WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 23, 2008

ก.ตปท.เสนอหารือสร้างอุโมงค์ผันน้ำโขงใน คกก.4 ประเทศ

รมว.ต่างประเทศเสนอไอเดียตั้งคณะกรรมการแห่งชาติขึ้นมารับผิดชอบโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมนัดผู้แทน 4 ประเทศหารือเร็ว ๆ นี้

นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มาที่กระทรวงในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างเป็นทางการว่า ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก
รัฐบาลลาว ซึ่งตนมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะนายทองลุน สีสุลิด รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศของลาว , นายบัวสอน บุบผาวัน นายกฯ และ พล.ท.จูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศ

โดยประเด็นหลักที่มีการหารือกัน คือ เรื่องความร่วมมือด้านการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดน หรือ การปักปันเขตแดน ซึ่งไทย - ลาวมีชายแดนทางบกยาวถึง 702 กม. และทางน้ำอีก 1000 กว่า กม.โดยทางบกนั้น สามารถเจรจาปักปันเขตแดนสำเร็จไปแล้วถึง 690 กม. เหลืออีกเพียง 12 กม. ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนทั้ง 2 ฝ่ายตั้งเป้าว่าจะดำเนินการให้เสร็จทั้งหมดภายในปี 2008 ปี ส่วนทางน้ำจะให้เสร็จภายในปี 2010

ขณะเดียวกันก็มีการหารือกันถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ที่เชื่อม จว.นครพนมของไทย กับ แขวงคำม่วนเมืองท่าแขกของลาว ระยะทาง 700 เมตร เป็นงบประมาณ 1400 ล้านบาท ซึ่งไทยจะออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเอง โดยจะเร่งให้มีการวางศิลาฤกษ์เร็ว ๆ นี้ จะได้เริ่มก่อสร้างทันที มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

นอกจากนี้ยังเห็นชอบร่วมกันที่จะเปิดด่านชายแดนถาวรไทย - ลาวเพิ่มอีก 4 แห่ง คือที่ จว.น่าน , เลย , พะเยา , อุตรดิศถ์ โดยนายนพดล บอกว่า จะนำเรื่องนี้เสนอนายกฯ ในการประชุม ครม.ครั้งต่อไปซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุนชายแดนระหว่าง 2 ประเทศให้พัฒนามากขึ้น

ส่วนเรื่องโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามาใช้ในระบบชลประทานในภาคอิสานของไทยนั้น นายนพดล บอกว่า ในการเยือนลาวครั้งนี้ ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาหารือ เพราะต้องรอให้นักวิชาการได้สำรวจความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของโครงการก่อน โดยในส่วนของประเทศไทยอาจตั้งเป็นคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมารับผิดชอบโครงการโดยเฉพาะ เนื่องจากโครงการนี้เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็น ก.เกตรฯ , ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ และ ก.ต่างประเทศ ขณะเดียวกันในส่วนของ ก.ต่างประเทศก็จะหยิบยกเรื่องนี้ในการประชุมคณะ กมธ.ร่วม 4 ประเทศ คือ ไทย - ลาว - พม่า - กัมพูชา ในเร็ว ๆ นี้ด้วย (22/02/51)