เว็บไซต์นิตยสาร ไฟแนนเชียลไทม์ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีภายหลังจากที่เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ โดยพาดหัวข้อว่า Thai image harmed by coup ซึ่งระบุว่า การปฏิวัติรัฐประหารของกองทัพเมื่อปีที่แล้วทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนักลงทุนชาวต่างประเทศจากทั่วโลก
ทั้งนี้ อดีตนายกฯทักษิณ ซึ่งถูกกองทัพยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 จนต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ เป็นเวลานานประมาณ 17 เดือนก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีต้องเผชิญกับความยากลำบากในการพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวต่างชาติแม้ว่าการส่งมอบอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนที่ตั้งขึ้นมาโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นไปอย่างเรียบร้อย
‘เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะตอบคำถามของนักลงทุนชาวต่างชาติภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร และยังทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางด้านการเมือง' อดีตนายกฯทักษิณกล่าวให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของไฟแนนเชียล ไทม์
นับตั้งแต่ที่เดินทางกลับประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่หวนกลับคืนไปสู่การเมืองอีก และพยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความยุ่งยากต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยในจำนวนนี้ได้ปฏิเสธข้อเสนอจากนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ตัวเขามาเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
‘ถ้าหากผมเข้าไปช่วยรัฐบาล บางทีผมอาจจะเป็นตัวสร้างปัญหาให้รัฐบาลมากกว่าที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ' อดีตนายกฯทักษิณกล่าว
ในรายงานของไฟแนนเชียล ไทม์ระบุด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณแสดงความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย และสร้างรายได้เข้าประเทศคิดเป็นมูลค่ามหาศาล
อย่างไรก็ดี พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวเสริมว่า ภาคเอกชนในประเทศไทย ควรจะใช้ประโยชน์จากสถานการณ์เงินบาทที่กำลังแข็งค่าขึ้นในขณะนี้ไปลงทุน โดยการนำเข้าเครื่องจักรหนักที่ทันสมัยจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ทดแทนเครื่องจักรเก่าล้าสมัย ซึ่งใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศมาเป็นเวลานาน แทนที่จะไปพึ่งเรื่องการส่งออกแต่เพียงอย่างเดียว
สำหรับค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าแตะระดับประมาณ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตการเงิน และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540-2541 ที่ผ่านมา ภายหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติได้ยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนที่รัฐบาลชุดก่อนเคยประกาศใช้ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
‘เราจำเป็นต้องใช้โอกาสที่เงินบาทแข็งค่า และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวเพื่อนำเข้าสินค้าประเภททุน และเครื่องจักรต่าง ๆ' พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว และเสริมว่า เราใช้เทคโนโลยีที่เก่าล้าสมัยมานานหลายปีแล้ว ดังนั้นขณะนี้จึงเวลาที่จะต้องลงทุนกันแล้ว
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวด้วยว่า ความวุ่นวายทางการเมือง อันรวมถึงเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการทำลายภาพลักษณ์ระหว่างประเทศของไทย ซึ่งในเรื่องนี้ อดีตนายกฯทักษิณกล่าวว่า ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู
‘ความเชื่อมั่นมีราคาที่แพงมาก ๆ ในด้านเศรษฐกิจ' พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว และเสริมว่า เมื่อความเชื่อมั่นดังกล่าวหมดสิ้นไป ก็ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการนำความเชื่อมั่นกลับคืนมา และก็ต้องใช้เวลาด้วย ไม่ใช่เพียงแค่เงินอย่างเดียว
ไฟแนนเชียล ไทม์รายงานในตอนท้ายด้วยว่า ในช่วงที่บริหารประเทศเป็นเวลานานประมาณ 6 ปี พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างมาก ยิ่งกว่านั้น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ ของพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของเขายังได้รับความชื่นชม และครองใจประชาชนยากจนในเขตชนบท
อย่างไรก็ดี ไฟแนนเชียล ไทม์ระบุว่า ลักษณะความเป็นผู้นำของเขาสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มชนชั้นนำ และการขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปของครอบครัวคิดเป็นมูลค่า 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 7 หมื่นล้านบาทให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งของสิงคโปร์ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่จากประชาชนจนในที่สุดนำไปสู่เหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2549 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณยังถูกกล่าวหาใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในระหว่างที่บริหารประเทศโดยเกี่ยวพันกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่นำมาประมูลขาย แต่อดีตนายกฯทักษิณได้ปฏิเสธว่าตัวเขาไม่ได้ทำความผิด ยิ่งกว่านั้น ยังมีคดีหลีกเลี่ยงภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปด้วยจนกระทั่งมีการแช่แข็งทรัพย์สินของอดีตนายกฯ และครอบครัวคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท กระนั้นก็ดี ในที่สุดพ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางกลับประเทศเพื่อมาต่อสู้ข้อกล่าวหา และคดีความต่าง ๆ แล้ว
00000000000000000000000000000000000000000000000
Thai image harmed by coup, says Thaksin
By Amy Kazmin in Bangkok
Published: March 3 2008 22:00 Last updated: March 3 2008 22:00
Thailand's military coup and the ensuing political uncertainty have done serious damage to the country's image, Thaksin Shinawatra, its former prime minister, claimed on Monday in his first interview since his emotional homecoming last week.
Mr Thaksin, who was ousted from power 17 months ago, said the newly elected government would find it difficult to revive investor confidence, in spite of the smooth handover from the military-installed administration.
"It's quite difficult after a coup d'etat - political uncertainty is going to be a big question for the investor," Mr Thaksin told the Financial Times.
Since his return, Mr Thaksin has pledged to stay out of politics. He said on Monday that to avoid causing difficulties for the new administration, he had turned down a request from Surapong Suebwonglee, the finance minister, to serve as an economic adviser.
"If I were to help the government, I would probably create more problems than [I would] solve," he said.
Mr Thaksin said he believed that Thailand would be able to ride out the slowdown in the US, one of its largest export markets, and said the country should exploit the strength of the baht to buy new capital goods from abroad, rather than lament the impact on exports.
The baht on Monday touched 31.5 against the US dollar, its highest level since the beginning of the 1997-98 Asian financial crisis, as the central bank lifted capital controls imposed in December 2006 by the military-installed government.
"We need to take the opportunities of the strong baht and weaker dollar to import capital goods and machinery," Mr Thaksin said. "We have been using the old technology for many years so it's now time to invest."
Mr Thaksin said the past two years of political turmoil - including the coup - had been highly damaging, particularly in terms of eroding Thailand's international image, which he said would take time to restore.
"Confidence is very expensive economically," he said. "When it's gone, it will cost a lot of money to bring it back - and time, not just money."
During nearly six years in power, Mr Thaksin, a billionaire telecommunications mogul, oversaw a period of robust economic growth and won the adoration of the rural poor for his populist policies. But his leadership style antagonised Thai elites and his family's tax-free $1.9bn profit on the sale of the Shin Corp telecoms group to Singapore's Temasek Holdings triggered mass protests that culminated in the coup in September 2006.
Mr Thaksin was charged on his return with abuse of power related to his wife's acquisition of a Bangkok real estate plot from a central bank distressed asset fund. He denies any wrongdoing. He also faces years of potential court wrangles in an attempt to recover the profits from the Shin Corp sale, which were frozen by the military- installed government
จาก hi-thaksin