WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 13, 2009

เชิดชูตัวบุคคล:อันตราย2ต่อ

ที่มา Thai E-News


โดย อัมมายน์
12 ธันวาคม 2552

นอกจากเชิดชูตัวบุคคลได้เหนือชั้นกว่าแล้ว ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังโฆษณามวลชนชวนเชื่อว่าฝ่าย เสื้อแดงทำร้ายชาติ ต่อสู้เพื่อคุณทักษิณเท่านั้น จำนวนของมวลชนที่ยังเป็นพลังเงียบและเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อนี้ จึงมีอยู่อย่างมากมายมหาศาล แล้วมวลชนเสื้อแดงจะชนะได้อย่างไร หากยังเล่นสู้กันในกรอบการชูตัวบุคคลเหมือนเดิมตลอดสามปีกว่าที่ผ่านมา และไม่มุ่งขยายแนวร่วมจากพลังเงียบทั้งในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศโดยการจี้จุดเรื่องประชาธิปไตยจอมปลอมของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดทำให้ไม่สามารถกระจายความมั่งคั่งสู่ประ ชาชนคนไทยได้อย่างทั่วถึง




มาตรชี้วัดความเจริญก้าวหน้าทางประชาธิปไตยประการหนึ่งก็คือ การให้ความสำคัญกับหลักการ มากกว่าตัวบุคคล

เราจะเห็นได้ว่าน้อยประเทศนัก หรือแทบจะไม่มีเลยที่ปัญญาชนหรือมวลชน ของคนในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วจะเชิดชูบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นมามากมายเสียจนบุคคลคนนั้นกลายเป็นเทพที่หาข้อผิดพลาดมิได้

ในประเทศที่มีระบบการปกครองที่ผู้นำฝ่ายบริหารมีอำนาจในการปกครองมาก เช่น ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี เช่นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ประธานาธิบดีไม่ต้องพึ่งเสียงข้างมากในรัฐสภาก็สามารถกำหนดนโยบายและบริหารประเทศได้ จึงต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีไว้ไม่ให้เกินสองสมัยในอเมริกาไม่เกินแปดปี ฝรั่งเศสไม่เกินสิบสี่ปี เป็นต้น

ส่วนระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรียังต้องพึ่งเสียงข้างมากในรัฐสภา อำนาจในการตัดสินใจไม่เบ็ดเสร็จเท่าประธานาธิบดี ในประเทศอย่างอังกฤษ เยอรมนีจึงไม่มีข้อกำหนดว่านายกฯ สามารถดำรงตำแหน่งได้กี่สมัย นายเฮลมุท โคลได้เป็นนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีนานถึงสี่สมัย ตั้งแต่ปี 1982-1998 นายโทนี่ แบล์ ของอังกฤษก็นำพรรคเลเบอร์ชนะได้เป็นนายกรัฐมนตรีถึงสามสมัย แม้จะลาออกจากตำแหน่งเสียก่อนหมดสมัยที่สาม

การจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีข้างต้นเ็ป็นการปกป้องการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ซึ่งเป็น เรื่องดีที่จะใช้ปกป้องบุคคลผู้มีอำนาจนั้นจากความความผิดพลาดตามธรรมชาติของปุถุชน ผู้ใด มีอำนาจมากเกินไปเป็นเวลานาน เขาก็ลุแก่อำนาจได้ง่ายๆ ตามคำกล่าวของฝรั่งที่่ ว่า "Power tends to corrupt, and absolute power tends to corrupt absolutely" เรื่องนี้เป็นสัจจะที่เกิดขึ้นได้ กับทุกทั่วตัวคน


การเชิดชูตัวบุคคลไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อบุคคลที่ถูกเชิดชูเท่านั้น แต่มวลชนที่เชิดชูบุคคล ใดบุคคลหนึ่งขึ้นมาก็ยังตกอยู่ในอันตรายอีกด้วย

เพราะการต่อสู้ของมวลชนกลุ่มนั้นจะเปราะบาง จากการถูกใส่ร้ายป้ายสี และทำลาย ผลเสียของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยมุ่งชูตัวบุคคล จะทำให้การต่อสู้นั้นขาดพลังและนำ้หนักของความชอบธรรม ที่จะดึงมวลชนส่วนใหญ่ในประเทศที่เป็นพลังเงียบมาเข้าร่วม และเรียกร้องความเข้าใจจากนานาสากลประเทศอย่างแท้จริง เพราะหลักการที่ถูกต้องและชอบธรรมคือประชาธิปไตยเป็นสิ่งสากลที่ทุกฝ่ายทั้งในและนอก ประเทศยอมรับและเห็นด้วย

ไม่ใช่แต่ฝ่ายที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงภายในประเทศเท่านั้น แต่คนไทยส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่ยังเป็นพลังเงียบอยู่ และแม้แต่ฝ่ายเผด็จการในคราบประชาธิปไตย ก็ไม่สามารถปฏิเสธความชอบธรรมของระบอบประชาธิปไตยได้ แต่การต่อสู้เหล่านี้ก็ถูกบดบังด้วยการต่อสู้ของสองฝ่ายสองขั้ว

ฝ่ายหนึ่งมีแกนนำที่เข้ามายึดกุมการต่อสู้ให้เป็นไปในทิศทางที่ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมถูกต้องของบุคคลเพียงคนหนึ่ง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังต่อสู้โดยชี้ให้เห็นความชั่วร้ายของบุคคลคนนี้ในทุกจังหวะความเคลื่อนไหวที่ปรากฎเป็นข่าว แต่ทั้งสองฝ่ายไม่มีวันจะชนะสงครามนี้กันได้อย่างเบ็ดเสร็จ

การแบ่งขั้ว Polarization ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความเสี่ยง ที่ประชาชนจะถูกยุให้ต้องเผชิญหน้าและฆ่าฟันกันเองก็จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อชัยชนะของ บุคคลที่ตนถือข้าง และอำมาตย์ใหญ่ก็ยังซื้อเวลาลอยนวลต่อไปโดยใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วทำลายต่อไปเช่นเคย


๑) นักวิชาการชั้นนำที่ศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในอเมริกาเช่น เอ็ดเวิร์ด ที.ฮอลล์ และในยุโรปเช่น แกร์ด ฮอฟเสต็ดและทร็อปเพ็นนาสชาวดัชท์ทั้งคู่ ต่างได้สร้างตัวแบบของวัฒนธรรมขึ้นมา

เอ็ดเวิร์ด ที ฮอลล์กล่าวถึงสังคมแบบ ”สภาวะแวดล้อม มีความสำคัญสูง” (High-Context) กับอีกสังคมหนึ่ง“สภาวะแวดล้อมสำคัญน้อย” (Low-Context) สภาวะแวดล้อมที่ว่านี้ก็มีเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สัญญลักษณ์คำพูดคำจา อากัปกริยา

ส่วนสังคมที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยระหว่างบุคคลน้อยจะให้ความสำคัญกับการบันทึกและลายลักษณ์อักษรที่ตกลงกันได้มากกว่า

ส่วนแกร์ด ฮอฟเสต็ดก็ระบุมาตรวัดประการต่างๆ ของสังคม สังคมหนึ่งให้ความสำคัญกับปัจเจกชนมากกว่าอีกสังคมหนึ่งซึ่งชอบทำอะไรเป็นกลุ่ม หรือความ มากน้อยในการยอมรับผู้มีอำนาจในสังคม สังคมที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มากกว่าอีกสังคมหนึ่งที่ยึดถือความสำเร็จในการบรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิต หรือที่เขาเรียกว่า “สังคมเพศหญิง” (Feminin) และ“สังคมเพศชาย”(Masculin)

ส่วนทรอมเพนาสที่ตั้งหนึ่งในโมเดลวัฒนธรรมที่ใกล้เคีึยงกับเรื่องที่เราถกเถีึยงกันคือเกี่ยวกับ “ความเป็นสากลนิยม” (Universalism) ซึ่งเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ และหลักการ อันเป็นสากล และอีกสังคมหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคคลมากกว่าเป็น สังคมแบบ “ปฏิบัติแล้วแต่กรณี” (Particularism)โมเดลวัฒนธรรมที่นักวิชาการตะวันตกสร้างขึ้น เพื่อแสดงความแตกต่างของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกล้วนชี้ความแตกต่างไป ในทิศทางเดียวกันว่าสังคมประเภทหนึ่งจะให้ความสำคัญกับบุคคลมากกว่า ส่วนอีกสังคมหนึ่ง ก็ให้ความสำคัญกับหลักการมากกว่าบุคคล


สังคมไทยก็จัดอยู่ในสังคมประเภทแรก รูปธรรมการต่อสู้ของสองแนวความคิดในประเทศในขณะนี้จึงขาดไม่ได้ที่จะดึงเอาตัวบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

แกนนำของฝ่ายหนึ่ง ทั้งสามเกลอที่เป็นทัพหน้า และแกนนำคนอื่นๆ เช่น คุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และคุณชูพงศ์ ถี่ถ้วน หรือแม้แต่ คุณจักรภพ เพ็ญแข ก็ไม่ยอมหลุดไปจากกรอบที่จะพูดถึงคุณทักษิณ อาจารย์สมศักดิ์ก็เห็นว่า เป็นความดัดจริตหากการต่อสู้ของฝ่ายเสื้อแดงละเลยที่จะพูดถึงคุณทักษิณไปนั่น

อย่างไรก็ดี แม้แกนนำสามเกลอจะรวบรวมมวลชนเสื้อแดงมาต่อสู้เรียกร้องได้ถึงแสนหรือมากกว่าเมื่อเดือน เมษายนศกนี้ แต่ความสามารถที่จะช่วงชิงอำนาจรัฐไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ดั่งใจคิด ลองว่า อีกฝ่ายหนึ่งยืนกรานไม่ยอมอย่างเด็ดขาด เพราะเดิมพันและข้อเรียกร้องของการต่อสู้ของฝ่ายเสื้อแดงหรือฝ่ายประชาธิปไตยสูงเกินกว่าจะยอมรับและต่อรองได้

จริงๆแล้้วอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งต้องการรักษาสถานภาพเดิม ไม่จำเป็นต้องต่อรองเสียด้วยซ้ำ เพราะวิถีการต่อสู้ของฝ่ายเสื้อแดงนั้น ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้อยู่แล้ว เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพในการช่วงชิงอำนาจ การมีมวลชนแ่ค่แสน หรือแค่ล้านและจัดชุมนุมกันแค่นั้นไม่สามารถสั่นคลอนระบบและกองทัพที่รับ ใช้ระบบได้เลย แม้จะมีการวิเคราะห์ว่านายทหารในกองทัพแตกแยกกันแล้วก็ตาม จะมีนายทหารหน้าไหนกล้าออกคำสั่งขัดขืนผู้บังคับบัญชา หากมองไม่เห็นเส้นทางของชัยชนะ เมื่อพลังเงียบ จำนวนมหาศาลยังไม่ได้มาเข้าร่วมกับกระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

เมื่อฝ่ายหนึ่งชูตัวบุคคลขึ้นมาต่อสู้ ก็ไม่น่าจะมีอะไรขัดข้อง ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช้แนวทางการต่อ สู้อย่างเดียวกัน เมื่อฝ่ายแรกใช้สัญญลักษณ์สีแดง ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็ชูสัญลักษณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์และก็ใช้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นตัวแทนในการต่อสู้ และเมื่อฝ่ายเสื้อแดงชูคุณทักษิณ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็เชิดชูตัวบุคคคลอันเป็นที่เคารพสักการะของฝ่ายตัวขึ้นมาบ้าง เพียงเท่านี้ฝ่าย อนุรักษ์นิยมก็ชนะใจของคนไทยพลังเงียบได้อย่างราบคาบ และฝ่ายเสื้อแดงก็ต้องแสดงการ เชิดชูบุคคลของอีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน

จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันว่า “เสื้อแดง” กำลังหลงประเด็น ขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบและยาวนาน และยิ่งตอกย้ำถี่ มากยิ่งขึ้นผ่านสื่อฟรีทีวีที่เจาะเข้าถึงแทบทุกครัวเรือนในประเทศไทย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานเมื่อ 30 ธันวาคม 2551 ว่ามี 17 ล้านครัวเรือนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ และชมสัญญาณจากช่องฟรีีทีวี และในจำนวนนี้มีประมาณ 3 ล้านครัวเรือนเท่านั้นที่รับ เคเบิลทีวี และติดตั้งจานดาวเทียมทุกระบบ ส่วนจำนวนประชาชนที่มีคอมพิวเตอร์ออนไลน์ยิ่งมีสถิติน้อย กว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่าจากการสำรวจการใช้คอมพิวเตอร์ในครัวเรือน เมื่อปี พ.ศ. 2549 พบว่าจากจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 18.06 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 3.08 ล้านครัวเรือน (17.1%) และครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียง 1.3 ล้านครัวเรือน (7.2%)

ในจำนวนนี้มีมวลชนของเสื้อแดงที่รับชมสื่อของเสื้อแดงกี่เปอร์เซ็นต์ กระทรวงเทคโน โลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งคอยเซ็นเซอร์อยู่อย่างเข้มงวดคงมีคำตอบ

นอกจากเชิดชูตัวบุคคลได้เหนือชั้นกว่าแล้ว ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังโฆษณามวลชนชวนเชื่อว่าฝ่าย เสื้อแดงทำร้ายชาติ ต่อสู้เพื่อคุณทักษิณเท่านั้น และนั่นคือภาพที่ปรากฎในสายตาของสื่อมวลชนในต่างประเทศส่วนใหญ่ด้วย จำนวนของมวลชนที่ยังเป็นพลังเงียบและเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อนี้ จึงมีอยู่อย่างมากมายมหาศาล

แล้วมวลชนเสื้อแดงจะชนะได้อย่างไร หากยังเล่นสู้กันในกรอบการชูตัวบุคคลเหมือนเดิมตลอดสามปีกว่าที่ผ่านมา และมุ่งใช้การต่อสู้ด้วยสันติวิธี และไม่มุ่งขยายแนวร่วมจากพลังเงียบทั้งในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศโดยการจี้จุดเรื่องประชาธิปไตยจอมปลอมของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดทำให้ไม่สามารถกระจายความมั่งคั่งสู่ประ ชาชนคนไทยได้อย่างทั่วถึง


การใช้สัญญลักษณ์สีแดงก็ดี การชูตัวบุคคลก็ดี ล้วนแต่มีจุดอ่อนที่ง่ายต่อการลอบสวมรอยและ ใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง ดังเช่นเกิดขึ้นแล้วในเทศกาลสงกรานต์เลือดปีนี้ การชูตัวบุคคลก็ไม่สามารถจะลบความร้ายกาจที่อีกฝ่ายใส่ร้ายป้ายสีให้ได้ แถมจะยิ่งทำให้เกิดการปีนเกลียวและฆ่า ฟันกันได้ง่ายๆ


ในเวทีระหว่างประเทศก็เช่นกัน สีแดงไม่ใช่สีที่โลกเสรีประชาธิปไตยเ้ข้าใจได้เท่าใดนัก สีแดงคือสีสัญญลักษณ์ที่ยังหลงเหลือจากยุคสงครามเย็น สีแดงคือสีของฟาสซิสม์คอมมิวนิสต์ สมัยนั้นคนไทยเกลียดและกลัวคอมมิวนิสต์ฉันใด คนไทยที่เป็นพลังเงียบก็ถูกทำให้เกลียดและกลัวคุณทักษิณฉันนั้น

แม้ว่าสมัยนี้จะมีคนตาสว่างมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมากแล้วก็ตาม แต่จะตาสว่างมากจนถึงขนาดเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ไหมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครกล้าตอบ เสียแรงที่จะโต้แย้งว่า สังคมนิยมประชาธิปไตยดีอย่างไร หรือคุณทักษิณทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทยอย่างไร คนเกลียดแล้วกลัวแล้วก็ยากที่จะขุดรากถอนโคนความคิดอนุรักษ์นิยมที่ครอบงำเขาได้ และสี แดงในบางประเทศ เช่นในเยอรมนี ยังชวนให้คนเยอรมนีคิดโยงไปถึงการใช้ความรุนแรงและการลอบสังหารของกลุ่มกองทัพแดง (Red Army Fraction หรือ RAF) เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ทันที ประชาธิปไตยไม่สามารถจำกัดได้ว่าต้องใส่เสื้อแดงเท่านั้นที่จะสู้เพื่อประชาธิปไตยได้ ประชาธิปไตยต้องใจกว้าง และประชาธิปไตยต้องหลากหลายสี


๒) ขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งในประเทศไทย และเพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ เสมอ ภาค และภราดรภาพของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกประสบความสำเร็จได้โดยไม่เคยใช้การต่อสู้โดยชู การต่อสู้เพื่อบุคคลใดคนหนึ่งเลย การต่อสู้ ๑๔ ตุลาคม ๑๖ ชนะได้เพราะนักศึกษาต่อสู้โดยชูรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง อินเดียได้เอกราชจากอังกฤษเพราะคนอินเดียต่อสู้เพื่อเอกราชของตนและประเทศ พวกเขาจะไม่ต่อสู้เพื่อมหาตมะ คานธีเลย หากมหาตะมะคานธีต่อสู้เพื่อตัวเอง ต่อสู้เพื่อฐานะการเงินของตัวเอง คานธีต่อสู้ด้วยจิตวิญญานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนอินเดีย ผู้ยากจน ผู้เป็นพลเมืองชั้นสองในประเทศของตัวเองที่ต้องการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอาณานิคม อังกฤษ ส่วนกำแพงเบอร์ลินล้มลงได้เพราะชาวเยอรมันตะวันออกต่อสู้เพื่อเสรีภาพของพวกเขา เอง การต่อสู้ทุกครั้งชนะได้ เพราะประชาชนกล้าต่อสู้ กล้าเผชิญหน้า และกล้าท้าทายกับเบื้องบน


แกนนำมีมวลชนมหาศาล แต่ต้องนำมวลชนต่อสู้ให้ถูกจุด สื่อสาระสำคัญที่ตรงจุดเป็นแก่นกลางของประชาธิปไตย ซึ่งทุกฝ่ายไม่สามารถปฏิเสธความถูกต้องนี้ได้ หากการเรียกร้องและต่อสู้ชูแก่นประชาธิปไตยโดยยอมละที่จะเอ่ยถึงใครคนใดคนหนึ่งเสีย ไม่ใช่เพราะความดัดจริตหรอก แต่เพื่อชัยชนะในการดึงมวลชนจำนวนมหาศาล ดึงพลังเงียบที่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ให้ออกมาร่วมสู้กับขบวนการประชาธิปไตยทั้งแผ่นดินให้ได้ เมื่อนั้นฝ่ายประชาธิปไตยจะได้ชัย ชนะด้วยการต่อสู้อย่างสันติธรรม

ก่อนปรินิพพาน องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงชี้ให้เห็นความสำคัญของหลักการมากกว่า ตัวบุคคล พระองค์ทรงกล่าวพุทธโอวาทถึงหกข้อ นอกจากเรื่องการวางตัวของภิกษุต่อสตรี เรื่องพระบรมสารีริกธาตุ เรื่องสังเวชนียสถานซึ่งจะเป็นสิ่งที่หลงเหลือไว้ให้ระลึกถึงพระองค์ และเรื่องธรรมะที่ว่าความพลัดพรากเป็นธรรมดาของโลกแล้ว พระพุทธเจ้ายังชี้ว่าธรรมและวินัย จะเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพราะบุคคลไม่เที่ยงแ่ท้เท่ากับพระธรรมซึ่งเป็นสัจจธรรม ที่แท้จริง

เช่นกันขบวนการต่อสู้ของประชาชนก็ต้องต่อสู้โดยชูหลักการของประชาธิปไตย โดย ไม่จำเป็นต้องชูตัวบุคคลเพื่อให้การต่อสู้ไขว้เขวเลย


การต่อสู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่งคืออันตรายสำหรับขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนต้องต่อสู้เพื่อตัวของพวกเขาเอง พวกเขาเท่านั้นคือประชาชนที่ทุกคนที่อยู่เบื้องบน ต้องฟังเสียง เหมือนชัยชนะที่เกิดขึ้นแล้วในเยอรมนีตะวันออกเมื่อชาวเยอรมันตะวันออกตะโกน ก้องในการเดินขบวนชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในปี 1989 ว่า “เราคือประชาชน” (Wir sind das Volk) ประชาชนต้องต่อสู้เพื่อตัวของพวกเขาเอง หากต่อสู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง โครงสร้าง ของอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในสังคมก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ประชาชน เปลี่ยนแปลงได้ก็เพียงแค่ตัวตนจากเผด็จการหน้าเก่าสู่เผด็จการหน้าใหม่เท่านั้น แล้วพวกเรา ก็คงต้องเดินขบวนต่อสู้กันต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้นเพราะระบบเก่าก็ยังเน่าเฟะและผูกขาดอยู่ เหมือนเดิม.