ที่มา ประชาไท
๑
“แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 4 ปีแล้ว แต่คดีฆาตกรรมพระสุพจน์ สุวโจซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)
๒
“...ตราบใดที่ภาคประชาสังคม หรือการเมืองภาคประชาชนยังไม่เข้มแข็ง หรือยังขาดจุดยืนที่ถูกต้อง รัฐและอำนาจรัฐ หรือคนของรัฐ ก็ยังมีช่องทาง หรือมีความกล้า ที่จะกระทำย่ำยีต่อผู้ที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะเห็นต่างจากจุดยืนของรัฐ ในนามของความมั่นคง
๓
“...ถ้ารัฐบาลไม่ทำอย่างที่ควรทำ
พระสุพจน์ สุวโจ คงจำกันได้ กับกรณีเหตุการณ์คนร้ายสังหาร พระสุพจน์ สุวโจ พระนักกิจกรรมในกลุ่มเสขิยธรรม กลุ่มพุทธทาสศึกษา และเจ้าอาวาสสถานปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรม บ้านห้วยงู ต.สันทราย อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2548 จนมรณภาพ และได้กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง คดีดังกล่าว ได้สั่นสะเทือนต่อพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะถือว่า พระสุพจน์ เป็นพระนักปฏิบัติสายท่านพุทธทาส ซึ่งมีคนนับถือทั่วประเทศ และเป็นการฆาตกรรมพระอย่างโหดร้ายทารุณ ด้วยของมีคมไม่ทราบชนิดและขนาดจากคนร้ายไม่ทราบจำนวน มีบาดแผลฉกรรจ์กว่า 20 แผล ทั้งที่ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ มือ แขน และลำตัว กระทั่งถึงแก่มรณภาพ ห่างจากกุฏิที่พักกว่า คดีนี้เป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่าง ที่นักอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม นักเผยแผ่ด้านศาสนธรรม ได้สละชีพเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนที่อาศัยอยู่ ท่ามกลางกระแสของกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ที่จับมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ ได้ใช้อำนาจอันป่าเถื่อนเข้าไปทำลายชีวิตของผู้คนชาวบ้านที่ขัดขวางผลประโยชน์ เพื่อเข้ากอบโกยทรัพยากรในชุมชนและอยู่อย่างต่อเนื่อง หลายคนอาจมองว่า คดีนี้อาจจะเป็นเพียงคดีฆาตกรรมทั่วไป ที่ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือนักบวชก็มีสิทธิ์สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อในยุคสมัยอันมืดมนอย่างปัจจุบัน แต่เมื่อหากพินิจพิเคราะห์จากรายละเอียดเรื่องราวต่อจากนี้ไป เราจะเห็นความเชื่อมโยงและปัญหาในมุมที่กว้างขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่แค่การฆ่าพระที่ อ.ฝาง ไม่ใช่แค่การฆ่าพระที่เชียงใหม่ และมันไม่ใช่การฆ่าพระที่ประเทศไทย ปัญหานี้มันยิ่งใหญ่กว่านั้นหลายเท่านัก ซึ่งว่ากันว่า นี่คือปัญหาการช่วงชิงทรัพยากรของโลกนี้ โดยกลุ่มนายทุน-ชนชั้นปกครอง เพื่อนำไปแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มตนเอง ในห้วงขณะที่นโยบายของรัฐและกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นอ่อนเปลี้ยเสียขาลงไปทุกชั่วขณะ กระทั่งสังคมไทยเริ่มตั้งคำถามกันว่า แล้วในที่สุดประชาชนจะหวังพึ่งใคร!? นับจากวันนั้น จนถึงวันนี้ เวลาผ่านไปเข้าปีที่ 4 แล้ว ทว่าคดีพระสุพจน์ ก็ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน ล่าสุด ‘ประชาไท’ได้สัมภาษณ์ ‘พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ’ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ เพื่อสอบถามถึงประเด็นนี้ |
อยากสอบถาม
'Tahoma','sans-serif'">ความคืบหน้าของคดีพระสุพจน์ สุวโจ ว่าไปถึงไหนแล้ว?
ขณะนี้แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 4 ปีแล้ว แต่คดีฆาตกรรมพระสุพจน์ สุวโจซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ก็ไม่อาจเรียกว่ามีความก้าวหน้า หรือคืบหน้า อย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เลย แม้ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลมาแล้ว5คณะ เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว 6 คนก็ตาม
กระทั่ง ล่าสุด รัฐบาลนาย
แต่ในแง่ของการสืบสวนสอบสวน เท่าที่ทราบ ยังไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิด และผู้เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้แทบไม่ต้องพูดถึงตัวผู้บงการ หรือผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง เพราะยิ่งเวลาผ่านไป พยานหลักฐานต่างๆ ก็ยิ่งจะเสื่อมสภาพ และยากจะพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้
ถึงขณะนี้ ญาติและผู้เกี่ยวข้องเน้นมาที่การจัดตั้งองค์กร คือ ‘มูลนิธิพระสุพจน์ สุวโจ’ ขึ้นมาให้เร็วที่สุด ที่ผ่านมามีการรวบรวมเงินทอง และระดมสมอง สำหรับการจัดตั้งมูลนิธิ ที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้กรณีของผู้ตายได้เป็นกรณีตัวอย่าง และเป็นบทเรียน สำหรับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ โดยวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ จะเน้นไปที่ กระบวนการเรียนรู้และการทำงาน เพื่อปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ศาสนธรรม กับการทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แต่ก็ดูเหมือนว่าช่วงนี้ประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะเริ่มหวนกลับมาอีกแล้ว?
ตราบใดที่ภาคประชาสังคม หรือการเมืองภาคประชาชนยังไม่เข้มแข็ง หรือยังขาดจุดยืนที่ถูกต้อง รัฐและอำนาจรัฐ หรือคนของรัฐ ก็ยังมีช่องทาง หรือมีความกล้า ที่จะกระทำย่ำยีต่อผู้ที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะเห็นต่างจากจุดยืนของรัฐ ในนามของความมั่นคง หรือเห็นต่างไปจากมุมมองของผู้มีอิทธิพล และมีอำนาจรัฐอยู่ในมือก็ตาม เมื่อรัฐและคนของรัฐทำได้ ฝ่ายทุนซึ่งมักจะมีอำนาจเหนือรัฐอยู่แล้วก็ยิ่งได้ใจ หรือกำเริบเสิบสาน ทั้งที่ละเมิดเองโดยตรง และที่ใช้อำนาจมืดผ่านสมุนบริวาร ที่มีอำนาจรัฐ หรือครองอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีมาทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่ศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราช เผด็จการของนายทุนขุนศึก มาถึงยุคทุนนิยมที่อ้างประชาธิปไตยจอมปลอม เป็นเรื่องของนิยาม ว่า ‘การละเมิด’ หมายถึงอะไร และปริมาณ หรือระดับความรุนแรงมีแค่ไหน อย่างไร ภายใต้วัตถุประสงค์อะไร และเพื่อใคร การละเมิดบางอย่าง บางกลุ่มก็รับได้ บางกลุ่มก็ปฏิเสธ เมื่อกลุ่มของตนถูกกระทำก็ไม่ยอมรับ แต่พอเป็นฝ่ายกระทำก็ไชโยโห่ร้อง
ประเด็นนี้hถ้าไม่ยึดหลักการให้ดีให้ชัดเจนก็จะกลายเป็นเครื่องมือมาใช้เล่นงานกันไปมาในที่สุดก็จะกลายเป็นของไร้ค่า เหมือนกับคีย์เวิร์ด หรือคำใหญ่ๆ โตๆ อีกหลายคำ ซึ่งสุดท้ายก็เอามาอ้างกันเรี่ยราด เลอะเทอะ
ท่านมองยังไงกับกรณีที่มีความขัดแย้งเรื่องฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระหว่างชุมชน-นายทุน-รัฐ อย่างเช่นล่าสุด การคัดค้านของชาวบ้านที่นายทุนแอบสร้างโรงไฟฟ้าที่ฉะเชิงเทราและที่อุบลราชธานี ในขณะนี้ ?
เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างถ้านับเป็นชิ้นๆเป็นแต่ละกรณีก็นับไม่ถ้วนพูดกันไม่จบบ้านเราขาดกระบวนการสรุปบทเรียนขาดการเคลื่อนไหวในเชิงยุทธศาสตร์เมื่อไม่สามารถกำหนดเป้าหมายร่วมโดยมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ให้เป็นกระบวนใหญ่ แต่ละเคสแต่ละกรณีก็จะกลายเป็นเรื่องยิบย่อยในสายตาของรัฐและทุน เขาจะไม่ได้ยิน ไม่รู้ร้อนรู้หนาว นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน เพื่อสิทธิมนุษยชนก็จะถูกกระทำย่ำยีไปเรื่อยๆ บาดเจ็บไปบ้าง ล้มตายไปบ้าง คนใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา แล้วเดินซ้ำรอยเดิม เจ็บก็ไปเยี่ยม ไปให้กำลังใจ ตายก็ยกพวงหรีด ไปงานศพ จัดเสวนาอภิปราย แล้วก็เริ่มนับหนึ่งกันใหม่ ถึงวันนี้ก็ยังไปไม่ถึงไหน แล้วพรุ่งนี้จะหวังอะไรได้
'Tahoma','sans-serif'">
แล้วท่านคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไร ต่อปัญหาละเมิดสิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนเช่นนี้ ?
รัฐบาลรู้ดีว่าหน้าที่ของรัฐและรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรปฏิบัติอย่างไรเจตนคติของนักการเมืองในระบอบนี้ “ควรมี” และ “ควรเป็น” อย่างไร ปัจจุบัน นักการเมืองมีการศึกษา จบเมืองนอกเมืองนากันเยอะแยะ พวกนักเลงหัวไม้ พวกอำนาจมืด พวกจอมบงการ พวกตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก อะไรทำนองนี้ ลดน้อยลงไปเยอะ แต่พฤติกรรมร่วม ประเภทคำนึงถึงตัวเอง พวกพ้อง กลุ่ม มุ้ง ก๊วน และพรรค มากกว่าผลประโยชน์ประชาชน ยังมีอยู่ การโกงการเลือกตั้ง การคอร์รัปชั่น ทั้งโดยตรง และในเชิงนโยบายยังมีอยู่ และนับวันจะยิ่งรุนแรง
เมื่อทัศนะผิดๆ มีอยู่ หรือเกิดขึ้นในคนที่สมองดี ก็กลับกลายเป็นเล่ห์เหลี่ยมกลโกง ที่จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ตรวจสอบไปไม่ถึงไม่มีใบเสร็จมิหนำซ้ำคนพวกนี้ยังฉลาดใช้คนฉลาดโฆษณาชวนเชื่อซึ่งทำให้เกิดกระแสความนิยม จนใครต่อใครไม่กล้าแตะ ประเด็นก็คือ ขอแค่รัฐบาล หรือคนในรัฐบาล“อยู่ในร่องในรอย” ทำในสิ่งที่ควรทำทุกอย่างก็จบก็ทำตามหน้าที่ของตนไปอาสาเข้ามาทำงานเข้ามาแก้ปัญหาก็อย่าทะลึ่งสร้างปัญหาให้มันมากนัก ก็แค่นั้น…
ถ้ารัฐบาลไม่ทำอย่างที่ควรทำประชาชนทั้งปวงก็ควรที่จะแสดงอำนาจของตนแล้วจัดการแก้ปัญหาเสียให้ถูกต้อง อย่ามามัวพะวงว่าคนพวกนั้นมาจากการเลือกตั้งแล้วจะแตะไม่ได้จัดการไม่ได้อำนาจรัฐที่แท้จริงเป็นของประชาชน กระบวนการ “เลือกตั้ง” เป็นเพียงการสรรหาตัวแทน เพราะคนทั้งแผ่นดินมันหาสภานั่งไม่พอ เลือกตั้งมาใช้งาน ไม่ใช่เลือกมาเป็นนายเหนือหัว ทำงานไม่ได้เรื่องก็ไล่มันไป นี่ว่ากันรวม ๆ ไม่ใช่เพียงประเด็นสิทธิมนุษยชน
*****
กำหนดการบำเพ็ญกุศลอัฐิ และกิจกรรมครบรอบ ๔ ปี การสังหาร พระสุพจน์ สุวโจ
ณ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา สี่แยกคอกวัว กรุงเทพฯ
วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒
๑๐.๐๐ น. ลงทะเบียน ที่ห้องประชุม ๑๔ ตุลา
๑๐.๓๐ น. พิธีบำเพ็ญกุศลอัฐิ และถวายผ้าบังสุกุล
ครบรอบ ๔ ปี การมรณภาพ พระสุพจน์ สุวโจ
'Tahoma','sans-serif'">
๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล
๑๒.๐๐ น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐น. รับชมวีดิทัศน์ ข่าว และสารคดี เกี่ยวกับเบื้องหลังและข้อเท็จจริง กรณีการสังหาร พระสุพจน์ สุวโจ
๑๓.๐๐-๑๓.๑๕น. สรุปความไม่คืบหน้าคดีสังหาร พระสุพจน์ สุวโจ โดย พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์
๑๓.๓๐-๑๖.๐๐น. ร่วมรับฟังการเสวนา “๔ ปี คดีพระสุพจน์ บทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรมและสังคมไทย” โดย คุณสุนี ไชยรส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.อ.ปิยวัฒก์ กิ่งเกตุผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ คุณพิกุลพรหมจันทร์ ผู้เรียกร้องความเป็นธรรมคดีฆ่าแขวนคอ ๒๑ ศพ จ.กาฬสินธุ์ คุณแสงชัย รัตนเสรีวงศ์ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน
ดำเนินรายการโดย คุณเมธา มาสขาว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
ร่วมจัดโดย เครือข่ายกัลยาณมิตรพระสุพจน์ฯ, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์