WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 21, 2010

สมศักดิ์เจียมฯ:ถ้าสู้ถึงที่สุดแล้วก็ยังได้ไม่คุ้มเสีย ควรปรับใช้ยุทธศาสตร์สู้ยืดเยื้อดีไหม?

ที่มา Thai E-News



โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา บอร์ดคนเหมือนกัน

สิ่งที่เป็น bottomline (ฐานการวินิจฉัย) คือ 2 คำถาม และ 2 คำตอบ ต่อไปนี้

คำถามที่ 1- สิ่งที่อาจจะได้มาในการต่อสู้นี้ มีคุณค่ามากพอกับชีวิตที่เสียไปแล้ว 20(+5)ศพ (ไม่นับบาดเจ็บพิการ) และที่อาจจะสูญเสียอีก หรือไม่?

ขอให้สังเกตว่า ผมใช้คำว่า "สิ่งที่อาจจะได้มา" เพราะ ณ จุดนี้ ยังไม่มีอะไรที่ได้มาอย่างเด่นชัด

แต่ขอให้ลองคิดว่าสิ่งที่อาจจะได้มา จะมีอะไรบ้าง เรียงจากระดับ "ต่ำสุด" ถึง "สูงสุด" ได้ดังนี้

(ก) ยุบสภา มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งอย่างเร็วที่สุดตอนนี้ (นับร่นไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป) คือ ประมาณเดือนต้นมิถุนายน
(ข) อภิสิทธิ์ ออกจากตำแหน่งนายกฯ
(ค) เปรม ออกจากตำแหน่งองคมนตรี
(ง) องคมนตรีหมดบทบาทในการแทรกแซงทางการเมือง
(จ) บทบาททหาร ตุลาการ และ กระบวนการ "ตุลาการภิวัฒน์" สิ้นสุด
(ฉ) xxx หมดอำนาจในการแทรกแซงทางการเมือง
(ช) ทักษิณ พ้นคดีต่างๆ กลับเข้าสู่การเมืองโดยปกติอีกครั้ง


หมายเหตุ: ผมละเว้น "ไม่ได้อะไรเลย" ออกไป ซึ่งความจริง ยังเป็นความเป็นไปได้อยู่เช่นกัน

กรณี (ช) ที่ผมเอาไว้หลัง (ค) ถึง (ฉ) ทั้งๆที่ ในแง่ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่อง "เล็ก" หรือ "ขั้นต่ำ" กว่า นั้น เพราะในกรณีนี้ คิดในเชิง "เวลา" คือ ถ้าไม่ผ่าน (ค) หรือ (ง) ไปถึง (ฉ) โอกาสที่จะเกิด (ช) เป็นเรื่องยาก

ผมเว้นช่องว่างระหว่าง (ข) กับข้อที่ตามมา เพราะคิดว่า ข้อที่ตามมาจาก (ข) คือ (ค) ลงมา โอกาสเป็นไปได้ ยากยิ่งขึ้นอีกเยอะ เรื่องนี้ มีผลต่อคำตอบที่ผมให้ข้างล่าง (ดูคำอธิบายข้างล่างประกอบ)

คำถามที่ 2 - การสูญเสียในคำถามแรกซึ่งก็เป็นผลมาจากการปะทะทีเกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษา และอาจจะเกิดขึ้นอีก เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้หรือไม่?
....................

คำตอบของผม สำหรับ คำถามข้อ 1 คือ - ไม่ (ABSOLUTELY NOT)

คำตอบนี้อยู่บนฐานที่ว่า สิ่งที่อาจจะได้มา ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะเกิน (ข) แต่สำหรับผมต่อให้เป็น (ค) ผมก็ยังอาจจะตอบว่า "ไม่" เช่นเดิม ยกเว้นแต่เป็น (ง) ขึ้นไป แต่ถ้าเช่นนั้น อาจจะต้องตั้งกรอบในการถามใหม่

คำตอบของผม สำหรับ คำถามข้อ 2 คือ - ใช่ (ABSOLUTELY)

2 คำตอบ ต่อ 2 คำถามนี้ ไม่จำเป็นต้องออกมาในลักษณะเช่นนี้ หมายถึงว่า ถ้าคำตอบข้อแรกเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นว่า คำตอบข้อหลังต้องเปลี่ยนตามด้วย คือ สมมุติว่า คำตอบว่า "ไม่" ในคำถามแรก (สิ่งที่อาจจะได้มา ไม่มีคุณค่าพอสำหรับการสูญเสียที่เกิดแล้วและอาจจะเกิดอีก) เปลี่ยนเป็น "ใช่" (เพราะปรากฏว่าสามารถได้มากกว่า (ข) อาจจะได้ถึงระดับ (จ) เป็นต้น) คำตอบข้อหล้ง ก็ยังอาจจะเป็น "ใช่" อยู่นั่นเอง แต่เรื่องนี้ ต้องพิจารณารูปธรรมอีก ซึ่งจะไม่อภิปรายในที่นี้ (เพราะไม่คิดว่า จะได้มากถึงระดับเกินข้อ ข)

ถ้าวิธีคิดเรื่อง bottomline (ทั้งคำถามและคำตอบ) ที่เสนอนี้ถูกต้อง ก็แสดงว่า การนำ (leadership) ของ นปช. อย่างน้อยที่สุด ต้องกล่าวว่า มีปัญหาอย่างยิ่ง (highly problematic) หรือถ้ายิ่งกว่านั้น คือ ผิด

ปล.2 ประเด็นว่า ความเป็นไปทางการเมืองและสังคม มีลักษณะ dynamic ที่ไม่สามารถเรียบเรียงในลักษณะเรียงลำดับเป็นขั้นๆเป็นตอนๆ ผมตระหนักดีอยู่ว่า มีความจำกัด แต่คิดว่า ไม่ถึงกับทำไม่ได้ เพื่อความชัดเจน



Gramsci's strategic recommendation (ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่) กับการต่อสู้ของ นปช

ผมกำลังพยายามเขียนบทความเรื่องหนึ่ง ให้ชื่อทำนองว่า Gramsci's strategic recommendation(ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่) โดยจะอภิปรายข้อความทีมีชื่อเสียงเป็นตำนาน (legendary passages) ของกรัมชี่ใน Prison Notebooks ว่าด้วย War of Position กับ War ofManoeuvre

บทความจริงๆต้องการให้เป็นบทความทางทฤษฎีวิชาการ ไม่ใช่เกี่ยวกับการเมืองปัจจุบัน แต่มีนัยยะบางอย่างเกี่ยวกับข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่ ทีคิดว่า น่าสนใจ และอาจจะชวนให้คิดเกี่ยวกับปัจจุบันได้ ผมจึงนำมาเล่าให้ฟังก่อนอย่างสั้นๆ ดังนี้

สิ่งที่เป็นหัวใจของข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่ คือ

ในประเทศที่สังคมมีพัฒนาการในระดับที่ค่อนข้างมากแล้ว คือมีความซับซ้อนมากขึ้นในแง่กลไกสังคมทางวัฒนธรรมต่างๆ การต่อสู้กับศัตรูในลักษณะโจมตีแบบรวดเร็ว, ฉับพลัน และซึ่งๆหน้า ชนิด "ม้วนเดียวจบ" (frontal war หรือ war of manoeuvre) ไม่อาจนำมาซึ่งชัยชนะแท้จริงได้ เพราะอำนาจแท้จริงของศัตรู มีฐานที่กว้างขวางซับซ้อนในสังคมมากกว่าเพียงแค่กำลังหรืออำนาจแคบๆเพียงหยิบมือเดียว (มีคนสนับสนุน เห็นชอบด้วยหนาแน่นในสังคม และในกลไกต่างๆ) ซึ่งเราสามารถเอาชนะด้วยการโจมตีแบบ war of manoeuvre แล้วชนะได้

ดังนั้น จึงควรใช้ยุทธศาสตร์แบบยืดเยื้อ "ขุดสนามเพลาะ" (trench warfare หรือ war of position) เอาชนะในแง่ของการเมืองและวัฒนธรรม ยึดเป็น "จุดๆ" หรือ "ที่มั่นๆ" ในแต่ละช่วง (one or several positions at a time) ไม่ใช่ทีเดียว (all at once) แบบ war of manoeuvre (เพราะทำไม่ได้ด้วย คือไม่สามารถเอาชนะด้วย frontal war ทีเดียว)

.................

ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่สามารถใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันของ นปช. ได้เพียงใด โปรดพิจารณา .....