WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 26, 2008

ย้อนรอยรัฐธรรมนูญ 50 (1) : จับโกหกคนรับร่างฯ

“รับๆ ไปก่อน อะไรไม่ดีแล้วค่อยมาแก้...”

หากยังพอจำกันได้ ข้างต้นนั้นคือประโยคสุดคลาสสิกของฝ่ายสนับสนุนการ “รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ขณะนั้นยังรอการทำประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550

ในห้วงยามนั้นที่ประชาชนส่วนใหญ่เบื่อหน่าย และละเหี่ยใจกับการบริหารประเทศของรัฐบาลแต่งตั้ง ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ เบื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ที่มีประธานชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หลายฝ่ายที่รู้และเข้าใจภาวะความรู้สึกของประชาชนแบบนี้ ได้หยิบฉวยวิกฤติมาพลิกให้เป็นโอกาส ด้วยการใช้ “การเลือกตั้ง” มาเป็นตัวประกัน

นั่นคือการเดินเกมต่อรองกับประชาชนว่า ถ้าต้องการให้รัฐบาลขิงแก่ออกไปเร็วๆ ถ้าอยากให้มีการเลือกตั้งไวๆ อยากให้ประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยด่วน...

ก็จง “รับ” ร่างรัฐธรรมนูญซะ!!!

ส่วนมาตราไหนที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่ดี ไม่ชอบใจ ก็อยากให้ปิดตาข้างเดียวเพื่อกากบาทรับๆ มันไปก่อน...แล้วค่อยดำเนินการแก้ไขในภายหลัง

ส่วนหนึ่งของคนที่ออกมาพูดเช่นนี้ ก็คือ คนที่อยู่ในขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ขึ้นมาทั้งสิ้น และยังใช้ประโยคดังกล่าวในการโฆษณาหาเสียงให้คนไปรับร่างฯ เสียด้วยอีก

เช่น นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ขณะนั้นสวมหมวกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 ได้ให้สัมภาษณ์แก่คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษของหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ว่า

“...ถ้านึกถึงว่าควรมีการเลือกตั้งก็ควรต้องให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ อาจทำได้อีกอย่างคือ เมื่อมีคนชอบหรือไม่ชอบบางส่วน ทั้ง สสร. หรือประชาชน ถ้าไปเขียนเพิ่มอีกมาตราหนึ่งว่า เมื่อเลือกตั้งเสร็จ มีรัฐบาลใหม่เสร็จเรียบร้อย ภายใน 90 วัน ให้สภาตั้งกรรมาธิการ หรือดำเนินการเพื่อศึกษารัฐธรรมนูญว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร”

“นั่นจะทำให้ทุกคนเห็นความหวังว่า รับไปก่อน ส่วนอะไรที่ผิดพลาดก็ค่อยไปแก้ คงช่วยผ่อนปรนไปได้...”

หรือที่ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ตัวจริง ชัดเจน” ทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2550 ว่า

“...ร่างรัฐธรรมนูญถ้าเรารับไปก่อนแล้วค่อยแก้จะทำได้ง่าย แต่การที่ไม่รับเลยแล้วเราจะเอาอะไรไปแก้ แล้วเราจะเลือกตั้งกันตอนไหน...”

ทำนองเดียวกันกับคำกล่าวของ นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในเวทีสาธารณะเพื่อการประชันความคิด (ดีเบต) จุดเด่น จุดด้อย ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่จัดโดยมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550

“...แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด แต่ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการกลับคืนมาของอำนาจประชาชนอย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน และทำให้ คมช. สิ้นสุดสภาพลงไปด้วย จึงอยากให้มีการรับร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน จากนั้นค่อยมาแก้ไขทีหลังในประเด็นที่ไม่เห็นด้วย...”

หรือ นายวิชา มหาคุณ รองกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ได้กล่าวไว้ในการอภิปรายเรื่อง “แนวคิดและทิศทางในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” จัดโดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เมื่อ 4 พฤษภาคม 2550

“...อยากถามว่า ประชาชนจะเลือกอะไร ระหว่างรับรองรัฐธรรมนูญ ฉบับ สสร. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือจะรอให้ คมช. ข่มขืนเอารัฐธรรมนูญออกมา..."

“...ขอให้ประชาชนลองดูโฉมหน้ารัฐธรรมนูญก่อนว่าดีหรือไม่ เหมือนการตัดสินใจแต่งงาน บางทีรูปร่างไม่สวยไปบ้างเพราะมาจากการรัฐประหาร แต่ขอให้ดูที่จิตใจว่าจิตใจดีหรือไม่ ถ้ามองว่าดีก็ให้แต่งไปก่อน แล้วส่วนที่ยังบกพร่องก็ค่อยไปปรับปรุงเอาภายหลัง...”

จะเห็นว่า ทั้งเรื่องการเลือกตั้ง ทั้งการบอกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฉบับ 2540 มาใช้...ล้วนถูกนำมาใช้เป็นข้อข่มขู่ประชาชนให้เดินออกไปรับร่างฯ ทั้งสิ้น

และแม้ว่าจะมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่ตกหลุมพราง หนำซ้ำยังตะโกนถามกลับไปยังคนที่ออกมาพูดเช่นนั้นว่า ถ้ารู้ว่าต้องแก้ไขแล้ว เหตุใดไม่ร่างให้ดีๆ มาตั้งแต่ต้น

แต่ก็ยังมีประชาชนอีกไม่น้อยเช่นกันที่ “รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก” เพราะเบื่อหน่ายสภาพการเมืองสังคมในเวลานั้นเต็มทน และหวังว่าการเลือกตั้งจะช่วยฉุดรั้งหรือนำทางให้เห็นความหวังอันเลือนรางขึ้นมาได้บ้างก็ยังดี...

แต่ ณ วันนี้ ที่การริเริ่มความคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกจุดประเด็นขึ้นมาด้วยผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง บรรดาคนผู้เคยสนับสนุนก็ดาหน้าออกมาปกป้องผลงานตัวเองอย่างขาดใจไม่แพ้กัน ทั้งที่ก่อนหน้านั้น พวกตนนี่แหละที่เคยหยอดคำหวานไว้ว่า รับไปก่อน แล้วค่อยแก้ก็ได้...

จะว่าไป คนที่เคยยืนหยัดไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น ก็รู้ดีว่ามันเป็นเพียงลมปาก ที่ถ้าหากเตะเนื้อชิ้นนี้เข้าปากสุนัขไปแล้ว จะง้างเขี้ยวออกมาปรุงกันใหม่ก็เห็นจะเลือดตาแทบกระเด็น

จะมีก็แต่คนที่ยอมรับๆ กันไปด้วยเชื่อใจว่าจะแก้ไขได้ภายหลังนั้น ไม่รู้ป่านนี้จะตาสว่างและเห็นธาตุแท้คนเหล่านั้นกันบ้างหรือไม่...

และที่สำคัญ ซาบซึ้งใจกันบ้างไหมที่เคยกากบาทรับร่างรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยปัญหาที่สุดฉบับนี้