกับลูกเสมอว่าจะนำเงินไปซื้ออะไร เพื่ออะไร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเล่น หรือเจรจากับเพื่อนๆ ของลูกบนเกมออนไลน์ ทำให้เขารู้ถึงสถานการณ์ของลูกขณะเล่นเกมออนไลน์เสมอ ดังนั้นการอ้างว่าผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานอาจไม่ใช่ข้ออ้างที่ไม่มีทางออกอีกต่อไป” นายโชคกล่าว
ทั้งนี้ นางประภาพร นิลสุวรรณโฆษิต คุณแม่วัยกลางคน ที่เข้ามาอบรมพร้อมกับลูกสาววัยสิบกว่าขวบ เปิดเผยว่า การอบรมครั้งนี้ นอกจากเด็กและเยาวชนรวมถึงผู้ปกครองจะได้ประโยชน์และเข้าใจถึงคุณสมบัติที่ดีและภัยที่แฝงมากับอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวิธีจัดการปัญหา “เด็กติดเกม” ซึ่งทำให้ผู้ปกครองต้องหันมาสนใจปัญหานี้ให้มากขึ้น รวมถึงหนทางแก้ไขซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปใช้ในการอบรมบุตรหลานต่อไปได้ สำหรับลูกสาวแม้ไม่ได้ติดเกม แต่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลทำรายงาน ทำการบ้าน บางครั้งเขาก็จะบอกเราเองว่า เขาเสิร์ช (Search) หาข้อมูลแล้วพบภาพที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาโดยที่เขาเองก็ไม่ได้ตั้งใจ ตนจึงคิดว่าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับครอบครัวและเป็นปัญหาที่เด็กส่วนใหญ่จะพบเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ และก็เป็นที่มาของการเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ นอกจากความรู้เรื่องการรู้เท่าทันเกมแล้ว ยังทำให้เข้าใจและรู้ถึงรูปแบบกลลวงของพวกมิจฉาชีพได้ทัน ระวังและรอบคอบมากยิ่งขึ้นและรู้จักป้องกันภัยต่างๆ ได้

ด้าน นางณฤดี โอวาทวรัญญู จูงหลานชายวัย 7 ขวบ เข้าร่วมรับการอบรมในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เนื่องจากอยากรับทราบความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับภัยของคอมพิวเตอร์เพื่อไปสอนเด็กๆ และในการพาหลานมาครั้งนี้แม้เขาจะไม่ได้ติดเกมแต่ก็อาจอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงเพราะสภาพสังคมในปัจจุบันเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็ต้องเกี่ยวข้องและล้วนต้องใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันแน่นอน การมาครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการให้เขาค่อยๆ รับรู้และซึมซับสิ่งดีๆ และข้อควร หรือไม่ควรปฏิบัติและการระวังภัยจากการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับส่วนตัวแล้วคิดว่าการอบรมในลักษณะให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกับเด็กและเยาวชนเช่นนี้มีไม่บ่อยครั้งนัก ตนอยากให้กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดขึ้นอีกหลายๆ ครั้ง เพราะเท่าที่ตนรับทราบยังมีผู้ปกครองอีกหลายครอบครัวที่ต้องการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้แต่ไม่ได้มาเพราะติดภารกิจ

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กล่าวว่า โครงการ DSI CYBER FORCE จัดขึ้นทุกปี ปีละ 4 ครั้ง ในปีนี้เป็นปีที่ 5 และในเวทีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายแจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต วิธีการเก็บหลักฐานทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแจ้งเบาะแสคนผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

สำหรับผู้ปกครองหรือเด็กและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสไปร่วมอบรมในโครงการดังกล่าว ก็สามารถป้องกันพิษภัยจากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยไม่...ลืมลงโปรแกรมป้องกันไวรัส สปายแวร์ ไม่...เปิดเผย password แก่บุคคลอื่น ไม่...เปิดไฟล์แปลกๆ ซึ่งอาจมีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่...forward โดยใช้ spam mail ไม่...ทำ marketing โดยใช้ spam mail ไม่...ลืมเปลี่ยน password ทุกๆ 3 เดือน ไม่...ควรให้ข้อมูลส่วนตัวแก่เว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่...รอช้า แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อพบการกระทำความผิด ไม่...เชื่อคำชักชวนหรือโฆษณาผ่านทางเน็ตง่ายๆ เพราะอาจถูกหลอกลวง ไม่...รู้จะปรึกษาใครเวลามีปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้...ปรึกษาพ่อแม่ ด่วนนะจ๊ะ

ที่มา : กรมสอบสวนคดีพิเศษ