WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 8, 2009

ภัยเงียบรูมาตอยด์ คนไทยป่วย 2 ในพัน

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_11281

ธีระวัฒน์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์...ถือเป็นเพชฌฆาตเงียบที่ทรมานผู้ป่วยอีกโรคหนึ่ง

หลายคนเคยได้ยินชื่อโรครูมาตอยด์บ้างแล้ว ก็ให้รู้ไว้อีกว่า...โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก

เยื่อบุข้อที่ว่านี้ จะลุกลาม...ทำลายกระดูกและข้อในที่สุด

ประเด็นสำคัญ โรคนี้ไม่ได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น อาจมีอาการทางระบบอื่นๆอีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ

คำถามมีว่า...ผู้ที่มีอาการข้ออักเสบเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นโรครูมาตอยด์ หรือไม่?

โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด แต่จะมีกลุ่มโรคข้ออักเสบเรื้อรังอื่นๆ อีกมากที่เลียนแบบโรครูมาตอยด์ได้ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เนื่องจากการรักษาจะแตกต่างกันออกไป

พญ.รัตนวดี ณ นคร นายกสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรครูมาตอยด์บอกว่า แม้ว่าวันนี้...สถานการณ์โรครูมาตอยด์ในประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการ แต่ประมาณการจากการสำรวจขั้นพื้นฐานพบว่า...ทุกๆ 1,000 คน จะมีผู้เป็นโรครูมาตอยด์ประมาณ 2-3 คน

พอจะคาดการณ์ได้ว่า ผู้ป่วยรูมาตอยด์ทั้งประเทศน่าจะอยู่ที่ 200,000 คน

"ช่วงอายุที่เป็นมากที่สุดคือ 30-40 ปี และจะเป็นในเพศหญิงถึงร้อยละ 80-90 เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนสำคัญ"

คุณหมอรัตนวดี บอกว่า สาเหตุของโรคที่แท้จริง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีส่วนเกี่ยวกับการติดเชื้อบางอย่าง และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

ณ วันนี้...เทียบกับปริมาณหมอในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญโรคนี้มีอยู่ ประมาณ 100 คน ส่วนสมาชิกของสมาคมมีอยู่ประมาณ 200 คน

แนวโน้มในประเทศไทย โรครูมาตอยด์มีเพิ่มมากขึ้นเพราะคนรู้จักมากขึ้น ขณะที่ในอดีตที่ผ่านมา มักจะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ เพราะส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับข้อหรือกระดูก

"รูมาตอยด์หากรักษาตั้งแต่เริ่มต้นหรือระยะแรกๆ จะสามารถรักษา...ควบคุมได้ถึงร้อยละ 60-85

แต่ส่วนใหญ่มักจะรู้หลังจากเป็นไปมากแล้ว ทำให้โอกาสหายขาด มีไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์"

ความน่ากลัว...เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์

เมื่อเยื่อบุข้อจะมีการเจริญงอกงาม มีการหนาตัว ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า

เมื่อมีอาการชัดเจน ข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด

โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่พบบ่อยคือ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า

อาการข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้...บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วยได้...ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัว

บรรยากาศงานสัมมนา "อยู่อย่างเป็นสุขกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์" ทางเลือกใหม่ชีวิตที่ดีขึ้น ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 12 โรงพยาบาลราชวิถี โดยความร่วมมือ 4 ภาคส่วน...คนไข้ สมาคมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์, หมอเฉพาะทางสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข, บริษัทไวเอท ประเทศไทย จำกัด

ไพบูลย์ เอี่ยมแสงชัยรัตน์ ประธานชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ บอกว่า งานสัมมนาครั้งนี้เป็นการตอกย้ำว่าภาครัฐให้ความใส่ใจกับผู้ป่วยรูมาตอยด์ เป็นอย่างดี

"ปกติเรามักจะเห็นว่าผู้ป่วยกับคนไข้ในช่วงหลังมักจะมีปัญหากระทบ กระทั่งกัน หรือภาครัฐกับเอกชนมักมีมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้ในหลายเรื่อง... หาข้อสรุปได้ยาก"

วันนี้...ชมรมฯเป็นศูนย์กลางให้กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งรวมไปถึงคุณหมอที่ดูแลโรคนี้ เพื่อให้รับทราบว่าผู้ป่วยและญาติต้องดูแลตนเองอย่างไร

"โรครูมาตอยด์อาจจะไม่ถึงตาย...แต่ทรมาน บางครั้งเป็นลักษณะโรคสำออย คนที่ไม่เข้าใจจะไม่ทราบ"

ไพบูลย์ ทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ จะเป็นความหวังของผู้ป่วยอีกหลายๆโรค ทำให้มีกำลังใจ...มีความหวัง

รูมาตอยด์...เป็นโรคหนึ่งในสารพัดโรคที่รุมเร้าคนไทยให้เจ็บป่วย ศาสตรา- จารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา www.cueid.org บอกว่า ช่วงเวลา ที่ผ่านมา...ฟังข่าวเรื่องเงินหมดประเทศ ก็ต้องมองไปถึงงบการรักษาดูแลผู้เจ็บป่วยจะเดินไปในทิศทางใด

"ปัจจุบันเรามีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่เคยเรียกว่า 30 บาท... รักษาทุกโรคซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องยอมรับความจริงว่า...เมื่อเกิดโรคจากอวัยวะเสื่อมโทรมมีอาการเจ็บป่วยแล้ว ตัวโรคจะดำเนินด้วยตัวของมันเองไปเรื่อยๆ"

การรักษาจะเพียงเพื่อชะลอโรคให้ช้าลง ผ่อนหนักเป็นเบาหรือเพียงแค่ บรรเทาอาการให้ดีขึ้น เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า การที่ประเทศไทยมีศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์ล้างไต ทั่วทุกหัวระแหง ไม่ได้บ่งบอกว่าประเทศไทยเจริญก้าวหน้า แต่กลับสะท้อนให้เห็นภาพจริงว่าการเอาใจใส่ดูแลตนเองของประชาชนเสื่อมลง

"เห็นว่า...เมื่อเป็นโรคก็ไปรักษาได้ ซึ่งตายก็ได้...ถ้าโรคหนักมาก และถึงรอดก็ไม่เหมือนเดิม"

ประเด็นสำคัญ...ระดับนโยบายเน้นแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในทัศนะคุณหมอธีระวัฒน์ น่าจะมีผลพลอยได้ในการหาเสียงอยู่ด้วย

"ความเอาใจใส่ตัวเองของประชาชนขณะนี้ย่อหย่อนไป...เป็นผลพวงจากความชะล่าใจว่ารักษาไม่เสียสตางค์มาก เพราะรัฐบาลจ่าย"

ยุคนี้ที่สำคัญอีกอย่าง คือ แรงโฆษณาสินค้าเร่งทำให้สุขภาพเสื่อม ซึ่งบริโภคกันมาจนเป็นประจำนิสัย

ที่เห็นได้ชัด คือ เครื่องดื่มน้ำอัดลมไม่ว่าจะเป็นน้ำดำ เหลือง เขียว แดง ตามสีเครื่องดื่ม กระทั่งชาต่างๆ ซึ่งบอกว่าไม่มีน้ำตาลทั้งที่ความจริงมี

"น้ำตาลที่ว่านี้...ไม่อยู่ในรูปของกลูโคส ทว่าอัดปริมาณน้ำตาลความหวานมหาศาลซึ่งปัจจุบันนี้มีการตื่นตัวกันทั่วโลก"

แม้แต่ประเทศต้นตอน้ำดำ น้ำอัดลม เช่น สหรัฐฯ กำลังจะมีมาตรการเก็บภาษีน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเหล่านี้ เนื่องจากเป็นตัวการของโรคอ้วน

ความอ้วนลงพุงก็เป็นบ่อเกิดของการสะสมไขมันในที่ต่างๆ รวมทั้งไขมันสีน้ำตาล (Brown adipose tissue) และในที่สุดก็เกิดโรคได้ในทุกระบบเส้นเลือด ทั้งตีบ แตก ความดันสูง ซึ่งเป็นต้นตอของโรคไตและการแบกน้ำหนักเกิน

พ่วงไปด้วยปัญหาโรคข้อ เข่า สะโพก ข้อกระดูกสันหลังไปกดเบียดเส้นประสาท ต้องมีการผ่าตัดข้อ กระดูก ผ่าตัดเส้นประสาทตามมา

ความป่วยไข้ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้เกิดการสร้างระบบเศรษฐกิจการแพทย์ ครบวงจรของโรงพยาบาล ตั้งแต่ผ่าแบบเจาะรูเล็กๆ...ผ่าตัดแบบใหญ่แบบเล็ก

ทางออก...เมื่อเกิดมีโรคขึ้นแล้ว รัฐบาลต้องเคร่งครัดผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข จัดยาเหมาะสมที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้โรคลุกลามจนต้องเข้าโรงพยาบาล

"สถานพยาบาลหลายแห่งพยายามประหยัดเงินที่ได้รับจากรัฐบาลในโครงการประกันสุขภาพ...ยาหัวใจ ความดัน เบาหวาน พร่องไปบ้าง...ต่ำกว่ามาตรฐานไปบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนการรักษาสุดฝีมือ สุดชีวิต..."

คติประจำใจ คือ คนไข้คนป่วยทั้งหมด โรคต้องควบคุมได้และไม่เลวร้ายจนถึงกับนอนโรงพยาบาล

เมื่อเข้าโรงพยาบาล ใครบ้างมีความสุข คนไข้หรือ? ญาติหรือ?...ต้องเสีย เวลา เสียเงินบ้าง ไม่มากก็น้อย อมทุกข์เมื่อไหร่จะกลับบ้าน

"หมอ พยาบาลมีความสุขไหม ที่คนไข้แออัดในตึกผู้ป่วย อาการรุนแรงร่อแร่ คงมีแต่โรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่ชอบให้มีคนนอนโรงพยาบาลเยอะๆ เพราะนอกจากได้เงินค่าห้อง...แบบนอนโรงแรม ยังได้เงินจากการส่งตรวจวินิจฉัย จิปาถะ"

โรงพยาบาลฯ ขยายสาขาได้นับ 10 แห่ง...จริงอยู่ที่ว่า การมีโรงพยาบาลระดับมาตรฐานเป็นร้อย รองรับผู้ป่วยต่างประเทศได้...เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ

แต่อีกมุมหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่า...รัฐไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะหยุดโรคที่กระหน่ำซ้ำเติมประชาชนคนไทยได้.