WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 6, 2008

ซัดพวกวิปริตจ่อดองแก้รธน.50

คปพร. ดักคอ ส.ส.พลังประชาชนบางกลุ่มที่ออกมาเสนอให้ดองร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซัดวิปริตทางความคิด ดูแคลนเสียงประชาชนกว่า 2 แสนคนที่ร่วมกันลงชื่อสนับสนุน ชี้สามารถพิจารณาเรื่อง สสร.3 ควบคู่กันไปได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างหนึ่งอย่างใด “อภิสิทธิ์” ลูกไม้เก่า เรียกร้องลงสัตยาบันตั้ง สสร. ที่เป็นกลางแท้จริง

จากกรณีคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) นำโดย นพ.เหวง โตจิราการ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย นำเสนอวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาเป็นหลัก และร่างแก้ไข รธน.ของ คปพร.ได้รับการบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภาแล้วนั้นปรากฏว่ามี ส.ส.พลังประชาชนบางกลุ่มออกมาสกัดกั้นพร้อมกับแนะให้ดองร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับของ คปพร.โดยไม่ต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณา

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ต.ค. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท หนึ่งในแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวถึงกรณีกระแสข่าว ส.ส. พรรคพลังประชาชน อาจคว่ำร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ... พ.ศ... หรือฉบับคปพร. ในวาระที่ 1 หรือรับหลักการ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า เรื่องดังกล่าวตนมองว่า เป็นความวิปริตทางความคิดของนักการเมืองที่ไม่มีหลักการ เพราะเป็นการกระทำที่ดูแคลนประชาชน และปิดโอกาส เนื่องจากนี่คือเสียงของประชาชนกว่า 2 แสนคนที่ร่วมกันสนับสนุน และเป็นการกระทำตามช่องทางกฎหมายในกรอบรัฐธรรมนูญทุกประการ

ทั้งนี้ กระแสข่าวที่ว่าจะมีการเจรจาเพื่อขอร้องให้มีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับคปพร.นั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลในการพิจารณาร่างกฎหมาย รวมทั้งการกระทำดังกล่าวจะเป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมศักดิ์ศรีของรัฐสภาไทย ที่มีการพิจารณากฎหมายตามคำขอร้องของผู้อื่น ซึ่งหลักการแล้วรัฐสภาต้องวิเคราะห์ว่าประชาชนทำการเสนอร่างรัฐธรรมนูญเพราะเหตุผลอะไรและจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่

ดังนั้นจึงอยากฝากถึงส.ส.ทุกพรรคการเมืองว่า การเป็นสมาชิกรัฐสภาไม่ได้หมายความว่าคุณจะลงมติรับหรือไม่รับกฎหมายใดตามคำขอร้องของผู้อื่น แต่ควรจะตั้งมั่นอยู่บนผลประโยชน์สุขของประชาชน

“การพิจารณาร่างกฎหมายใดๆ ถ้าพิจาณาแบบตามคำขอร้องของคนอื่น เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลมาก เรื่องการล็อบบี้เป็นเรื่องที่น่าขำ และเป็นการกระทำที่วิปริตของ ส.ส. ที่มีความรู้สูง ถ้ารัฐสภาพิจารณาแบบตามคำขอร้องก็เท่ากับว่าหมดศักดิ์ศรี หมดเจตจำนงในความเป็นประชาธิปไตย นี่เป็นเรื่องที่น่าละอาย ส.ส.บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าร่างคปพร.มีรูปแบบอย่างไร แต่ก็จะคว่ำกันเสียแล้ว ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นไปตามวาระการประชุม ตามหลักการ นี่แสดงว่าคุณไม่เปิดโอกาส คุณดูแคลนประชาชนที่เลือกมา เป็นนักการเมืองที่ขาดหลักการและวิปริตทางความคิด”

นายวิภูแถลง กล่าวว่า ข้อกล่าวอ้างของ ส.ส.บางกลุ่มที่ระบุว่ารัฐบาลจะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3) จึงไม่จำเป็นต้องมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับคปพร.นั้น แม้โดยส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยต่อการตั้งสสร.เพราะจะทำให้เสียเวลา แต่อย่างไรก็ดี การดำเนินการตั้งสสร. และการประชุมพิจารณารับหรือไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว สามารถพิจาณาควบคู่กันไปได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างหนึ่งอย่างใด

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในการเจรจาร่วม 4 ฝ่าย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงรูปแบบของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขที่เสนอโดยนพ.เหวง โตจิราการ และคณะ กำลังอยู่ระหว่างเสนอสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร จึงห่วงว่าหากรัฐบาลสนับสนุนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดลงคะแนนผ่านร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะทำให้ข้อเสนอตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญล้มไป และเกิดความขัดแย้งในสังคมขึ้นได้

ทั้งนี้ เนื่องจากมีบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มคดีของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จึงขอให้รัฐบาลดูแลไม่ให้เกิดความปั่นป่วน และให้กระบวนการทางกฎหมายเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันตัดสินว่า จะเลือกบ้านเมืองหรือประโยชน์ของคนเพียงคนเดียว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า อยากให้ทุกพรรคการเมืองร่วมลงนามเพื่อให้ความมั่นใจ ในการสร้างสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง โดยยืนยันที่ผ่านมาพร้อมให้ความร่วมมือกับ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพราะเห็นว่าเป็นผู้ใหญ่ แต่หากพบการเจราจามีอะไรแอบแฝง และรัฐบาลสามารถวางตัวสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ ก็จะถอนความร่วมมือและไม่ร่วมลงนามด้วย