WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 3, 2009

“สุเมธ” เปิดใจงานอำลาตำแหน่ง

ที่มา ไทยรัฐ

วันที่ 2 มี.ค.2552 ที่สำนักงาน กกต. นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวเปิดใจในงาน “กกต.พบสื่อมวลชน 899 วันบนเส้นทางการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อชาติ” เป็นการอำลาการพ้นวาระของนายสุเมธในวันที่ 8 มี.ค. เพราะมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 232 วรรคสามว่า ตั้งแต่วันนี้จะไม่เข้าร่วมประชุม กกต. จะได้ไม่ต้องเซ็นคำวินิจฉัยหลัง จากสัปดาห์นี้ ทั้งนี้อยากให้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทนมาจากสายรัฐศาสตร์ เพื่อมาช่วยกันพัฒนาและจัดรูปแบบ องค์กร เนื่องจากตอนนี้ที่มีอยู่เป็นนักกฎหมาย ผู้พิพากษา อัยการ ซึ่งไม่ถนัดงานบริหารงาน ทำให้การจัดงานฝ่ายบุคคลล่าช้า ส่วนการเมืองหลังจากนี้น่าจะดีขึ้น ดวงเมือง น่าจะดีขึ้น วิกฤติต่างๆน่าจะหายไป ทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบ ไม่ว่าจะรักสีอะไรก็อยากให้บ้านเมืองสงบกันทั้งนั้น

รับ กกต.เป็นของปลอม

นายสุเมธกล่าวว่า ขณะนี้อาจมีปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อตนพ้นจากตำแหน่งแล้ว ใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่สรรหา กกต. เพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 231 ระบุถึง การสรรหา กกต.มี 2 ส่วน คือ มาจากส่วนของคณะกรรมการสรรหาจำนวน 3 คน และส่วนของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวน 2 คน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภารับรอง แต่เมื่อครั้งที่มีการแต่งตั้งให้ตนเป็น กกต.ในขณะนั้น เป็นช่วงที่ คมช.ออกประกาศแต่งตั้งเมื่อปี 2549 ทำให้ ไม่สามารถระบุได้ว่า ตนจะมาจากส่วนใดที่รัฐธรรมนูญกำหนด และใครจะเป็นผู้คัดเลือกคนมาแทนหากพ้นจากตำแหน่งไป และหากจะใช้มาตรา 7 ที่บอกว่า ถ้าไม่มีบทบัญญัติใดให้ดำเนินการตามประเพณี แต่เรื่องนี้ก็ไม่ เคยมีประเพณีมาก่อน เพราะเรามี กกต.ตามรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2540 จะมองเป็นประเพณีได้หรือไม่ เรื่องนี้ถึงที่สุดแล้วอาจต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ “ผมยอมรับว่า กกต.ชุดนี้เป็นของปลอม เพราะถูกตั้งโดย คมช. ไม่ได้ถูกตั้งมาตามรัฐธรรมนูญ หรือได้รับการโปรดเกล้าฯ เรื่องนี้ไม่ขอโต้เถียงใครที่กล่าวหา แต่ผมเห็นว่า แม้ไม่ ได้มาตามรัฐธรรมนูญแต่กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ทำได้”

แนะลดบทบาทตุลาการภิวัตน์

ต่อข้อถามว่า ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวน-การตุลาการภิวัตน์ มองอนาคตของตุลาการภิวัตน์อย่างไร นายสุเมธตอบว่า เรื่องนี้พูดยาก แต่หากบ้านเมืองเรียบร้อยอยากเห็นตุลาการกลับเข้ากรมกอง ชีวิตการเป็นศาลกับ การอยู่ข้างนอกไม่เหมือนกัน หากออกมามากๆกลัวจะเหลิง เพราะการเมืองต้องเจอหลายประเภท การที่ศาลจะกลับได้ต้องอยู่ที่การแก้รัฐธรรมนูญ ถ้าจะแก้ต้องให้ บ้านเมืองสงบ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะเหมาะกับสถานการณ์ในขณะนั้น รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็เหมาะกับการแก้ปัญหาช่วงนั้น หรือมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค เมื่อมาถึงตอนนี้ต้องดูว่าสมควรหรือไม่ เช่น ผู้จัดการทำผิดจำเป็นต้องยุบบริษัทเลยหรือ การให้ยาแรงอาจจำเป็นในเวลานั้น แต่ตอนนี้ที่ไข้ยังไม่มาก ให้ยาแรงมากไปเดี๋ยวจะตายกันหมด.