WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 14, 2008

‘สมัคร’ชักธงรบ บี้ป.ป.ช.-ลุยแก้รธน.

* เชื่อเป็นหนทางเดียวหยุดวิกฤติการเมือง
“สมัคร” ชักธงรบพวกจ้องทำลายรัฐบาล ฉุดรั้งการทำงานเพื่อประเทศชาติ ประกาศเปิดสภาเดือนสิงหาคมนี้ เดินหน้าแก้ไข รธน.50 ทันที ระบุสารพันปัญหาการเมืองล้วนมีที่มาจากรัฐธรรมนูญที่เป็นมรดกตกทอดจากการปฏิวัติรัฐประหาร “นักวิชาการ-ภาคประชาชน-นักกฎหมาย” เรียงหน้าหนุนเต็มที่ เชื่อแก้ รธน.เป็นทางออกเดียวของ “วิกฤติการเมือง” วอนพลังบริสุทธิ์ช่วยกันออกมาปลดล็อกพันธนาการรัฐบาล ยืนยันเป็นการแก้ไขเพื่อวันข้างหน้า ไม่เกี่ยวยุบพรรค เย้ย ปชป. ถ้าไม่กลัว ม.237 ลด กก.บห.พรรคทำไม ขณะที่องค์กรภาคประชาชนบุกสภาวันนี้ ยื่นสอบคุณสมบัติ ปปช.

* “นักวิชาการ-นักกฎหมาย”หนุนแก้ รธน.ด่วนที่สุด
แม้ว่ารัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นจากคนไทยทั้งประเทศจะเข้ามาบริหารบ้านเมืองเป็นเวลากว่า 4 เดือนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มกำลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนได้อย่างเต็มที่ เพราะติดขัดเงื่อนไขหลายประการที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งร่างขึ้นในยุครัฐบาลเผด็จการ รวมทั้งยังมีขบวนการทั้งกลุ่ม ก๊วน และพรรคการเมือง ที่มีเจตนาอันเดียวกันในการล้มล้างรัฐบาล คอยขัดแข้งขัดขาอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะมีท่าทีโอนอ่อนผ่อนตามเงื่อนไข ข้อเรียกร้องหลายประการ เพื่อให้เกิดความสบายใจแก่ทุกฝ่าย แต่ก็กลับมีการบิดเบือน ตะแบง สร้างเงื่อนไขใหม่ขึ้นมาตลอดเวลา

ชักธงรบ-เดินหน้าแก้ รธน.50
ในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ใช้เวลานานเป็นพิเศษเพื่อพูดถึงสารพัดปัญหาทางการเมือง ว่าล้วนมีสาเหตุมาจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นมรดกตกทอดจากการปฏิวัติ และในการเปิดสภาสมัยหน้า รัฐบาลจะขอแก้รัฐธรรมนูญทันที

พร้อมกันนี้ยังได้พูดถึงกรณีวุฒิสมาชิก 77 คน ยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ว่ายุติธรรมหรือไม่ เพราะ ป.ป.ช. มีที่มาไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นองค์กรที่มีที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร จึงเป็นแค่องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ ไม่ได้เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนทำหน้าที่ ทำไมถึงสามารถมีสิทธิที่จะชี้ผิดถูกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว

ส่วนการยุบพรรคพลังประชาชนนั้น เห็นว่ามีเหตุมาจากรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร่างมีแต่ความเกลียดชัง นอกจากยังมีรัฐธรรมนูญอีกหลายมาตราที่มีปัญหา เช่น เรื่องที่มาของวุฒิสภา

แก้ รธน.-ต้านตุลาการภิวัตน์
สำหรับการขับเคลื่อนการแก้ไข รธน.50 ที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนั้น ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม ได้มีการประชุมกันของกลุ่ม นปช. เนื่องจากได้มีการประชาชนจำนวนมากที่เรียกร้องและให้การสนับสนุน ส่วนประเด็นที่พูดคุยกันจะเป็นเรื่องของการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

มีการกำหนดยุทธศาสตร์ คือต้องการเร่งผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว เพื่อคัดค้านการเกิดรัฐประหารโดยคณะตุลาการภิวัตน์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนแต่ละกลุ่มในแต่ละจังหวัดได้มีการเตรียมตัวเพื่อจัดตั้งมวลชน เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น

ส่วนในเรื่องของสถานการณ์ในปัจจุบันก็เป็นห่วงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นห่วงว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หรือหากเกิดการรัฐประหาร เราจะรับมืออย่างไร จะปกป้องประชาธิปไตยไว้อย่างไร

เชื่อมีคนโดดขวางแก้ไข รธน.แน่
ซึ่งตอนนี้กระบวนการที่ทาง คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.)ได้ยื่นรายชื่อเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตอนนี้อยู่ในขั้นของกระบวนการตรวจสอบรายชื่อ เมื่อทางสภาตรวจสอบเสร็จแล้วก็จะส่งต่อไปยังสำนักงานทะเบียนเพื่อตรวจสอบรายชื่ออีกครั้ง ซึ่งกระบวนการในขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลามากสักหน่อย

ส่วนในสถานการณ์ในตอนนี้หากจะกระตุ้นให้ทางรัฐบาลหรือ ส.ส. มีวิธีการที่อาจจะใช้ระยะเวลาน้อยกว่าในการเร่งให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นการเข้าชื่อให้ได้ 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกของ ส.ส. ทั้งหมด แต่ทั้งนี้เชื่อว่าการผลักดันและเดินหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือทาง คปพร. ก็อาจจะได้รับการขัดขวางจากคนบางกลุ่ม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คงไม่มีกลุ่มใดที่อยากจะได้รับความพ่ายแพ้

แต่เชื่อว่าในช่วงระยะ 3 เดือนนี้ที่จะมีการเปิดสภาในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 สถานการณ์ของคณะรัฐบาลไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เชื่อว่าทางรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

จัดเวทีสภาประชาชน19 ก.ค. นี้
ด้าน นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ คปพร. กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยระบุว่า แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด ส่วนกรณีการยุบสภาเพื่อทำการเลือกตั้งใหม่นั้น คงไม่จำเป็น ควรให้การเมืองเป็นไปตามปกติ ซึ่งแม้ภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินชี้ขาดในคดีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนแล้วก็ตาม แต่กระบวนการยุบพรรคต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยส่วนตัวคาดว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญคงจะมีการพิจารณาเสร็จสิ้นก่อนอย่างแน่นอน

ส่วนในที่ประชุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้มีการหารือในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีความคิดเห็นพ้องกันว่าแนวทางการแก้ไขควรเร่งดำเนินให้เร็วที่สุด รวมทั้งจะมีการจัดเวทีสภาประชาชน ครั้งที่ 2 ในบ่ายวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคมนี้ เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ทันที และให้รักษาระบอบประชาธิปไตยให้คงอยู่ ส่วนในด้านสถานที่จัดการประชุมนั้นคาดว่าอาจจะใช้สถานที่หอประชุมคุรุสภา แต่คงมีการเปลี่ยนแปลงภายหลังอีกครั้งหนึ่ง เพราะไม่อยากจะเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ย้อน ปชป. ลด กก.บริหารพรรคทำไม
นพ.เหวง กล่าวด้วยว่า จากการที่เปิดให้ประชาชนลงชื่อเพื่อยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา จากทั้งหมดที่ร่วมลงชื่อ 210,000 รายชื่อ ได้มีการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว 80,000 รายชื่อ เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพียง 50,000 รายชื่อ คาดว่าไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ญัตติร่างแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 น่าจะเข้าสู่สภาทันสมัยหน้า และเห็นว่า ส.ส. ควรเร่งเสนอเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว

ส่วนสาเหตุที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2550 เพราะเห็นว่าเป็นปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลไหนเข้ามาก็ทำงานไม่ได้

ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลเตรียมเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะมาตรา 237 วรรคสอง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป นอกจากไม่ลดการซื้อเสียงแล้ว ยังเปิดให้มีการกลั่นแกล้งทางการเมือง โดยจะยื่นทันทีเมื่อเปิดการประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ

พร้อมกันนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่กลับมาตราดังกล่าว ทำไมถึงมีการปรับลดคณะกรรมการบริหารพรรค เหลือเพียง 15 คนเท่านั้น และการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่กลัวมาตรา 237 หรือมีภูมิคุ้มกันอย่างอื่นกันแน่

“ลุงชัย”ขานรับญัตติแก้ รธน.
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) พร้อมคณะ เดินทางเข้าพบ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการผลักดันญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับ คปพร. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคปพร. กล่าวภายหลังการเข้าพบประธานสภาผู้แทนราฎร โดยระบุว่า ขณะนี้ได้มีการตรวจสอบรายชื่อของผู้เข้าร่วมลงนามว่ามีสิทธิตามรัฐธรรมนูญไปเรียบร้อยแล้วกว่า 8 หมื่นรายชื่อ จากนั้นเมื่อทำการตรวจสอบเสร็จสิ้น จึงจะส่งเรื่องไปยังกรมการปกครอง เพื่อตรวจสอบทะเบียนราษฎร และการปิดประกาศสาธารณะเป็นเวลา 10 วันซึ่งเป็นลำดับต่อไปโดยเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย ทั้งนี้ นายชัย ชิดชอบ ได้กล่าวย้ำว่า ไม่ได้ทอดทิ้งญัตติดังกล่าว และยังคงติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นั้นมีกฎหมายบางมาตราที่ยังคงสร้างปัญหา และความยุ่งเหยิงให้แก่การทำงานของรัฐบาลอย่างมากมาย

อย่างไรก็ตามแกนนำ คปพร. กล่าวเสริมว่า ทางคณะคปพร.มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์แทรกซ้อนทางการเมือง และมีการดำเนินการตามครรลองของกฎหมาย ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ของ คปพร. ฉบับดังกล่าวจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรภายในปลายเดือนสิงหาคมนี้อย่างแน่นอน

วอน ปชช.ช่วยปลดพันธนาการ
ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.2) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเร่งด่วนที่จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ขณะนี้สถานการณ์บ้านเมืองกำลังมาถึงทางตันแล้ว ไม่มีทางออกอื่นใด ดังนั้นประชาชนที่อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยควรจะออกมาต่อสู้ปลดล็อกโซ่ที่พันธนาการรัฐบาลเพื่อการบริหารประเทศเป็นไปได้มากกว่านี้

“การที่กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) จะมีการหารือเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นต้นตอของปัญหาที่แท้จริง และต้องการที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย”

การที่ยังคงนิ่งเฉยอยู่โดยไม่ทีท่าที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เช่นนี้ รัฐบาลก็เหมือนตกอยู่ในสภาพที่ทำงานหรือบริหารงานได้ยากลำบาก ดังนั้นจำเป็นที่ คปพร. จะนำรายชื่อที่ได้รวบรวมไว้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 แสน 6 หมื่นรายชื่อเข้ายื่นต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าสู่กระบวนการในการแก้ไขต่อไป

ดร.เมธาพันธ์ กล่าวต่ออีกว่า ตนอยากที่จะขอเรียกร้องให้ประชาชนที่กำลังต่อสู้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ควรที่จะออกมาเรียกร้องและผนึกกำลังเพื่อกดดันให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างด่วนที่สุด เพราะต้นตอของความทุกข์ร้อนของประชาชนล้วนมาจากรัฐธรรมนูญเป็นโซ่ล่ามเอาไว้

แก้รธน.เพื่ออนาคต-ไม่เกี่ยวยุบพรรค
นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการปกป้องตัวเอง เพื่อไม่ให้มีการยุบพรรค อยากบอกว่าการเดินหน้าในกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการแก้ไขเพื่ออนาคต ที่ประเทศจะได้สามารถมีการบริหาร และพัฒนาในระบอบของประชาธิปไตยที่เต็มรูปแบบได้ และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับเรื่องของการยุบพรรคแต่อย่างใด

ด้าน อ.วสันต์ ลิมป์เฉลิม อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ สมาชิกนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี กล่าวว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน โดยรัฐบาลควรเดินหน้านำเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติโดยเร็ว ดังจะเห็นว่าผลพวงจากกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเช่น มาตรา 237 ส่งผลกระทบและปัญหาต่อรัฐบาลอย่างชัดเจน เพราะขณะนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ตนยังมองไม่เห็นทางออกที่ดีที่สุด แต่เมื่อต้นเหตุคือรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเริ่มต้นสางปัญหาตรงจุดนั้น หรือจะรอให้ทุกอย่างเละเทะไปเสียก่อนจึงจะมีการแก้ไขหรืออย่างไร

นักวิชาการเชื่อแก้รธรน.เป็นทางออก
เช่นเดียวกับ อ.วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวทำนองเดียวกันว่า ในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติที่จะถึงนี้ ควรที่จะมีการดำเนินการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เข้าสู่ที่ประชุมสภา โดยให้เป็นไปตามความรับผิดชอบจากผู้ที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจที่จะดำเนินการอยู่แล้ว

ทั้งนี้ตนจะไม่กล่าวว่าเห็นด้วยหรือไม่กับที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีออกมาพูด เนื่องจากเป็นคนละประเด็น แต่เมื่อมองในแง่ของเนื้อหาสาระแล้ว ในขณะนี้การทำงานของรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง และไม่เป็นไปตามความคาดหมายของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้บริหารประเทศด้วยข้อจำกัด ทำให้เกิดความยุ่งยาก อย่างไรก็ตามตนยังไม่เห็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เพราะต่างคนต่างความคิด และแนวทางก็มีร้อยแปด แต่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นเรื่องที่สมควรจะทำอย่างยิ่ง

นักก.ม.ระบุเตื่อนแล้วว่าจะมีปัญหา
นอกจากนี้ นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า ตนขอกล่าวในฐานะนักกฎหมาย ซึ่งทางสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ทำการเตือนมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้เป็นเวลา 3 เดือนแล้วว่า รัฐบาลควรเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550

โดยเร่งด่วน เพราะถ้าไม่เร่งแก้ไขจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา ทั้งด้านการบริหาร และด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติจะเสียหายหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 237 การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งในขณะนี้เห็นได้ชัดแล้วว่า อำนาจของ ส.ว. 74 คน สามารถจัดการทุกอย่างได้มากแค่ไหน

“ ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับคุณสมัคร นี่ขอตอบแบบไม่เลือกข้าง ผมขอพูดในฐานะนักกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าอำนาจการบริหารของรัฐบาลเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทางสมาคมเองก็ได้เสนอและเตือนไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า ควรเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหา ซึ่งตอนนี้ปัญหาก็เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่เร่งทำการแก้ก็จะกระทบต่อระบบทุกระบบ ไม่มีกรรมการบริหารพรรค เศรษฐกิจเสียหาย ไม่สามารถทำอะไรได้” นายนรินทร์พงศ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมต่อว่า การยุบสภาไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะขณะนี้ยังคงมีอำนาจการบริหารอยู่ ส่วนประเด็นการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับครม.นั้น รัฐบาลควรจะดำเนินการหาบุคคลมาบริหารงานแทนในส่วนตำแหน่งที่ขาดหายไป แต่ท้ายที่สุดแล้วก็เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะจัดการบริหาร

ยื่นสภาสอบคุณสมบัติ ป.ป.ช.
ส่วนที่เป็นข้อกังวลสงสัยกันถึงที่มาและคุณสมบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ที่ส่อว่ามีที่มาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นองค์กรที่มีที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร นั้น

ในวันนี้ (14 ก.ค.) นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ ผู้ประสานงานสหภาพครูแห่งชาติ พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรภาคประชาชน จะเดินทางเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการองค์กรอิสระ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุทิน คลังแสง เป็นประธานเพื่อให้ตรวจสอบคุณบัติของ ป.ป.ช. ที่รัฐสภา เวลา 10.00 น.