WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 13, 2009

กรอบโครงความคิด และ “ตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป”

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุต้นฉบับ: เมื่อปลายปี 2551 ผู้เขียนได้เสนอบทความ กรอบโครงความคิดในการปฏิบัติการร่วมทางการเมือง (Collective Action Frames) กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)ในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2551) และได้เผยแพร่ในเวบไซต์ประชาไท ต่อมาผู้เขียนได้พัฒนา เพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นอีกบางส่วน จึงขอนำเนื้อหาในส่วนดังกล่าว มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ ทั้งนี้เนื่องจากความยาวของบทความ ทางประชาไทจึงได้แบ่งนำเสนอออกเป็นสองตอน

ลูกๆ นักศึกษาที่รัก พวกเราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ลูกๆทุกสถาบัน จะต้องเป็นกำลังของประเทศชาติ ไม่กระทรวงใดก็กระทรวงหนึ่ง ไม่ภารกิจใดก็ภารกิจหนึ่งในอนาคตอย่างแน่นอน แล้ววันนี้ผมรู้สึกย้อนรอยเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อนักเรียนอาชีวะ นักเรียนช่างกลมา เดี๋ยวใครจะมาตี มาเลย ไอ้ นรก นปก. มาเลย เดี๋ยวให้ลูกหลายแสดงฝีมือบ้าง มัน [ลากเสียงยาว] มันมืออยู่ [มา]นานแล้ว ลูกหลานเฮ้ย [ลากเสียงยาว] ตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป

สมศักดิ์ โกศัยสุข
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
5 กันยายน 2551accent1">[1]




'Tahoma','sans-serif'">“ตีคนเลว ตีคนชั่ว ไม่บาป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำปราศรัยของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในค่ำคืนของวันที่ 5 กันยายน 2551 ที่ผู้เขียนได้หยิบมาเป็นจุดเริ่มต้นของบทความ มีความสำคัญในการทำ ความเข้าใจ พันธมิตรฯ อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ การอธิบายว่านี่เป็นเพียง โวหาร หรือ การหลุด ของแกนนำคนนั้น ในภาวะที่เขาอยู่ในอาการกริ้วโกรธ และไม่ให้ความสนใจหรือความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ สำหรับพันธมิตรฯ แน่นอน นี่ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าการแก้ตัว ซึ่งย่อมเป็นปกติธรรมดา สำหรับผู้สนับสนุนจากภายนอก ถ้าไม่ด้วยเหตุผลเดียวกันกับพันธมิตรฯ ก็เป็นการสนับสนุนโดย ไม่ลืมหูลืมตา หรืออาจจะเรียกว่าถูก หลอกลวง” [ดังที่พันธมิตรฯ ได้ใช้กับฝ่ายต่อต้าน เพื่อทำให้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมีความง่ายต่อการเข้าใจ] ด้วยโวหารและหน้ากากของสันติวิธี สำหรับนักศึกษาหรือนักวิชาการด้านสันติวิธี นี่คือการแสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจในสาขาวิชาของตนเอง แต่สำหรับผู้ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแล้ว นี่คือ ความไม่เข้าใจ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของพันธมิตรฯ เลยทีเดียว

ที่กล่าวเช่นนี้ สำหรับผู้ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่ใช่เพราะ (1) เนื้อหาที่รุนแรงในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นหลายครั้ง ในการเคลื่อนไหว (2) ผู้พูด คือ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 1 ใน 5 แกนนำ เป็นผู้ประกอบการสำคัญ (3) มีรูปธรรมของปฏิบัติการรองรับ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โวหารเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่า (1) ในการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้น จำเป็นต้องเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ทั้งหมด เข้าด้วยกันในการวิเคราะห์ การจำกัดหรือเน้นให้ความสนใจไปที่คำแถลงที่เป็นทางการเป็นหลักหรือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่สนใจหรือไม่ให้ความสำคัญกับปฏิบัติการที่เป็นจริงในเวลาเดียวกัน ล้วนเป็นการมืดบอด (2) นี่คือ ปรากฏการณ์ที่สะท้อน หรือเป็นความเข้าใจที่เป็น ผลที่ตามมา ของกระบวนการสร้างกรอบโครงความคิดของพันธมิตรฯ นั่นเอง

สุวินัย ภรณวลัย นักเศรษฐศาสตร์ จากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คอลัมนิสต์ในผู้จัดการรายวัน/ออนไลน์ ได้วิจารณ์การนำคำปราศรัยดังกล่าวมาเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจพันธมิตรฯ ของผู้เขียนว่า การยกแค่คำพูดบางตอนของแกนนำ โดยเฉพาะการพูดแบบแสดงโวหารบนเวทีโดยขาดการทำความเข้าใจบริบท (context) หรือความเป็นมาของเหตุการณ์การต่อสู้ในช่วงนั้น...เป็นการรับรู้ที่มีอคติและด้านเดียวอย่างหนึ่ง[2] ซึ่งผู้เห็นด้วยว่าการพิจารณาบริบทอย่างละเอียดมีความสำคัญ และจะช่วยให้มีความเข้าใจพันมิตรฯ มากขึ้น กล่าวคือ

คำปราศรัยนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พันธมิตรฯ ปะทะกับกลุ่ม นปก. ที่เดินขบวนมาจากสนามหลวงเพื่อขับไล่ให้พันธมิตรฯ ที่ยึดครองทำเนียบอยู่ ออกจากทำเนียบรัฐบาล ในกลางดึกของวันที่ 1 ต่อเช้าตรู่ของวันที่ 2 กันยายน 2551 ผลจากการปะทะกันทำให้นายณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ อายุ 55 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. ถูกตีที่ใบหน้าและศีรษะ ฟันหักหมดปาก จนเสียชีวิต[3] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 42 ราย[4] สำหรับผู้ที่ได้ชมภาพข่าวที่มีการถ่อยทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในคืนดังกล่าว คงเศร้าสลดใจต่อภาพที่เกิดขึ้นไม่น้อย อย่างเช่นภาพผู้ชายใสเสื้อสีน้ำเงินที่อยู่ข้างรถจักรยานยนต์ ถูกชายนับสิบคนที่ใส่หมวกกันน็อคพร้อมอาวุธในมือ รุมตี รุมกระทืบอย่างไม่ยั้งมือ โดยผู้ที่ถูกทำร้ายไม่มีอาวุธและไม่มีทางที่จะต่อสู้ป้องกันตัว จนสลบนิ่งอยู่กลางถนน พร้อมภาพผู้คนอีกหลายรายที่นอนสลบอยู่ริมฟุตบาทใกล้ๆ อาคารสหประชาชาติ[5] ทั้งหมดนี้ พันธมิตรฯ กระทำในนามของ การป้องกันตนเอง [6]

ในคืนนั้น ก่อนเหตุการณ์ปะทะ เมื่อทราบข่าวว่า นปก. เดินทางมาจากสนามหลวงมายังทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ใน
'Tahoma','sans-serif'">เวลา 00.33 น.

'Times New Roman'">ประกาศชี้แจง ว่า


'Times New Roman'">ขณะนี้ นปก.มีการเคลื่อนตัวมาแล้วมีจำนวนประมาณ 15
,000 คน ที่แจ้งไม่ต้องการให้ตกใจเพราะการชุมนุมของพันธมิตร เรามีการเตรียมความพร้อมหมดแล้ว อีกทั้งมีจำนวนผู้ชุมนุมปักหลักทั่วบริเวณจำนวนมาก นอกจากนี้ในที่ชุมนุมพันธมิตรยังมี จนท.ทหารมาร่วมชุมนุมจำนวนกว่า 600 คน [7]

ขณะที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ รายงานว่าเวลาประมาณ
'Times New Roman'">00.20 “หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรฯ ได้สั่งให้ รปภ. เตรียมพร้อมเต็มที่ หากมีดาบให้ฟันได้เลย และตีทุกคนที่เข้ามาในพื้นที่
[8]
'Times New Roman'">และรายงานเหตุการณ์ว่า

'Times New Roman'">


'Times New Roman'">ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าตะลุมบอนกันอย่างโกลาหลทั้งสองฝ่าย โดยพันธมิตรฯ รุกไล่ฝ่ายนปช.จนถอยร่น และฝ่าย นปช. พลาดท่าถูกพันธมิตรตีได้รับบาดเจ็บล้มนอนเหยียดยาวกลางถนน มีเลือดไหลอาบหน้าหลายคน... ขณะเดียวกัน ฝ่ายนปช.ที่ได้รับบาดเจ็บนอนหงายเหยียดยาวอยู่หลายคน ได้ถูกพันธมิตรฯ เข้าไปรุมตีซ้ำ บางคนถูกพวกเดียวกันช่วยหามร่างหนีให้พ้นจากการการถูกรุมทำร้ายอย่างป่าเถื่อน
[9]
'Times New Roman'">

โดยในการปะทะกันนั้น ฝ่ายพันธมิตรฯ สามารถจับกุมฝ่าย นปก. ได้หลายคน และได้ควบคุมตัวเพื่อทำการสอบสวน


'Times New Roman'">หลายคนถูกพันธมิตรฯ จะทำร้าย แต่มีคนห้ามไว้ เพราะกลัวว่าจะมีข่าวออกไปในลักษณะเสียหาย... ขณะที่จับได้ ให้แพทย์ทำแผลที่ถูกตีหักบ้าง หัวแตกบ้าง พันธมิตรฯ บางคนเกิดความโมโห กระโดดเตะฝ่าย นปช. ขณะแพทย์ทำการรักษา ทำให้แพทย์โดนลูกหลงหลายคน และเกิดความโมโหฝ่ายพันธมิตรฯ พร้อมบอกว่าจะนำส่ง รพ. แต่พันธมิตรฯ ไม่ยอม จะขอตัวนำไปสอบสวนเอง
[10]

ทั้งนี้ ในระหว่างการปะทะ แกนนำบางคน รวมทั้งผู้ปราศรัยบนเวที ได้ประกาศให้พันธมิตรฯ ที่อยู่ทางบ้าน หยิบของ ติดไม้ตัดมือมาด้วย และมาร่วมกัน ตีนปก.

เมื่อพิจารณาจากบริบทของเหตุการณ์แล้ว ก็จะพบว่าคำปราศรัยนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ นปก. ถูกตีตายจริงๆ มาเพียง 3 วัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิด การนองเลือด กลางเมืองหลวง และ ศพแรก ของสงครามได้เกิดขึ้น แต่การตายของ นปก. จากการปะทะกับพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นประเด็นที่มีปัญหาหรือสำคัญแต่อย่างใด เพราะไม่เพียงแต่ตี นปก. ไม่บาป เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เป็น วีรกรรม และเป็นเรื่องของการออกกำลังกายที่ สนุกสนาน ไปพร้อมกันด้วย ดังที่แกนนำระดับรองลงมาอย่างนายวีระ สมความคิด กล่าวบนเวทีในวันที่ 4 กันยายน 2551 ว่า ขอเรียกร้องให้ช่างกลปทุมวันมาออกกำลังกายและมาช่วยดูแลผู้ชุมนุมโดยการมาช่วยตีพวกแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.)
'Tahoma','sans-serif'; mso-fareast-font-family: 'Times New Roman'">”
[11]

กรณีการตี นปก. จนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ไม่บาป เพราะเป็น คนชั่ว-คนเลว และเข้าใจว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นเหมือนการ ออกกำลังกาย ที่ทำให้ร่างกายและชีวิตของศัตรูเป็นเพียงอุปกรณ์ในการออกกำลังกายเท่านั้น สามารถที่จะอธิบายได้ว่า เป็นผลของการสร้างกรอบโครงความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา เยียวยารักษาโรค และกรอบโครงในการจูงใจด้วยความคิดเรื่องวิกฤติ ความรุนแรงเข้มข้นของปัญหาและสงคราม อย่างที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดข้างต้นแล้ว โดยกรอบโครงความคิดดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ คือ ปีศาจวิทยาของความขัดแย้ง ตามคำอธิบายของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่เป็นเงื่อนไขหรือเปิดประตูให้ความรุนแรงเข้ามา และรวมศูนย์ปัญหาอยู่ที่ ปัญหาจริยธรรมว่าด้วยวิธีการ (the ethics of means)” ตามคำอธิบายของเกษียร เตชะพีระ กล่าวคือ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่ตนเห็นว่าถูกต้องดีงาม พันธมิตรฯ ไม่เลือกวิธีการที่ใช้ จะใช้วิธีการอะไรก็ได้ จะชอบหรือไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือหลักการทางการเมืองอย่างไรก็ได้ ขอแต่ให้บรรลุเป้าหมายได้ หรือคล้ายกับความเข้าใจของนายสุริยะใส กตะศิลาเอง ว่า

ผมกลับเห็นว่าวิธีการอาจไม่สำคัญเท่ากับหลักการ หากวันนี้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนว่าเราต้องร่วมร่วมกันสร้างชาติและสร้างการเมืองใหม่แล้ว รูปแบบวิธีการก็อาจไม่ใช่เรื่องยากและอาจง่ายเกินกว่าที่เราคิด[12]

โดยเกษียร เตชะพีระ ได้อธิบายเรื่องเป้าหมายให้ความชอบธรรมกับวิธีการ (The end justifies the means) นี้ว่า มีข้ออ้างหลักที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก ศัตรูที่เราสู้ด้วยเป็นคนสกปรกเลวทรามต่ำช้าถึงขนาด ฉะนั้นจัดการกับคนชั่วช้าแบบนี้ ก็ไม่ต้องเลือกหรือจำกัดรูปแบบวิธีการเหมือนกัน มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อ ประการที่สอง สิ่งที่เรามุ่งพิทักษ์ปกป้องไว้นั้นสำคัญสูงสุด เพราะฉะนั้นเพื่อรักษาสิ่งสำคัญสุดยอดไว้ แม้จะต้องละเมิดหลักเกณฑ์หลักการอื่นไปบ้างก็ต้องทำ[13]

หากพิจารณาจากกรอบโครงความคิดหลักที่บทความได้พยายามทดลองเสนอมา จะเห็นได้ว่า สำหรับพันธมิตรฯ แล้ว ปัญหาทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่นักการเมือง ชั่ว และ ผู้เลือกตั้ง ที่เห็นแก่เงิน และทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ใน ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง กรอบวิเคราะห์นี้ถูกวางพื้นฐานมาเป็นเวลานาน หลายสิบปี ด้วยแนววิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองที่เห็นว่า การล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยไทย เกิดจากการที่ประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย ปัญหานี้ถูกเน้นย้ำมากขึ้นเมื่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามามีบทบาทสำคัญชี้ขาดในรัฐสภา หลังจากหมดยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ และความร้ายแรงของนักการเมืองและผู้เลือกตั้งที่ ขายเสียง ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ นี้ เหมือนมีฉันทามติร่วมกันในสังคมการเมืองไทยว่าปรากฏสูงโดดเด่นที่สุดในสมัยรัฐบาลทักษิณ

การเยียวยารักษาจึงต้องใช้วิธีการที่รุนแรงพอที่จะรักษาสาเหตุของโรคได้ [วิธีการรักษาย่อมถูกจำกัดขอบเขตความเป็นไปได้โดยการวิเคราะห์ปัญหา] และดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการ เพราะการต่อสู้กับสิ่งที่เลวร้ายเป็นสิ่งที่ดี ยิ่งทำให้ฝ่ายศัตรูยิ่งแล้วร้ายขึ้นเท่าไหร่ การต่อสู้กับศัตรูก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีมากขึ้นเท่านั้น การขยายประเด็นความรุนแรงของปัญหา วิกฤต ไปสู่การล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างระบบสาธารณรัฐ ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายศัตรูยิ่งเลวร้ายขึ้น ขณะที่การต่อสู้ของตนก็กลายเป็นสงคราม/ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ การจูงใจผู้เข้าร่วมด้วยกลุ่มคำศัพท์สงคราม และการทำให้การชุมนุมเป็นการทำสงครามก็ทำให้ตรรกะของสงครามครอบงำผู้กระทำการ ดังนั้น ศัตรู คือ ผู้ที่ต้องถูกทำลาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด จะชอบหรือไม่ต่อหลักการประชาธิปไตยหรือหลักการอื่นใดที่มนุษย์ควรยึดถือในการปฏิบัติต่อกันก็ตาม

เชิงอรรถ:

[1] ดาวน์โหลดไฟล์เสียงได้ที่ URL mms://tv.manager.co.th/videoclip/radio/1002/1002-5499.wma


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[2]
สุวินัย ภรณวลัย ได้วิจารณ์บทความนี้ไว้ใน “2. พันธมิตรฯ รำลึก พลวัตของพันธมิตรฯ,” ผู้จัดการออนไลน์, 21 เมษายน 2552 ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำวิจารณ์เรื่องบริบทของคำปราศรัยนี้ เป็นข้อวิจารณ์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะหากพิจารณาบริบทอย่างละเอียด ก็จะตอกย้ำและทำให้ประเด็นที่บทความเสนอมีความหนักแน่นมากขึ้น ต่อมาใน “6. พันธมิตรฯรำลึก พลังของพันธมิตรฯ,” 19 พฤษภาคม 2552 สุวินัยได้แสดงความชื่นชมความสามารถของแกนนำพันธมิตรฯในการใช้กลุ่มคำศัพท์สงครามในการชักจูงผู้ชุมนุม โดยที่ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นประเด็นที่บทความพยายามจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาหรือผลของการใช้กลุ่มคำศัพท์สงคราม

สำหรับข้อวิจารณ์อื่นๆ ของสุวินัยต่อบทความ คือ (1) กรณียกบทสนทนาของผู้ดำเนินรายการ Metro Life ทางวิทยุ ผู้เขียนไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ทางสื่อเครือผู้จัดการก็ได้ออกมาขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริงโดยได้ประกาศยุติการจัดรายการ Metro Life ไปแล้วนั้น เป็นปัญหาของ การอ่านอย่างไม่ละเอียดของสุวินัยเอง เนื่องจากได้ระบุไว้อย่างละเอียดแล้ว ในเชิงอรรถที่ 2 แต่แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ การขอโทษแต่เป็น ขออภัยต่อกรณีการใช้คำพูดไม่เหมาะสมในการจัดรายการ” (2) กรณี ฐานะของนายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ Metro Life ที่บทความระบุ ในวงเล็บว่า เป็น บุตรชายทั้งที่เป็นเพียง หลานชายของนายสนธินั้น เป็นความผิดพลาดของผู้เขียนเอง แต่อย่างไรก็ตามการระบุ ฐานะที่ผิดพลาดนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอคือ คลื่น ยามเฝ้าแผ่นดินเป็นสื่อในเครือผู้จัดการ ซึ่งกระบอกเสียงของพันธมิตรฯ ย่อมมีบทบาทสำคัญในพันธมิตรฯมีปัญหาหรือผิดพลาดแต่ประการใด (3) ประเด็น ตัวตนของผู้เขียนในบทความ ที่ผู้วิจารณ์เห็นว่า เป็น ตัวตนที่อ่อนไหวต่อเรื่องความรุนแรง หรือ sensitive self ถ้าหาก หมายถึง ความไวและห่วงใยต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว และการใช้มนุษย์คนอื่นเป็น เครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายของตนเองนั้น ผู้เขียนไม่เห็นว่าจะเป็นปัญหาประการใด แต่การไม่มีสิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นปัญหา


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[3]
ดูเรื่องราวของเขาได้ที่ ณรงศักดิ์ กรอบไธสง ศพแรกแห่งศึกพธม.-นปช,” คม ชัด ลึก, 3 กันยายน 2551 และ เปิดใจหลานเหยื่อม็อบปะทะ ขอให้น้าผมเป็นศพสุดท้าย...’,” กรุงเทพธุรกิจ, 4 กันยายน 2551, หน้า 14


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[4]
ผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุปะทะ,” มติชนรายวัน, 3 กันยายน 2551, หน้า 14 ทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุมของ นปก. (ในฝ่าย นปก. มีการรายงานจำนวนและชื่อของผู้ได้รับบาดเจ็บที่เป็นฝ่ายตนในสื่อทางอินเตอร์เน็ท) แต่ประเด็นผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นใครบ้างไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเท่าไหร่นัก โดย สิทธิพร จราดล ได้ตั้งข้อสังเกตว่าในครั้งนี้ ผู้ตายได้รับเกียรติ ถูกทำให้เป็น คนไทยจากสื่อมวลชน ทั้งที่ก่อนหน้านั้น พวกเขาเป็นเพียง ลิ่วล้อทักษิณ” “ม็อบไข่แม้ว” “ม็อบเถื่อน” “ม็อบถ่อย” “ม็อบอันธพาลฯลฯ และ ถ้าณรงค์ศักดิ์ไม่ตาย แต่หากคนตายเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับเขา น้ำเสียงของกลุ่มองค์กรต่างๆ คงต่างไปจากนี้ บรรยากาศคงอึมครึม หม่นมัว หม่นหมอง สื่อมวลชนคงนำเสนอข่าวความตายนี้ทั้งวันดูใน ณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง: ความตาย ราคาถูก,” ประชาไท, 4 กันยายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[5]
ดู ภาพนปช. - พันธมิตรปะทะกันจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3” ประชาไท, 2 กันยายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[6]
แน่นอนที่สุด ในเหตุการณ์นี้ (1) แกนนำ นปช. ที่นำการชุมนุม และทำให้เกิดการปะทะกัน และ (2) เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถหรือไม่มีความตั้งใจที่จะสกัดกั้น ป้องกันการปะทะ ต้องมีส่วนต้องรับผิดชอบกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อสงสัย นอกจากนั้น ผู้ชุมนุม นปก. บางส่วนก็มีอาวุธเช่นเดียวกัน


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[7]
สิทธิพร จรดล ณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง: ความตาย ราคาถูก,” ประชาไท, 4 กันยายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[8]
หัวหน้า นักรบศรีวิชัยนายเจติศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลัง ที่แสดงถึงท่าทีต่อ นปก. ในการทำงาน ที่สอดคล้องและไปทิศทางเดียวกับข้อความดังกล่าวข้างต้น ว่า เรามีหลักการว่า เราจะไม่สู้กับตำรวจ ไม่สู้กับทหาร แต่ถ้าเป็น นปก. เราสู้จนตัวตาย ฉวยอะไรได้ก็เอามันล่ะดูใน เปิดตัวนักรบศรีวิชัย พวกผมไม่ได้บุก NBT’,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 8 กันยายน 2551 http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/08/news_292472.php


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[9]
อนุพงษ์ชี้ ฉุกเฉินแค่ยุตินองเลือด,” ไทยรัฐ, 3 กันยายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[10]
เพิ่งอ้าง


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[11]
พันธมิตรเรียก ช่างกลร่วมกู้ชาติ มาออกกำลังกายตี นปช. รับได้ทำประชามติ แต่ยันจุดยืนหมักต้องออก,” มติชนออนไลน์, 4 กันยายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[12]
สุริยะใส กตะศิลา “ ’การเมืองใหม่ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ,” ผู้จัดการออนไลน์, 25 มิถุนายน 2551


'Tahoma','sans-serif'; mso-themecolor: accent1">[13]
เกษียร เตชะพีระ ,“ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตรฯ,” ประชาไท, 29 สิงหาคม 2551 โดยเกษียรไม่เห็นด้วยกับท่าที่ของพันธมิตรฯ ในเรื่องนี้เพราะเห็นว่า สุ่มเสี่ยงอันตรายที่จะปลุกพลังรุนแรงที่อาจควบคุมไว้ไม่อยู่ขึ้นมา จนพลอยไปทำร้ายทำลายผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออย่างเกินกว่าเหตุ อีกทั้งยังเห็นมนุษย์คนอื่นเป็นเครื่องมือ เป็นเหยื่อ และเป็นเครื่องบูชายัญสังเวยเป้าหมายความเชื่อของตนเอง