WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 4, 2009

ไม่ไว้ใจกันเอง

ที่มา ไทยรัฐ

หลังปลาบปลื้มผลสำเร็จมหกรรมอาเซียนซัมมิต จนหัวใจคับซี่โครง ก็ถึงเวลาที่ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องรวบรวมสมาธิ สติปัญญาเดินหน้าแก้ปัญหาของประเทศให้สุดลิ่มทิ่มประตู

หนักที่สุดของที่สุด ก็คือวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ส่อเค้าว่าจะเป็นหนังชีวิตเรื่องยาว!!

ถ้ารัฐบาลเอาไม่อยู่ หรือแก้ปัญหาไม่ ถูกจุด จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง

วิกฤติเศรษฐกิจจึงเป็นด่านโหดที่ อภิสิทธิ์ จะต้องฝ่าฟัน

รัฐบาลจะอายุสั้น? หรืออายุยืน? ตัดสินที่ผลงานแก้วิกฤติเศรษฐกิจสถานเดียว!!

สำหรับวิกฤติการเมืองดูเหมือนจะหนัก...

แต่จริงๆก็ไม่หนักเกินรัฐบาลจะรับมือ

แม่ลูกจันทร์ เชื่อว่ารัฐบาลยังเอา ตัวรอดได้สบายๆ

หนักที่สุดก็แค่ปรับ ครม. เพื่อลดกระแส กดดัน??

เนื่องจากฝ่ายค้านยังไม่มีพลังมากพอ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

การที่ฝ่ายค้านรีบร้อนยื่นญัตติอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐบาลเร็วเกินไป ก็ไม่ได้เป็นผลดี

เพราะรัฐบาลนี้เพิ่งเริ่มทำงานแค่ 2 เดือน การทำงานยังไม่เกิดความเสียหาย หรือเกิดผิดพลาดอย่างชัดเจน

การทุจริตถอนทุน ถึงแม้มีกลิ่นตุๆ บ้าง แต่ก็ยังไม่มีใบเสร็จมายืนยัน

พูดชัดๆคือ เงื่อนไขการเมืองยังไม่สุกงอม

ข้อสำคัญ กระแสสังคมส่วนใหญ่ยังให้โอกาสนายกฯอภิสิทธิ์ได้พิสูจน์ฝีมือเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานแก้ ปัญหาของประชาชน

หากเปลี่ยนรัฐบาล ก็จะทำให้การแก้ ปัญหาต่างๆต้องสะดุดหยุดชะงักไปอีก 3-4 เดือน

สรุปว่าปัจจัยต่างๆ ยังเกื้อหนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้เปิดหวอต่อไป

แต่การที่กติการัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จึงเป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายค้านทำได้ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ถ้าฝ่ายค้านไม่เปิดอภิปรายซักฟอกรัฐบาลในสมัยประชุมนี้ ก็ต้องรอไปอีกนาน เพราะในสมัยประชุมสภาฯหน้า (เดือนพฤษ-ภาคม) รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาฯพิจารณาร่างกฎหมายอย่างเดียว

ถ้าข้อมูลที่ฝ่ายค้านอภิปรายซักฟอกรัฐบาลมีนํ้าหนัก ฝ่ายค้านก็ได้เครดิตไป

แต่ถ้าข้อมูลของฝ่ายค้านไม่มีนํ้า อิ๊ว ฝ่ายค้านก็เสียรังวัดเอง

ส่วนการที่ฝ่ายค้านจะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไม่ใช่เป็นสาระสำคัญ

เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจตัดสินกันที่ผลโหวตในสภาฯ

รัฐบาลมี ส.ส.มากกว่า รัฐบาลก็ชนะ แบเบอร์

แม่ลูกจันทร์ เห็นว่าการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน กลุ่ม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พรรคประชาราชของ เสนาะ เทียนทอง และพรรคราษฎร ของ ส.ส.กลุ่มวาดะห์ ประกาศจะไม่ร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจกับพรรคเพื่อไทย

เท่ากับพรรคเพื่อไทยถูกโดดเดี่ยวให้ลุยถั่วไปพรรคเดียว!!

เมื่อพรรคฝ่ายค้านไม่เป็นเอกภาพ นํ้าหนักการตรวจสอบรัฐบาลก็เบาลง

ถ้ามองอีกมุม แทนที่ฝ่ายค้านจะไม่ไว้วางใจรัฐบาล กลายเป็นฝ่ายค้านไม่ไว้วางใจกันเอง

แม้แต่พรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส.ในสังกัด 183 คน ก็มี ส.ส.หลายคนที่ตัวสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ใจย้ายไปสังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน

ฉะนั้น เมื่อถึงเวลาต้องโหวตไม่ไว้ วางใจรัฐบาล จะมี ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนโหวตสวนมติพรรคตัวเอง

เมื่อฝ่ายค้านไม่ไว้ใจกันเอง รัฐบาลก็สบายแฮ.

แม่ลูกจันทร์