WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 12, 2009

บทเรียนจากการเมืองในยุโรปปี 2009

ที่มา Thai E-News



โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
12 มิถุนายน 2552

ประเด็นสำคัญอีกอันหนึ่งที่เข้ามามีอิทธิพลกับสภาพการเมืองในปี 2009 คือวิกฤตเศรษฐกิจโลก รัฐต่างๆ นำเงินภาษีจำนวนมากมาอุ้มบริษัทและธนาคาร แต่คนธรรมดาตกงานจำนวนมาก และที่เหลือถูกลดค่าจ้างสวัสดิการ สภาพเช่นนี้ทำให้คนงานจำนวนมากผิดหวังกับมาตรการของพรรคแรงงานในอังกฤษ หรือนโยบายของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรปที่หันหลังกับปัญหาคนจน


พรรคแรงงานอังกฤษอยู่ในขั้นตอนวิกฤตเพราะคะแนนเสียงลดลงเป็นประวัติศาสตร์ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยฝรั่งเศส(PS) และเยอรมัน(SPD)เสียคะแนน และพรรคฟาสซิสต์เพิ่มคะแนนเสียงและที่นั่งในสภายุโรปอย่างน่ากลัว เช่นในประเทศ ฮังการี่ เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ…. ปรากฏการณ์นี้มีบทเรียนอะไรสำหรับนักสังคมนิยมไทย และคนเสื้อแดง?

ถ้าเราจะเข้าใจชัดขึ้น เราต้องย้อนกลับไปดูสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อ 13 ก่อน เพราะมันเป็นช่วงที่ โธนี่ บแลร์ (Tony Blair) ขึ้นมานำพรรคแรงงานอังกฤษ (Labour) และแปรรูปพรรคเป็น “พรรคแรงงานใหม่” (New Labour) ภายใต้แนวความคิดเสรีนิยมกลไกตลาด (Neo-liberalism) ซึ่งเป็นการรับแนวคิดของฝ่ายนายทุนมาเต็มๆ มีการสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) มีการประกาศว่ารัฐไม่ควรเข้ามากำหนดนโยบายเศรษฐกิจ มีการพยายามลดสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน และมีการพยายามแยกพรรคออกจากสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งพรรคแรงงานแต่แรก ขณะเดียวกันมีการเปลี่ยนลักษณะส.ส.พรรค จากผู้แทนของคนจนและแรงงาน ไปเป็นนักการเมือง “มืออาชีพ” ที่มาจากชนชั้นกลาง ส.ส.ที่เคยเป็นผู้นำแรงงานเปลี่ยนไปเป็นส.ส.ที่เป็นทนายหรือนักธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพรรคแรงงานอังกฤษ เกิดขึ้นกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยฝรั่งเศสและเยอรมันด้วย เพราะพรรคเหล่านี้มองว่ายุคแห่งสังคมนิยมหมดไปแล้ว และเขาเสนอว่าเราต้องยอมรับว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากแนวกลไกตลาดเสรี บางครั้งการเปลี่ยนจุดยืนนี้ทำไปภายใต้การโกหกสร้างภาพว่าเขากำลังเดินหน้าไปสู่ “แนวทางที่สาม” (Third Way) ที่ไม่ใช่ทุนนิยมและสังคมนิยม แต่จริงๆ แล้วเป็นการรับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดมาเต็มๆ

ในไทย พรรคมหาชน ของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ก็ชื่นชม “แนวทางที่สาม” ดังกล่าว และองค์กร เอ็นจีโอ รับแนวเสรีนิยมมาโดยไม่ตั้งคำถามเลย เช่นการเสนอว่ารัฐไม่ควรให้สวัสดิการประชาชนแทนชุมชน การยอมรับกลไกตลาดในระบบสาธารณสุขและระบบสวัสดิการ หรือการเชิดชูการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ “เพื่อเพิ่มการแข่งขัน” เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เอ็นจีโอ ยังมีการคัดค้านการค้าเสรีในภาคเกษตรและในเรื่องยารักษาโรค ส่วนพรรคไทยรักไทย ก็ผสมผสานแนวกลไกตลาดเสรีกับแนวที่ใช้รัฐพัฒนาสังคมตามแนว “คู่ขนาน” (Dual Track) คือรัฐเพิ่มบทบาทในระบบสุขภาพอนามัย แต่เป็นระบบที่มีตลาดภายใน และรัฐบาลสนับสนุนการค้าเสรีและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ในภาพรวมกระแสหลักในไทยมองว่า “รัฐสวัสดิการ” และการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวยในรูปแบบต่างๆ “หมดยุคหรือทำไม่ได้” ต่อมาหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา รัฐเผด็จการ อำมาตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งใช้แนวกลไกตลาดเสรีมากขึ้นภายใต้เสื้อคลุมของเศรษฐกิจพอเพียง มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทหารปี๕๐อีกด้วย

ผลของการหักหลังฐานเสียงเดิมของพรรคแรงงานหรือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรป ซึ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่และสวัสดดิการต่างๆ ของคนจนและคนทำงานแย่ลง ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพอันเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม หมดกำลังใจที่จะลงคะแนนเสียงให้พรรคเหล่านี้ มีคนจำนวนมากนั่งเฉยไม่ออกมาลงคะแนน ซึ่งเปิดโอกาสให้พรรคนายทุนเข้ามาตั้งรัฐบาล เช่นในฝรั่งเศส อิตาลี่ และเยอรมัน (และอังกฤษในอนาคต?)

ในกรณีอังกฤษ มีปัญหาสุดขั้วอีกอันหนึ่งคือ การสร้างพรรคแรงงานใหม่ภายใต้นักการเมืองมืออาชีพ ที่ไม่ใช่ผู้แทนของคนรากหญ้า ทำให้เกิดวัฒนธรรมโกงกินผ่านการเบิกค่าใช้จ่ายหรือเบี้ยเลี้ยงของ ส.ส. ในระดับที่เหลือเชื่อ การเบิกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ถือว่าถูกกฎหมาย และเป็นวัฒนธรรมปกติของพวกผู้ใหญ่ทั่วโลก รวมถึงไทยด้วย แต่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าผิดศีลธรรม และคนที่เคยสนับสนุนพรรคแรงงานก็มองว่าพรรคนี้น่าจะต่างจากพรรคอื่นในเรื่องนี้ แต่ต้องผิดหวังไป

ประเด็นสำคัญอีกอันหนึ่งที่เข้ามามีอิทธิพลกับสภาพการเมืองในปี 2009 คือวิกฤตเศรษฐกิจโลก รัฐต่างๆ นำเงินภาษีจำนวนมากมาอุ้มบริษัทและธนาคาร แต่คนธรรมดาตกงานจำนวนมาก และที่เหลือถูกลดค่าจ้างสวัสดิการ สภาพเช่นนี้ทำให้คนงานจำนวนมากผิดหวังกับมาตรการของพรรคแรงงานในอังกฤษ หรือนโยบายของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรปที่หันหลังกับปัญหาคนจน

ใน
สถานการณ์แบบนี้ คนจนส่วนใหญ่มีสามทางเลือกคือ

1. คนจนหันมาสนับสนุนพรรคซ้าย พรรคคอมมิวนิสต์ หรือพรรคมาร์คซิสต์ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤต เราเห็นการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ในญี่ปุ่น และการก่อตั้งพรรคซ้ายใหม่ Die Linke ในเยอรมัน และ NPA ในฝรั่งเศส แต่ถ้าพรรคแบบนี้ไม่มีหรืออ่อนแอ อย่างเช่นในอังกฤษหรืออิตาลี่ ประชาชนจะไม่มีทางเลือกอันนี้ (Die Linke ได้7.5% NPA กับพรรคซ้ายอื่นได้ 6.1% ในการเลือกตั้งยุโรป)

2. คนจนหันมาสนับสนุนพรรคฝ่ายขวาสุดขั้ว หรือพรรคฟาสซิสต์ โดยหลงเชื่อว่าทางออกคือการโจมตีคนผิวดำ คนมุสลิม หรือคนยิบซี รวมถึงการขับไล่คนงานต่างชาติออกจากประเทศด้วย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในฮังการี่ เนเธอร์แลนด์ และเกิดบ้างในอังกฤษ แต่เป็นการหลงผิดจับมือกับนายทุนผ่านการสร้างความแตกแยก

3. คนจนหดหู่ หมดกำลังใจและความหวัง และนั่งเฉยอยู่บ้าน อาจหันไประบายปัญหาโดยใช้ความรุนแรงกับคนรอบข้าง หรือใช้สุราและยาเสพติด

สำหรับไทย

มันแปลว่าพรรคแดงเป็นสิ่งที่เราต้องสร้าง และนักสังคมนิยมต้องต่อสู้เพื่อประโยชน์คนจนอย่างชัดเจน ไม่ใช่ไปรับแนวคิดเสรีนิยมกลไกตลาดหรือเศรษฐกิจพอเพียงมา เราต้องเป็นปากเสียงและผู้แทนของคนที่เสียเปรียบในสังคมทุกประเภท เราต้องมีข้อเสนอและนโยบายที่พัฒนานโยบายเดิมของ ไทยรักไทย ให้ไปไกลกว่าปัจจุบัน เราต้องเสนอรัฐสวัสดิการ และต้องเรียกร้องให้เก็บภาษีจากคนรวย เราต้องกลับไปทบทวนนโยบายที่มีปัญหาในอดีตของ ไทยรักไทย เช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการเซ็นสัญญาค้าเสรี เราต้องไม่แค่ประกาศว่า “ยังคงรักษานโยบายประชานิยม” อย่างที่พรรคภูมิใจไทย หรือพรรคเพื่อไทยประกาศ (ในกรณีภูมิใจไทย มันโกหก) และเราต้องวิจารณ์การที่รัฐบาลปล่อยให้คนตกงานและยากลำบาก

ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ พวกฟาสซิสต์ฝ่ายขวา (พันธมิตรและพรรคใหม่) หรือพวกอำมาตย์ จะฉวยโอกาสในการขยายความน่าเชื่อถือของเขาท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง