WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 7, 2009

ถีบหัวส่ง

ที่มา ข่าวสด

เหล็กใน




ถูกตีกลับตามคาดนโยบายช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่กระทรวงอุตสาหกรรมนำเสนอเข้าพิจารณาในครม.เศรษฐกิจ

หลักๆ ที่ค่ายรถยนต์ร้องขอความช่วยเหลือคือลดภาษี 3% นำเงินค่าดาวน์รถไปหักภาษีปลายปีจำนวน 50,000 บาท ข้ออื่นๆ เป็นเรื่องปลีกย่อย

แม้จะไม่ปิดทาง 100% เพราะครม.ให้ไปพิจารณามาใหม่ แต่ดูรูปการณ์แล้วคงยากที่ได้รับการช่วยเหลือ

เพราะท่าทีของคนในรัฐบาลส่วนหนึ่งมองเพียงว่าคนที่ได้ประโยชน์คือค่ายรถเท่านั้น

แม้ทางหนึ่งจักเข้าใจถึงสถานการณ์งบประมาณ ที่รัฐบาลกำลังเผชิญทำให้ต้องปัดความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งเกรงว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ อาจจะเรียกร้องแบบนี้บ้าง

อันจะกระทบถึงรายได้ภาษีที่รัฐต้องสูญเสียไป

แต่อีกทางที่ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องตระหนักให้มากก็คือ อุตสาหกรรมนี้ใหญ่โตมากไม่ว่าจะเป็นในเมืองไทย หรือในระดับโลก

มีธุรกิจอื่นๆ เกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะเมืองไทยที่มีมาตรการให้ค่ายรถยนต์ใช้วัตถุดิบผลิตในเมืองไทยเป็นส่วนใหญ่

จึงไม่สามารถมองตัดตอนง่ายๆ ว่าหากช่วยเหลือแล้วค่ายรถจะได้ประโยชน์เพียงถ่ายเดียว

แม้ค่ายรถทั้งหมดจะเป็นของต่างชาติ แต่มีคนไทยไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง ทั้งทางตรง และทางอ้อมจำนวนมาก

ค่ายรถนั้นกระทบแน่กับยอดขายที่ตกลง แต่ด้วยสายป่านที่ยาวกว่า ย่อมสามารถยืนระยะได้

แต่ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนส่งป้อนโรงงาน ที่ส่วนใหญ่เป็นของคนไทย จะทนได้ขนาดไหนยังน่าสงสัยอยู่!??

เพราะแค่ช่วงแรกยังปรับลดคนงานแทบจะรายวัน ยิ่งเมื่อรัฐเมินให้ความช่วยเหลือ เชื่อว่าการปลดคนงานจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

ประเมินว่าในช่วงแรกนี้น่าจะมีบุคลากรไม่ต่ำกว่า 50,000 คนตกงาน นี่ยังไม่นับพวกที่รายได้หดเพราะไม่มีการทำงานล่วงเวลา

ขอโทษ...นี่นับเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แล้วไหนจะกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่องหรือทางอ้อม อาทิ อุปกรณ์ตกแต่ง เครื่องเสียง ฟิล์มติดรถยนต์ ฯลฯ

บุคลากรในส่วนนี้ย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน

หากคิดตัวเลขรวมกันทั้งหมดแล้ว น่าจะระดับแสนคนขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทยตกต่ำ

แม้รัฐจะไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ก็น่าจะมีมาตรการอื่นๆ ประคับประคองเอาไว้บ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมแบบนี้

เพราะในช่วงเฟื่องฟูกลุ่มยานยนต์ก็สร้างผลประโยชน์ให้เมืองไทยไม่น้อย ไม่ว่าจะในรูปภาษี การลงทุนระดับหมื่นๆ ล้าน การจ้างงาน และตัวเลขการส่งออก

ถึงขนาดที่รัฐบาลในอดีตเคยประกาศจะให้เมืองไทยเป็น "ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย" วาดฝันว่าจะเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่เพื่อการส่งออก

แต่เมื่อธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบกลับถีบหัวส่งอย่างไม่ไยดี เพราะมองเพียงว่าค่ายรถเป็นของต่างชาติ

เป็นการมองที่แคบ และสั้นเกินไปหรือไม่!??