WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 18, 2009

ครีเอทีฟ แคปปิตอลลิสซึม ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์

ที่มา ไทยรัฐ

ช่วงนี้ มีคำพูดเก๋ๆ อยู่สองประโยค ที่กำลังฮิตระเบิด นักวิชาการคนไหน นักการเมืองคนไหนอยากพูดเรื่อง เศรษฐกิจยุคใหม่ ถ้าไม่พูดถึงสองคำนี้ต้องถือว่าเชยแหลก ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินมาบ้างแล้ว คำพูดสองประโยคนี้ก็คือ Creative Economy และ Creative Capitalist

แปลตรงตัว ครีเอทีฟ อีโคโนมี ก็คือ เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ และ ครีเอทีฟ แคปปิตอลลิสท์ ก็คือ ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์ เป็นยังไงเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

ผู้สร้างสรรค์คำว่า Creative Capitalist เป็นคนแรกก็คือ วิลเลี่ยม เกตส์ ที่ 3 หรือ บิล เกตส์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกคนล่าสุด แม้ความร่ำรวยจะหล่นหายไปกับวิกฤติเศรษฐกิจถึง 18,000 ล้านดอลลาร์ 648,000 ล้านบาท แต่เขาก็ยังร่ำรวยอยู่ถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ 1.44 ล้านล้านบาท

บิล เกตส์ ไปพูดประโยคนี้ที่ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว ช่วงที่เขาไปแสดงปาฐกถาพิเศษในงานประชุมเศรษฐกิจโลก เวิร์ล อีโคโนมิค ฟอรัม

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันเวิร์ล แอฟแฟร์ สถาบันศศินทร์ เขียนไว้ในวารสาร การเงินธนาคารฉบับเดือนกุมภาพันธ์ว่า กรอบความคิดของ ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์ สามารถที่จะเชื่อมโยงแนวคิดกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน การเอาคำว่าครีเอทีฟมาวางไว้ หน้าทุนนิยม หมายความว่า คุณกำลังพยายามทำสิ่งที่ดีกว่าระบบทุนนิยมทั่วไป

จุดมุ่งหมายของ ทุนนิยมแบบสร้างสรรค์ ไม่ใช่การทำเพื่อตนเองอย่างเดียว แต่ต้องห่วงใยต่อผู้อื่นด้วย สิ่งที่ บิล เกตส์ นำเสนอก็คือ การทำกำไรนั้นเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอ คุณควรจะช่วยทำให้ชีวิตผู้อื่นซึ่งไม่ได้รับผลประโยชน์จากทุนนิยมเสรีนั้นให้ดีขึ้นด้วย

เกตส์บอกว่า คุณทำกำไรได้จากส่วนที่หวังกำไร และคุณก็จะได้รับคำขอบคุณจากส่วนที่ไม่ได้หวังผลกำไร แต่เป็นจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ซึ่งจิตสำนึกอันนี้มีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ แม้จะประเมินเป็นตัวเงินไม่ได้ก็ตาม

แปลความง่ายๆ ก็คือ วิน-วิน ด้วยกันทุกฝ่าย การทำธุรกิจยุคใหม่ ต้องไม่หวังผลเพียงกำไรของบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างสังคมให้เข้มแข็งด้วย ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและเป็นสุขทั้งสองฝ่าย

มิฉะนั้น ระบบทุนนิยม หรือ Capitalism ก็จะไม่ยั่งยืน เหมือน ทุนนิยมเสรีของสหรัฐฯในยุคประธานาธิบดีบุช ที่เทิดทูนเงินตราและกำไรจนไร้คุณธรรมจริยธรรม ในที่สุดมันก็ล่มสลาย ทำให้สังคมและเศรษฐกิจการเงินถล่มทลายทั้งโลก

ในวารสาร การเงินธนาคาร ฉบับเดือนมีนาคมนี้ ดร.สุวิทย์ ได้เขียนตอกย้ำให้เห็นถึง ความเสี่ยงจากตลาดเสรี หรือ โลกาภิวัตน์ ว่า ความเสี่ยงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่เป็น ท้องถิ่นสู่ท้องถิ่น ไปสู่ ท้องถิ่นสู่โลกาภิวัตน์ แต่วันนี้ได้เปลี่ยนกลับข้างเป็น โลกาภิวัตน์สู่ท้องถิ่น ซึ่งเห็นได้ชัดจากวิกฤติสหรัฐฯที่กำลังกระทบต่อไทย ไปจนถึง จากโลกสู่โลกเช่น วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก เป็นต้น

ดร.สุวิทย์ ยังได้ เรียกร้องให้รัฐบาลสร้างกรอบความคิดใหม่ เพื่อใช้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของโลกที่เกิดขึ้น จะเอาแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แก้ปัญหาเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างเดียวคงไม่ได้

ทั้งสองเรื่องนี้เป็น เรื่องใหม่ และ เรื่องใหญ่ ครับ ทั้ง Creative Capitalism และ การสร้างกรอบความคิดใหม่เพื่อวางยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจในอนาคต เป็นเรื่องที่ผมคิดว่า รัฐบาลต้องเร่งทำคู่ไปกับแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก่อนปัญหาจะมีตามมามากขึ้น วันหลังผมจะเล่าสู่กันฟังใหม่ทั้งสองเรื่องครับ.

ลม เปลี่ยนทิศ