WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 18, 2008

คนผิด หรือ รัฐธรรมนูญผิด

คอลัมน์ : ละครชีวิต

ทำท่าว่าจะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตให้ชวนปวดหัว ไม่รู้จะหาทางกู้ชีพคืนชีวิต ส.ส. กับ ส.ว. กว่า 100 คน ที่ถูกยื่นตรวจสอบคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ ได้อย่างไร

ส.ส. กับ ส.ว. 100 กว่าคน รายงานบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ว่าถือหุ้นบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐบาล บริษัททำธุรกิจผูกขาดตัดตอน และบริษัทประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน ทำท่าว่าจะตายน้ำตื้น ชนิดที่ไม่มีทางเยียวยา เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 (2) เขียนไว้แบบไม่เปิดช่องให้หายใจ

รัฐธรรมนูญ ไม่ได้เปิดช่องให้ตะแบงว่า เล่นหุ้นไม่ผิด ถือหุ้นจึงผิด

รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ยกเว้นว่า หากไม่มีอำนาจบริหารบริษัท ไม่ผิด

รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ยกเว้นว่า หากขายออกไปแล้วขาดทุน ให้ถือไว้ก่อนได้ ไม่มีความผิด

รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ยกเว้นว่า หากถือหุ้นนิดหน่อย ไม่ผิด

รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ในมาตรา 48 เลยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือหุ้นบริษัทที่ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน

หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม มิได้

“มิได้” แปลว่า ถือเท่าไรก็ไม่ได้ กี่หุ้นก็ไม่ได้ หรือ ไม่มีสิทธิถือหุ้นเลย เพราะเป็นของต้องห้าม หากถือไว้จะต้องมีอันเป็นไป

รัฐธรรมนูญ มาตรา 265 กำหนดไว้ว่า ส.ส. และ ส.ว. ต้องพ้นจากสมาชิกภาพ หากถือหุ้นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐบาล หรือทำธุรกิจผูกขาดตัดตอน

ไม่มีถ้อยคำใดที่ยกเว้นให้ว่าถือน้อยไม่ผิด ถือมากผิด ถืออย่างเดียวไม่ผิด ถือแล้วบริหารผิด

แสดงว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 นี้ก็คือว่า ถือหุ้นเดียวก็ไม่ได้ จะมีส่วนในการบริหารหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องพิจารณา เพราะว่าเป็นของต้องห้าม หากถือไว้จะต้องมีอันเป็นไป

ขณะนี้ยังมองไม่เห็นทางรอด ทางออก ทางกู้ชีวิต ส.ส. กับ ส.ว. กว่า 100 คนนี้ เพราะพยานหลักฐานพร้อมลายเซ็นกำกับ รับรองความถูกต้องของเอกสารที่ตนแสดงว่าถือหุ้นขัดรัฐธรรมนูญ ถูกเก็บเข้าแฟ้มหลักฐานของ ป.ป.ช. เรียบร้อยแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้

จะขายหุ้นออกไปทั้งหมดในเวลานี้ เพื่อแสดงว่าไม่มีเจตนาถือไว้ ก็หมดเวลาเสียแล้ว เพราะการกระทำขัดรัฐธรรมนูญมันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปหมดแล้ว อีกทั้งยังเป็นการกระทำความผิดอย่างจงใจ และเปิดเผย โดยไม่เกรงกลัวบทลงโทษด้วยซ้ำไป

สถานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะยืดเยื้อ ยาวนานไปอีกนานเท่าไร ก็อยู่ที่อาการยื้อของแต่ละคนว่า จะต่อชีวิตตัวเองไปได้อีกกี่วัน

ในส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. กว่า 100 คน ที่ชะตาขาด ถึงฆาตไปแล้ว ก็ได้รับรู้กันไปหมดแล้ว ทีนี้ก็ต้องมาพิจารณาย้อนหลังกันว่า แล้วบุคคลกว่า 100 คน เหล่านี้ เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็น ส.ส. และ ส.ว. กันได้อย่างไร ใครเป็นผู้ที่ทำให้ผู้มีคุณสมบัติไม่ถูกต้องกว่า 100 คน มาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิด ออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย และกระทำการอีกหลายเรื่องหลายประการที่ต้องมาตีความกันว่า จะเป็นปัญหาหรือไม่ในภายหลัง

ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ต้องจ่ายเงินเดือน เบี้ยประชุม สวัสดิการ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้แก่ ส.ส. และ ส.ว. ที่ขาดคุณสมบัติเหล่านี้ และจะต้องติดตามทวงคืน

ย้อนกลับไปดูที่มาของ ส.ส. และ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องชี้ผู้กระทำความผิดไปที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 5 คน ที่ประกาศรับรองผู้มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ เป็น ส.ส. และ ส.ว.

ในกรณีนี้ แสดงให้เห็นว่า กกต. ไม่ได้ตรวจสอบเลยว่า บุคคลใดมีคุณสมบัติขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หรือตรวจสอบแล้วแต่ไม่ได้ดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และมาตรา 265 ทั้งๆ ที่มี กกต. 2 คน ไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย จึงปฏิเสธว่าไม่รู้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ ไม่ได้

หาก กกต. ชี้ว่า ทั้งกว่า 100 คนนี้ มีคุณสมบัติไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องอธิบายกันนานว่า ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญอ่านและแปลว่าอย่างไร

หาก กกต. ชี้ว่าทั้งกว่า 100 คนนี้ มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องอธิบายว่า ทำไมจึงรับรองผู้มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญเป็น ส.ส. และ ส.ว.

ในส่วนของ ส.ว. สรรหา ซึ่งมีที่มาจากการพิจารณาคัดสรรและแต่งตั้ง โดยคณะกรรมการ 7 คน ประกอบด้วย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายอำพล สิงหโกวินท์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

ก็ต้องชี้ไปที่ คณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คน เป็นผู้กระทำความผิด เนื่องจากสรรหาและแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ มาเป็น ส.ว. ทั้งๆ ที่ในระหว่างการพิจารณาสรรหา ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน และไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หากไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ ก็สามารถเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้

แต่สุดท้ายก็ยังมีบุคคลมากกว่า 10 คน ที่มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คน เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่ง น่าสงสัยและสมควรแก่เหตุที่จะตั้งข้อสังเกตว่า ทั้ง 7 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรอบรู้ทางกฎหมาย และเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มีเจตนาที่จะกระทำการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากว่าไม่มีการพลิกแพลงตะแบงลิ้น เอาสีข้างเข้าถู ตีความกฎหมายแบบ “พวกกูไม่ผิด” เชื่อได้ว่าจะต้องมีการเลือกตั้งซ่อม และสรรหา ส.ว. ใหม่ ในอีกไม่ช้านานจากนี้ไป

คำถามก็คือว่า ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา จะแสดงความรับผิดชอบเช่นไร ในกรณีเช่นนี้ ที่ทำให้บ้านเมืองเสียหาย

ลาออก หรือ ผูกคอตาย เพราะอยู่ไปก็อาย...มัน

แต่สำหรับประชาชน นี่เป็นโอกาสที่จะดำเนินการตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 เอาตัวเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มาลงโทษให้สาสมกันเสียที