WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 16, 2008

คนไทยเฮ!ฟรี 'น้ำ-ไฟ-รถ'ตะลึง ‘สมัคร’ ทุ่ม 4.6 หมื่นล้านช่วยคนจน

คนจนได้เฮกันถ้วนหน้า หลังรัฐบาลประกาศข่าวดี “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน” “สมัคร” ใจป้ำยอมทุ่มงบกว่า 4.6 หมื่นล้าน ช่วยประชาชนลดค่าใช้จ่าย เริ่มตั้งแต่การปรับลดภาษีน้ำมัน ก๊าซหุ้งต้ม อุ้มค่าน้ำ - ค่าไฟ สุดกำลัง แถมให้นั่งรถเมล์-รถไฟฟรี “พูนภิรมย์”ย้ำหลังหมดโปรโมชั่นไม่กระทบการปรับขึ้นราคา LPG ด้าน “หมอเลี้ยบ” มั่นใจเป็นมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือถึงมือผู้มีรายได้น้อยมากที่สุด ขณะเดียวกันก็กำลังหาหนทางแก้ปัญหาในระยะยาวไปด้วย

* “พูนภิรมย์” ยันพ้น6เดือนไม่กระทบราคาLPG
คนจนได้เฮกันถ้วนหน้า หลังรัฐบาลประกาศข่าวดี “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ยอมทุ่มงบกว่า 4 หมื่นล้าน ช่วยประชาชนลดค่าใช้จ่าย ด้วยการปรับสดภาษีน้ำมัน ก๊าซหุ้งต้ม อุ้มค่าน้ำ - ค่าไฟ สุดกำลัง แถมนั่งรถเมล์-รถไฟฟรี “พูนภิรมย์”ย้ำหลังหมดโปรโมชั่นไม่กระทบการปรับขึ้นราคา LPG ด้าน “หมอเลี๊ยบ” เผยกำลังหาหนทางแก้ปัญหาในระยะยาวด้วย

ท่ามกลางการรอคอยข่าวดีจากรัฐบาล ในวลา 13.30 น. วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เปิดแถลงข่าว “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” พร้อมกับ 4 รัฐมนตรี ประกอบด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกรวงพลังงาน

โดยนายกรัฐมนตรีได้เริ่มกล่าวถึงการบริหารงานของรัฐบาล ว่าขณะนี้ได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลา 5 เดือนครึ่ง โดยรัฐบาลได้คิดแก้ไขปัญหาของประเทศอยู่เสมอ คณะรัฐมนตรีทุกคนได้ทำหน้าที่ร่วมกันทำงานทุกคน และในที่สุดเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลทำงานมาจะครบ 6 เดือน จึงได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากเป็นตัวกำหนดสถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเมือง โดยในวันนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณามาตรการช่วย เหลือประชาชน “ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” โดยมีมติเห็นชอบการดำเนินการ 6 มาตรการคือ

ปราการแรก รัฐจะดำเนินการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันจะถูกลงด้วยการยอมลดภาษีใช้เวลา 6 เดือนในระหว่างตั้งตัวก่อนที่งานใหญ่เมกกะโปรเจคท์จะเกิด เพื่อลดราคาน้ำมัน โดยจะมีการกำหนดวันเวลาให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการตรวจสอบโดยข้าราชการประจำต้องเห็นด้วยทั้งหมด โดยจะมีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันคือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85

ทั้งนี้จะทำการลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น

ส่วนน้ำมันดีเซลนั้น รัฐได้ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บน้ำมันดีเซลลงจาก 2.30 บาทต่อลิตรเหลืออยู่ที่ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel :B5 ) ลงจากเดิม 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือก เอ็นจีวี

นอกจากนี้ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงาน และเพื่อรักษาสภาพของครัวเรือนซึ่งใช้เป็นมาตรฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ส่วนการพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0 – 50 ลูกบาศก์เมตร/เดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของผู้บริโภค โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย โดยแบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาคประมาณ 2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 และ 176 บาทตามลำดับ

ขณะที่การลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายใน 2 กรณีคือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวงประมาณ 0.41 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 – 200 บาท/ครัวเรือน

ประเด็นต่อมานายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการปรับลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง โดยจัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คน ในจำนวน 73 เส้นทาง โดยเป็นรถโดยสารธรรมดา เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการปล่อยรถเมล์ที่วิ่งบริการฟรีสลับกับรถเมล์ที่เก็บเงิน โดยจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการได้รับทราบ
ส่วนการปรับลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ทั่วประเทศ ให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน (6 เดือน)

อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มาตรการทั้งหมดจะใช้เวลา 6 เดือนเพื่อเป็นการผ่อนคลายให้กับประชาชน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และจะสิ้นสุดมาตราการดังกล่าวสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552

หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการแถลงนโยบาย ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวทำการสอบถามถึงมาตราการทั้งหมด ซึ่งในส่วนของการปรับขึ้นราคาภายหลังหมดระยะของมาตราการที่กล่าวมา โดยพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี หลังจากตรึงราคา 6 เดือน ตามมาตรการของรัฐบาลในเดือน ม.ค.ปี 2552 จะพิจารณาแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ให้กระทบภาคครัวเรือน ขณะนี้ก๊าซแอลพีจีถังขนาด 15 กิโลกรัม ราคา 280 บาท ส่วนการปรับเพิ่มราคาแอลพีจี ภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง จะชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ แต่จะพยายามหามาตรการเยียวยาไม่ให้ได้รับผลกระทบมาก

เมื่อถามถึงกรณีนโยบายคูปองคนจน ที่รัฐบาลจะดำเนินการก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การนำ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย มาใช้นั้นเนื่องจากเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยจากสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ทั้งประปา ไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง ส่วนมาตรการการแจกคูปองให้กับผู้มีรายได้น้อยนั้นคงไม่ได้นำมาใช้ เนื่องจากไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้มีความยากจนจริง
ขณะที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า 6 มาตรการ เป็นมาตรการที่เหมาะสมในการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยช่วยเหลือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นส่วนอัตราการช่วยเหลือยังคงอยู่ในกรอบเดิมที่เคยได้ตั้งไว้ประมาณ 300-400 บาทต่อเดือน ส่วนการแจกคูปองให้กับผู้มีรายได้น้อยนั้นคงไม่นำมาใช้ในขณะนี้แต่จะทำการศึกษาต่อในระยะยาวเพื่อศึกษาพื้นฐานในการกำหนดเกณฑ์ผู้มีรายได้น้อย
อนึ่ง ประมาณการว่าจะใช้เงินงบประมาณในระยะเวลา 6 เดือนประมาณ 4 หมื่นล้านบาทเศษ
อย่างไรก็ตามพวกที่ค้านทุกเรื่องอย่างกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังคงออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวหาว่ามาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐบาลนั้น เป็นเพียงการหาเสียงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่