ที่มา Thai E-News
หลักฐาน - คลิปเหตุการณ์ทหารขัดขวางตำรวจจับกุมกลุ่มสร้างสถานการณ์บริเวณสีลม ซึ่งวิ่งหนีเข้าไปในเขตแนวทหาร เมื่อคืนวันที่ 22 เม.ย. เว็บยูทูบเผยแพรˆเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ (ภาพและคำบรรยาย:ข่าวสด)
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
24 เมษายน 2553
ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวสนามโทรทัศน์ช่อง 3:"เมื่อนักข่าวไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ หรือรายงานงานแล้วไม่มีคนเชื่อก็น่าเห็นใจสังคมไทยจริงๆ"(ภาพนี้ เมื่อครั้งโดนม็อบพันธมิตรฮือล้อมสมัยเป็นนักข่าวไอทีวีที่ไม่พอใจการรายงานจำนวนผู้ชุมนุม)บิ๊กช่อง3สั่งแบนห้ามฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวสนามของโทรทัศน์ช่อง 3 นำเสนอข่าวแล้ว หลังนำเสนอความจริงกระเทือนซางเผด็จการ เจ้าตัวออกโรงชี้แจงหลังกรณีทวิตผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวกรณีทหารใช้ปืนจ่อหัวพันตำรวจโทห้ามไม่ให้จับมวลชนของทหารที่ก่อเหตุปาระเบิดขวดที่สีลมวันเกิดเหตุบึ้มM79 โดยตำหนิแกนนำนปช.ที่นำไปขยายผลว่าทหารยิงเอ็ม79เอง ซึ่งคลาดเคลื่อนจากความจริง แต่ก็ยืนยันเหตุการณ์ทหารใช้ปืนจ่อหัวห้ามตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุปาระเบิดขวดวิ่งไปหลบหลังแนวทหาร ย้ำ"หากการทวิตข่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติก็พร้อมแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดแต่ขอรักษาไว้ซึ่ง เสรีภาพในวิชาชีพ" พ้อ "เมื่อนักข่าวไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ หรือรายงานงานแล้วไม่มีคนเชื่อก็น่าเห็นใจสังคมไทยจริงๆ" กระบอกเสียงลิ้มรุมยำ ขณะที่องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนออกแถลงการณ์ป้องแล้ว
แฉบิ๊กช่อง 3 สั่งแบนฐปนีย์แล้ว
หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันนี้(24เม.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงบ่ายวานนี้(23เม.ย.) ทางผู้บริหารของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ได้เรียก น.ส.ฐปนีย์ เอียดศรีไชยเข้าไปสอบถามข้อเท็จจริงถึงกรณีที่ โพสต์เหตุการณ์ทหารใช้ปืนจ่อหัวตำรวจ จากนั้นจึงมีคำสั่งไม่ให้น.ส.ฐปณีย์เข้าไปทำข่าว และให้หยุดการรายงานข่าวในพื้นที่ชุมนุมไว้ก่อน โดยให้เหตุผลว่าเกรงจะเกิดความไม่ปลอดภัย เนื่อง จากขณะนี้สังคมมีความเห็นที่ขัดแย้งมาก นอก จากนี้ยังขอให้ลบข้อความดังกล่าวที่โพสต์ลงในทวิตเตอร์ทิ้งและขอให้หยุดการใช้ทวิตเตอร์ทั้งหมด
รายงานข่าวจากนักข่าวสาว ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ช่อง 3 ผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัว ไม่ผ่านสื่อกระแสหลัก ชี้ว่าเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกี่ยวข้องกับการปาระเบิดเพลิง (ไม่ใช่เหตุการณ์ M79 ที่ทำให้คนเสียชีวิต) ซึ่งเกิดขึ้นหลังสี่ทุ่มคืนวาน (22 เม.ย.) มีความเกี่ยวข้องกับทหารที่เข้าประจำการที่สีลม
คุณฐปนีย์ เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวhttp://twitter.com/thapanee3miti แจ้งว่าตนเองนั้นได้อยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสี หรือกลุ่มประชาชนเสื้อเหลืองเก่าเมื่อวานนี้"นี่คือข้อเท็จจริง จากปากคำตำรวจยอมรับไล่กลุ่มชายฉกรรจ์ 20 คนที่ปาระเบิดขวดวิ่งหนีไปหลังแนวทหาร แต่กลับถูกทหารเอาปืนจ่อหัวบอกไม่ต้อง"
"ตำรวจบอกกลุ่มคนที่ก่อเหตุไม่ใช่คนสีลมหรือเสื้อหลากสี แต่เป็นกลุ่มจัดตั้งนี่เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ความเห็นนะคะ"
"โปรดใช้วิจารณญาณในการติดตามนะคะ นี่คือข้อเท็จจริงจากพื้นที่เกิดเหตุไม่ได้เข้าข้างใครแต่ทวิตจากสายตาที่เห็นหูที่ได้ยินคะ"
"ถามทหารแล้วไม่พูดไร แต่ตำรวจที่ถูกเอาปืนจ่อหัวเป็นระดับรองผกก และผบ.หมู่ แต่ก็นั่นแหละเขาไม่ยอมเปิดเผยใบหน้าก็ทำได้เท่านี้ ย้ำแค่บอกในสิ่งที่เห็น"
"เมื่อนักข่าวไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้หรือรายงานงานแล้วไม่มีคนเชื่อก็น่าเห็นใจสังคมไทยจริงๆ"
นสพ.ข่าวสด’ รายงานข่าวทหารปืนจ่อหัวตำรวจช่วงคุมสถานการณ์กลุ่มหนุนมาร์ค
เวบไซต์ประชาไท รายงานว่า
นสพ.ข่าวสด รายงานมีเหตุทหารใช้ปืนจ่อหัวตำรวจที่สีลมคืนวันที่ 22 เม.ย. จริงหลังตำรวจคุมสถานการณ์กลุ่มเสื้อหลากสีใช้สิ่งของขว้างปา แต่ทหารห้ามตำรวจติดตามต่อบอกเป็นมวลชนของทหาร ด้านสื่อนอกบันทึกภาพช่วงกลุ่มเสื้อหลากสีหนีไปหลังแนวทหารได้ ‘ฐปณีย์’ แจง 'ทวิตเตอร์' เรื่องตำรวจไล่ชายฉกรรจ์ที่หนีไปหลังแนวทหารเป็นเรื่องปาระเบิดขวดไม่ใช่เอ็ม 79 ยันรายงานข่าวยึดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ
ข่าวสดรายงานข่าวตำรวจถูกทหารใช้ปืนจ่อหัว หลังสลายม็อบหนุนมาร์ค
งานว่า วานนี้ (23 เม.ย.) เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานข่าวกล่าวว่าตามที่มีข่าวว่ามีนายตำรวจถูกทหารใช้ปืนจี้ศีรษะระหว่างการเข้าจับกุมบุคคลที่สร้างความวุ่นวายในบริเวณแยกศาลาแดงเมื่อคืน 22 เม.ย. โดยนายตำรวจรายนี้คือพ.ต.ท.ไกรศรี สุวรรณงาม รอง.ผกก.ป.สน.พระโขนง ซึ่งถูกสั่งการให้มากำกับดูแลกองร้อยควบคุมฝูงชน เพื่อป้องกันการปะทะระหว่างกลุ่มเสื้อแดง และกลุ่มเสื้อหลากสี ต่อมาในช่วงกลางคืน กลุ่มคนเสื้อหลากสีได้พยายามใช้เศษวัสดุขว้างปาใส่กลุ่มคนเสื้อแดง แต่เนื่องจากตำรวจตั้งแนวกันการปะทะอยู่ระหว่างกลุ่มคนทั้งสองฝ่าย ทำให้วัสดุต่างๆ ที่ขว้างปาโดนตำรวจเป็นส่วนใหญ่
พ.ต.ท.ไกรศรี พยายามเข้าจับกุม เพื่อไม่ให้เกิดการขว้างปาสิ่งของใส่กันอีกกลุ่มคนดังกล่าวจึงวิ่งหนี กลับเข้าไปในแนวของทหารที่อยู่ด้านหลังกลุ่มคนสีลม พ.ต.ท.ไกรศรี ได้วิ่งติดตาม แต่ถูกทหารที่ถือปืนเอ็ม16 กั้นไม่ยอมให้เข้าจับกุม แต่ พ.ต.ท.ไกรศรี ได้แหวกแนวทหารเข้าไป จนเมื่อมาถึงด้านหลังแนวทหาร ได้มีนายทหารสัญญาบัตร สวมหมวกและใส่แว่นตากันสะเก็ดระเบิด ได้เข้ามาประชิดตัว พร้อมชักปืนพกสั้นออกมาจี้ที่ศีรษะ พร้อมบอกว่าให้ออกไป คนเหล่านี้เป็นมวลชนของฝ่ายทหาร พ.ต.ท.ไกรศรี จึงแจ้งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ก่อเหตุใช้สิ่งของขว้างปาขอเข้าจับกุม แต่นายทหารคนดังกล่าวก็ยังปฏิเสธไม่ยอม ทำให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งหมดต้องออกมาจากแนวทหาร (อ่านข่าวของ นสพ.ข่าวสด ที่นี่)
ขณะเดียวกันมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศ คือ BreakNewPress สามารถบันทึกภาพช่วงที่ตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ของกลุ่มคนเสื้อหลากสีด้วย แต่ในภาพบันทึกเหตุการณ์ถึงช่วงที่ตำรวจใช้โล่และกระบองผลักดันกลุ่มเสื้อหลากสีที่หลบเข้าไปอยู่หลังแนวของทหารเท่านั้น คลิกที่นี่
ฐปณีย์แจงกรณีแกนนำ นปช. นำข้อความทวิตเตอร์ไปขยายผลคาดเคลื่อน
นอกจากนี้ในการรายงานของเนชั่นทันข่าวเมื่อวานนี้ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวรายการข่าว 3 มิติ ของช่อง 3 ก็เผยแพร่คำชี้แจงไปยังสื่อมวลชนกรณีการทวิตข่าวผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์เมื่อคืน 22 เม.ย. ซึ่งเป็นการรายงานเหตุการณ์เดียวกับกรณีของ พ.ต.ท.ไกรศรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
“สืบเนื่องจากกรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มนปช.ได้นำข้อความในทวิตเตอร์ของดิฉัน น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวรายการข่าว3 มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งใช้นามว่า @yam3miti หรือ @thapanee3miti ที่ระบุเรื่องตำรวจถูกทหารใช้ปืนจ่อหัวไปเรียกร้องให้ ศอฉ.ออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ และถูกนำไปตีความในหลายประเด็น
ดิฉันขอชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ ดิฉันไม่เคยรายงานข่าวว่า ทหารเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้เกิดระเบิด m79 บริเวณย่านสีลมเมื่อคืน วันที่ 22 เมษายน และไม่เคยรายงานกล่าวหาประชาชนชาวสีลม หรือ ประชาชนกลุ่มเสื้อหลากสีว่ายั่วยุให้เกิดความรุนแรงโดยใช้ระเบิดขวด ตามที่มีการเผยแพร่และวิพากษ์วิจารณ์กันในเว็บไซด์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้จากข้อความในทวิตเตอร์ของดิฉัน ซึ่งมีการส่งข้อความอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 22 เมษายน จนถึงเช้าวันที่ 23 เมษายน แต่ดิฉันได้ทวิตข้อความข่าวที่ระบุว่า “นี่คือข้อเท็จจริงจากปากคำตำรวจยอมรับไล่กลุ่มชายฉกรรจ์ 20 คน ที่ปาระเบิดขวดวิ่งหนีไปหลังแนวทหารแต่กลับถูกทหารเอาปืนจ่อหัวบอกไม่ต้องตามไป” จริง แต่ไม่เคยระบุเลยว่าทหารเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรง ซึ่งได้ส่งข้อความย้ำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือในช่วงเวลาหลัง 22.30 น.และเป็นกรณีกลุ่มก่อกวนปาระเบิดขวดไม่ใช่เรื่องระเบิด m79 หลายครั้ง ดังปรากฏอยู่ในทวิตเตอร์
ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นความเข้าใจผิดในการส่งต่อข้อความจาก ทวิตเตอร์ไปในแหล่งอื่นๆทางอินเตอร์เน็ตจนเกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์คลาด เคลื่อน ซึ่งหากติดตามข้อความในทวิตเตอร์ของดิฉันจะเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดว่าดิฉันไม่ได้บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือกล่าวหาผู้ใดโดยไม่มีหลักฐาน เนื่องจากการส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารเฉพาะกลุ่ม แต่สามารถส่งต่อไปถึงเพื่อนกลุ่มอื่นได้ ซึ่งในปัจจุบันผู้สื่อข่าวนิยมส่งข่าวผ่านทวิตเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร กันทำให้สามารถติดตามข่าวสารได้อย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในช่วงเกิดสถานการณ์ทางการเมืองนักข่าวหลายสำนักก็มักจะส่งข้อความ ผ่านทวิตเตอร์และติดตามกัน รวมทั้งตัวดิฉันด้วย จึงเป็นเหตุให้ข้อความต่างๆถูกส่งต่อไปได้ง่ายโดยผ่านการติดตามข้อความที่ ต่อเนื่อง ซึ่งการรายงานข่าวในทวิตเตอร์เป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ เสนอข่าวในรายการข่าว 3 มิติ หรือการรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 แต่อย่างใด เป็นการรายงานสถานการณ์สดผ่านมือถือส่วนตัวเท่านั้นไม่ได้ดำเนินการเป็น ธุรกิจหรือเพื่อประโยชน์ของใคร
ดิฉันขอยืนยันว่า ด้วยเกียรติของการทำหน้าที่สื่อมวลชนมา 10 ปี ไม่เคยคิดร้ายกับประเทศชาติและเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมือง ไม่เคยคิดที่จะยั่วยุให้เกิดความรุนแรงหรือซ้ำเติมสถานการณ์ของประเทศ ทำงานโดยยึดหลักของความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างดีที่สุด ทั้งการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง การเสนอข่าวอย่างรอบด้าน เป็นกลาง และไม่กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่มีหลักฐาน แม้ในบางสถานการณ์จะทำงานด้วยความยากลำบากก็ตาม แต่พยายามทำหน้าที่สื่อมวลชนให้ดีที่สุด
โดยไม่คิดว่าข้อความเพียงไม่กี่ข้อความในทวิตเตอร์จะนำมาซึ่งการวิพากษ์ วิจารณ์ต่างๆ ในสังคม หากข้อความใดทำให้ผู้อื่นเสียหายก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ แต่ยืนยันว่าทุกคำพูดผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอไปสู่สาธารณะ โดยทุกคนที่กล่าวอ้างมีตัวตนเอง ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักและผู้สื่อข่าวที่อยู่ร่วม เหตุการณ์ด้วย รวมทั้งได้รายงานไปตามสถานการณ์ที่เห็นจริง ไม่ได้แต่งเติมข้อความใด ๆ
จึงขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณในการติดตามข้อมูลให้ครบถ้วน โดยเฉพาะกรณีข่าวระหว่างตำรวจกับทหาร เป็นข้อเท็จจริงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว ซึ่งดิฉันเองก็พร้อมรับผิดชอบกับการทำหน้าที่ครั้งนี้”
สื่อค่ายเหลืองปั่นต่อ วิจารณ์ฐปณีย์หนัก
อย่างไรก็ตาม การชี้แจงของ น.ส.ฐปณีย์ ยังคงถูกนำไปบิดเบือนใน “รายงานการเมือง” ของผู้ใช้นามปากกาว่า “แสงตะวัน” เผยแพร่ใน ASTVผู้จัดการออนไลน์ ที่ระบุว่า น.ส.ฐปณีย์ทวิตว่า “เห็นทหารเอาปืนจ่อหัวตำรวจที่วิ่งไล่จับผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะเป็นผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ ประชาชนที่สีลม” พร้อมทั้งวิจารณ์ น.ส.ฐปณีย์ อย่างหนัก ทั้งที่ น.ส.ฐปณีย์ทวิตเมื่อ 00.30 น. ของวันที่ 23 เม.ย. ใน @thapanee3miti status ที่12652676359 ว่า “นี่คือข้อเท็จจริง จากปากคำตำรวจยอมรับไล่กลุ่มชายฉกรรจ์20 คนที่ปาระเบิดขวดวิ่งหนีไปหลังแนวทหารแต่กลับถูกทหารเอาปืนจ่อหัวบอกไม่ต้องตามต่อไป” ซึ่งเป็นเรื่องการรายงานเหตุการณ์ปาระเบิดขวด ไม่ใช่เหตุการณ์ยิง M 79 อย่างที่ ASTVผู้จัดการออนไลน์นำเสนอแต่อย่างได้
ล่าสุด เมื่อวานนี้ (23 เม.ย.) น.ส.ปฐณีย์ทวิตว่า “น้อมรับทุกคำวิจารณ์และข้อกล่าวหา คงไม่สามารถบอกให้ใครเชื่อว่าเป็นนักข่าวไม่มีสีขอให้ผลงานและกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์จนกว่าจะหมดลมหายใจ”
“หากการทวิตข่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติก็พร้อมแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดแต่ขอรักษาไว้ซึ่ง เสรีภาพในวิชาชีพ”
“ย้ำหากสิ่งที่เกิดขึ้นคือการเติมเชื้อไฟและถูกมองว่า เป็นสิ่งเลวร้ายมากก็ขอแสดงความรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวคะ” ทวิตเตอร์ของฐปณีย์ระบุ
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประณามการคุกคามฐปนีย์
ประชาไท รายงานด้วยว่า องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนแสดงความเป็นห่วงเรื่องเสรีภาพสื่อและสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองในไทยหลังมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระบุมีการปิดเว็บไซต์โดยอ้าง พ.ร.ก. ฉุกเฉินกว่า 350เว็บไซต์ ประหลาดใจที่ศาลยอมให้ปิดพีเพลชาแนลโดยอ้างอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมประณามการคุกคาม น.ส.ฐปณีย์ เอียดสีไชย ผู้สื่อข่าวทีวีที่รายงานเรื่องทหารไม่ให้ตำรวจติดตามผู้ต้องสงสัยที่สีลมเมื่อ 22 เม.ย.
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ซึ่งเป็นองค์กรติดตามการละเมิดเสรีภาพสื่อทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้เผยแพร่คำแถลง"ประเทศไทย: สื่อถูกรุมเร้าด้วยความรุนแรงและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน" ("Thaïlande: Violences et état d’urgence frappent lesmédias") โดยห่วงเรื่องการละเมิดเสรีภาพสื่อในประเทศไทยหลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
000
ประเทศไทย: สื่อถูกรุมเร้าด้วยความรุนแรงและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนแสดงความเป็นห่วงเรื่องเสรีภาพสื่อและสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศไทยหลังจากที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศย้ำให้ทุกฝ่ายเคารพและอนุญาตให้สื่อสามารถทำงานได้
"แรงกดดันจากวิกฤติครั้งนี้ยิ่งทำให้ต้องเคารพในสิทธิของการสื่อสารข้อมูล โดยที่ข่าวลือจะไม่มีอำนาจอยู่เหนือความจริง" องค์กรเสรีภาพสื่อกล่าว "แต่ความรุนแรงและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ผู้สื่อข่างทั้งชาวไทยและต่างประเทศอยู่ในสภาพสุ้มเสี่ยงจน กว่าประชาธิปไตยจะกลับคืนมา"
มีช่างภาพชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดย่านสีลม เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งในตอนนี้ยังไม่ทราบชื่อหรือสังกัดสื่อที่เขาอยู่
ผู้สื่อข่าวชาวฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ บอกว่า ในช่วงไม่กี่วันมานี้สภาพของผู้สื่อข่าวต่างประเทศเลวร้ายลงกว่าเดิม ผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ได้รับการฝึกฝนมาน้อยมากในการทำข่าวใน "พื้นที่ความขัดแย้ง" มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับบาดเจ็บจากก้อนหินและขวดน้ำที่ขว้างปามาจากผู้ชุมนุม มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางส่วนที่ไม่ได้ระมัดระวังในเรื่องนี้พยายาม 'ทำข่าว' การประท้วง โดยหวังว่าจะนำภาพถ่ายหรือวิดิโอการปะทะกันไปขาย
มีนักข่าวหลายคนเริ่มสวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายหรือสวมเสื้อยืดที่แจกโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) เพื่อบ่งบอกตนเอง
อย่างไรก็ตามทางสมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนไม่เห็นด้วยกับการที่กลุ่มเสื้อแดงขอให้ผู้สื่อข่าวสวมปลอกแขนสีเขียวที่มีคำว่า "ยุบสภา"
ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังขอประณามการการคุกคาม น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ จากการที่เธอรายงานทาง Twitter เรื่องที่มีทหารบางคนห้ามไม่ให้ตำรวจไล่ตามผู้ต้องสงสัยที่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดวันที่ 22 เม.ย.
ทางองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนรู้สึกประหลาดใจกับการตัดสินของศาลที่ยกฟ้องการที่รัฐบาลปิดสัญญาณโทรทัศน์ของพีเพลชาแนล โดยศาลให้เหุผลว่าการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลทำให้มีการใช้อำนาจดังกล่าวได้
มีกรณีใกล้เคียงกันเกิดขึ้นในวันที่ 23 เม.ย. เมื่อ น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการประชาไทที่เป็นเว็บไซต์ข่าวอิสระ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรณีที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐสั่งปิดเว็บไซต์ประชาไทตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. โดยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และให้ยกเลิการปิดเว็บไซต์ซึ่งถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ซึ่งระบุถึงการคุ้มครองการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยทางศาลตัดสินว่าทางรัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจเกินเลยเนื่องจากอยู่ภาย ใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉิน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
การเซ็นเซอร์และคุกคามสื่อกำลังส่งผลกระทบต่ออินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ถูกแบนมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากคำสั่งการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT) ประกาศในวันนี้ (23 เม.ย.) ว่ามีการปิดเว็บไซต์แล้วอีกกว่า 350 เว็บไซต์ หลังจากที่ในสัปดาห์ก่อนหหน้านี้ปิดเว็บไซต์ไปจำนวน 190 เว็บไซต์ และมีอยู่ 36 เว็บไซต์ที่ถูกปิดตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.
ทำให้จำนวนเว็บไซต์ที่ถูกปิดตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2,500 เว็บไซต์ เว็บไซต์ที่ถูกปิดทั้งหมดตอนนี้เชื่อมโยงกับคนเสื้อแดง และมีภาพถ่ายและวิดิโอที่บันทึกการชุมนุม แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นเว็บไซต์สำนักข่าวอิสระ
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนขอให้รัฐบาลยกเลิกการเปิดเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นโดยทันที และจะสั่งปิดสื่อก็ต่อเมื่อสื่อนั้นๆ ยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง และปิดหลังจากที่มีการดำเนินการตามกระบวนการศาลก่อน
ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงความโปร่งใส อย่างถึงที่สุดในการสืบสวนการเสียชีวิตของฮิโระ มุราโมโตะ ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น ซึ่งควรมีผลการตรวจสอบออกมาในวันที่ 26 เม.ย. "รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้" คำแถลงของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุ