WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 13, 2008

ปรับ ครม. จ่อยุบสภา

สั่นสะเทือนไปทั้งวงการเมือง

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดออกมาว่า คำ แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

มีลักษณะครบองค์ประกอบของความเป็นสนธิสัญญา ตาม อนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969

และเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงถือ เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190

พร้อมทั้งวินิจฉัยชี้ขาดด้วยว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2

ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ผลจากคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาในครั้งนี้ เท่ากับเป็นการตัดสินอย่างชัดเจนว่า

การดำเนินการของนายนพดลที่ไปลงนามในแถลงการณ์ ร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชานำปราสาทพระวิหาร ไปขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว

เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อกฎหมายสูงสุดของประเทศ

และเมื่อประเด็นการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2

เสียงเรียกร้องถามหาความรับผิดชอบจากนายนพดลก็ดังกระหึ่ม

และเมื่อปรากฏว่า คณะกรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา

เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเสียอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร และความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศไทยอาจต้องเสียดินแดน บริเวณพื้นที่ทับซ้อนในอนาคต ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น

กระแสกดดันพุ่งเข้าใส่นายนพดลในฐานะเป็นผู้ลงนาม ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา แบบเต็มๆ

ส่งผลให้นายนพดล ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่นายนพดลจะแถลงลาออกเพียง ไม่กี่ชั่วโมง ทางด้านฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ก็ชิงยื่นเรื่อง ต่อประธานวุฒิสภา

เพื่อขอให้ถอดถอนนายนพดลออกจากตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270

ในข้อหาส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มีเจตนาจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ตาม ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชี้ขาด

ทั้งนี้ โดยขั้นตอนเมื่อประธานวุฒิสภาตรวจสอบรายชื่อผู้ยื่นเรื่องถอดถอน แล้วจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณา

งานนี้ แม้นายนพดลลาออกไปแล้ว แต่กระบวนการถอดถอนยังต้องดำเนินต่อไป

เพราะจะมีผลไปถึงการส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในอนาคต

นี่คือ วิบากกรรมที่นายนพดลต้องเผชิญ

แต่ปัญหายังไม่จบแค่นั้น

เพราะพรรคประชาธิปัตย์ยังเตรียมการที่จะยื่นถอดถอนนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคนอื่นๆที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกมติ ครม.อนุมัติการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา ขัดรัฐธรรมนูญ อีกระลอก

งานนี้ ถือเป็นปมร้อนของรัฐบาล เพราะโดยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ เมื่อประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.แล้ว ป.ป.ช. ต้องดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว

ที่สำคัญ หาก ป.ป.ช.ชี้ว่าข้อกล่าวหามีมูล นายกฯและรัฐมนตรี ที่ถูกยื่นถอดถอนจะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที จนกว่าวุฒิสภา จะมีมติคำร้องถอดถอน

ในขณะที่ ส.ว.ก็เตรียมที่จะยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ตามมาตรา 275 ของ รัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ดำเนินคดีกับ ครม.ที่กระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานกระทำการและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติ ครม.อนุมัติการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา

ยังไม่รวมถึงแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เข้าแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาขอใช้สิทธิตามมาตรา 164 ของรัฐธรรมนูญ ในการรวบรวมรายชื่อ ประชาชน 2 หมื่นคน เพื่อขอถอดถอน ครม.ทั้งคณะในกรณีปราสาทพระวิหารเช่นกัน

ทุกประเด็นสะเทือนต่อ สถานภาพนายกฯ สุ่มเสี่ยงต่อความอยู่รอดของรัฐบาลเต็มๆ

เหนืออื่นใด การที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำพิพากษาคดีใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน

กรณีแจกเงินให้แก่กลุ่มกำนันในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยตัดสินว่า นายยงยุทธกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ตามที่คณะ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สอบสวนวินิจฉัย

สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

จากการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งในครั้งนี้ ส่งผลให้นายยงยุทธต้องถูกเว้นวรรคการเมือง 5 ปี

หลุดจากวงจรการเมืองทันที

แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ

เพราะในช่วงขณะกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง นายยงยุทธมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน

ผลจากคดีนี้จึงต้องถูกลากโยงไปสู่คดียุบพรรคพลังประชาชนอีกกระทอก

โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานสรุปสำนวนส่งต่ออัยการสูงสุด

ทั้งนี้ หากทางอัยการสูงสุดเห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอ ก็ต้องกลับมาตั้งคณะกรรมการร่วมจากอัยการสูงสุดกับ กกต.พิจารณาสำนวนร่วมกัน

ถ้าเห็นชอบร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรค

แต่ถ้าฝ่ายอัยการสูงสุดไม่เห็นด้วย ประธาน กกต.ก็มีสิทธิที่จะ ใช้อำนาจในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาสั่งยุบพรรคได้

สุดท้ายถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีมติชี้ขาดให้ยุบพรรค หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก็จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

แนวเดียวกับกรณียุบพรรคไทยรักไทย เว้นวรรคการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน

นี่ก็เป็นอีกปมร้อนที่พุ่งเข้าใส่รัฐบาลพรรคพลังประชาชน

อย่างไรก็ตาม ผลจากการตัดสินชี้ขาดกรณีแถลงการณ์ ร่วมปราสาทพระวิหารของศาลรัฐธรรมนูญ และการตัดสินคดีใบแดงนายยงยุทธของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง

ถือได้ว่าเป็นผลของกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ

เพราะอย่างที่รู้ๆกัน การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย ประกอบด้วย 3 อำนาจหลัก ได้แก่

อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

แต่ต้องยอมรับว่า การทำงานในระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารกับ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฮั้วกันได้ง่าย เพราะเป็นคนที่มาจากฝ่ายเสียงข้างมาก ในสภาฯด้วยกัน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เห็นปรากฏการณ์ที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ว. รวมไปถึงภาคประชาชน พยายามใช้ช่องทางของรัฐธรรมนูญในการนำ ปัญหาต่างๆไปสู่การตรวจสอบโดยอำนาจตุลาการ

ถือเป็นการเล่นในกรอบกติกาเพื่อให้ได้ข้อยุติ

ทั้งนี้ จากความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ทำให้มีคำถามตาม มาว่า จากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาล

“ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอชี้ว่า สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น แน่ๆในเร็ววันนี้ ก็คือ ต้องมีการปรับ ครม.ใหญ่

เพราะอย่างที่เห็น วันนี้มีตำแหน่งรัฐมนตรีว่างลงไปแล้ว 3 ตำแหน่ง ได้แก่

ตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯของนายจักรภพ เพ็ญแข ที่ลาออกเพราะกรณี “ทัศนคติที่อันตราย”

ตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ของนายไชยา สะสมทรัพย์ ที่หลุดจากเก้าอี้เพราะโดนศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีเพราะแจ้งบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินไม่ครบ

ตำแหน่ง รมว.ต่างประ-เทศ ของนายนพดล ปัทมะ ที่ประกาศลาออกเพราะประเด็นร้อนปราสาทพระวิหาร

ยังไม่รวมกรณีของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช. พาณิชย์ ที่มีเรื่องถูกร้องกรณีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินไม่ครบ คาอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ

และรัฐมนตรีอีก 3 คน ได้แก่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯและ รมว.คลัง นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม ที่อาจต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับพิจารณาคดีหวยบนดิน

เมื่อไม่มีคนทำงาน ก็ต้องปรับ ครม.

และการปรับ ครม.ครั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะปรับกันแค่เติมคน ลงในตำแหน่งให้เต็มเท่านั้น

แต่นายสมัครจะต้องปรับ ครม. เพื่อให้สามารถทำงานรับมือกับปัญหาของประเทศให้ได้

โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ปัญหาข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อนสาหัส

ตรงนี้จะเป็นการพิสูจน์ภาวะผู้นำครั้งสำคัญที่สุดของนายสมัคร

ถ้าปรับ ครม.ให้ดีขึ้นไม่ได้ ยังมีแต่ความขี้เหร่ เพราะติดปัญหากฎเกณฑ์ภายในพรรค ติดเงื่อนไขโควตากลุ่ม

นาทีนี้ สังคมคงรับไม่ไหว

เหนืออื่นใด การปรับ ครม.เที่ยวนี้ ก็ยังเป็นแค่การต่อลมหายใจ เพื่ออยู่ในอำนาจเพียงชั่วคราวเท่านั้น

รัฐบาลจะสามารถประคองตัวอยู่ต่อไปได้แค่นานไหน

ปมสำคัญขึ้นอยู่กับกระบวนการถอดถอนนายกฯและการพิจารณาเรื่องการยุบพรรค

รวมไปถึงการชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร กรณีจัดรายการชิมไปบ่นไป

เพราะเรื่องเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งให้มีการยุบสภาเร็วขึ้น.

"ทีมการเมือง"