WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 15, 2008

หยุด!ละเมิดพระราชอำนาจ

คอลัมน์: บทบรรณาธิการ

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

เป็นกฎหมายลูกของ รัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันร่างขึ้นมา และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2542 – ปัจจุบัน ไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์

เป็นที่กังขาในสังคมไทยปัจจุบันนี้ ที่มีคนส่วนหนึ่งเห็นว่า ป.ป.ช. ชุดนี้ที่มีกรรมการรวม 9 คน ประกอบไปด้วย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ และกรรมการอีก 8 คน ได้แก่ นายกล้านรงค์ จันทิก นายใจเด็ด พรไชยา นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ศ.ภักดี โพธิศิริ ศ.เมธี กรองแก้ว นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย วิวิตเสวี และ น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล มีที่มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ท้าทายจริยธรรม คุณธรรม สปิริต ในตำแหน่งที่จะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบผู้อื่นหรือไม่

เป็นที่ทราบกันดีว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้เป็นผลิตผลของคณะปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ตามประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ที่คนไทยค่อนข้าง “คุ้นหู” กับวลีเด็ดในช่วงนั้น “โปรดฟังอีกครั้ง”

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า คนทั่วบ้านทั่วเมือง รับรู้ รับทราบ โดยทั่วไปว่า คปค. เป็นคนแต่งตั้ง ป.ป.ช. ซึ่ง เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542
แม้จะมีความพยายามอ้างจากนักวิชาการ ที่ออกมาบอกว่า “รัฐาธิปัตย์” แต่สามารถทำอะไรขัดกับกฎหมายบ้านเมืองได้ เพราะมีปืนเป็นอาวุธใช่หรือไม่

วันนี้อำนาจ “รัฐาธิปัตย์” มาจากประชาชน สมควรที่จะต้องตรวจสอบ ผลิตผลของคณะปฏิวัติ 2549 โจรปล้นประชาธิปไตย ว่ามีการกระทำที่เป็น ไปตามกฎหมายได้หรือไม่ หรือ กระทำการขัดตัวบทกฎหมายอย่างไร

ปัญหาอยู่ที่ตัวบทกฎหมายที่เขียน บทเฉพาะกาลคุ้มครอง เอาไว้แล้ว

แต่สิ่งที่ท้าทายกว่าในยุคปัจจุบันนี้คือ จริยธรรม คุณธรรม ซึ่งสูงส่งกว่ากฎหมาย

และที่สำคัญเหนืออื่นใดคือ เรื่อง “พระราชอำนาจ”

แม้ รัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีบทเฉพาะกาล เพื่อให้สิทธิกับคณะกรรมการ ให้อยู่จนครบวาระก็ตาม แต่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เปิดทางให้ กรรมการ ป.ป.ช. พ้นสภาพได้โดยการ “ลาออก” แล้วเปิดทางให้กรรมการท่านใหม่เข้าทำหน้าที่ตามเจตจำนงแห่งการตรากฎหมาย

แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นกับ “สปิริต” สำหรับจริยธรรม คุณธรรม และการสำนึกในเรื่องพระราชอำนาจของประธานและคณะกรรมการทั้ง 9 คน ว่าจะมีมากน้อยขนาดไหน