WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 19, 2009

เด็กโง่กับตำราเก่า

ที่มา ไทยรัฐ

วันนี้ผมมีจดหมายจาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ส่งมาชี้แจงเรื่อง หนังสือ เรียนที่ผมเขียนไปวันก่อนว่า กระทรวงศึกษาฯกำลังเอาตำราย้อนยุคเมื่อสิบปีก่อนมาสอนเด็กในปัจจุบัน แล้วอนาคตของชาติ มันจะทันโลกหรือ

ก็ขอเชิญอ่านคำชี้แจงก่อนครับ แล้วผมจะปุจฉาทีหลัง

1. หนังสือเรียนที่จะจัดซื้อในปีการศึกษานี้ เป็นหนังสือเรียนตามหลักสูตรปี 2544 แม้หลักสูตรจะประกาศใช้ในปี 2544 แต่การใช้บังคับจะมีการนำร่องหนึ่งปีในปี 2545 และใช้จริงในโรงเรียนทั่วไปตั้งแต่ปี 2546 โดยทยอยประกาศใช้ทีละปีจนครบทุกชั้นในปี 2548 หนังสือเรียนตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติมี 1,123 รายการ ชุดแรกประมาณ 121 รายการ เป็นหนังสือสำหรับชั้น ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 ผ่านการตรวจและออกใช้ในปี 2546 หนังสือที่เหลือจะทยอยผ่านการพิจารณาในช่วงเวลา 3-5 ปี ไม่มีหนังสือใดที่เกินอายุ 5 ปี

2. การเรียนการสอนในปัจจุบัน หนังสือเรียนเป็นสื่อหนึ่งที่จะช่วยปู พื้นฐานความคิด และให้เนื้อหาสาระที่สำคัญ แต่ครูต้องส่งเสริมให้ นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งอื่นประกอบกัน หากมีข้อความใดที่ล้าสมัยไปจากวันที่จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์ทุกแห่งต้องแก้ไขก่อนจัดพิมพ์ใหม่ หากไม่ทันต้องทำใบแทรก และเปิดเว็บไซต์นำเสนอเนื้อหาที่เป็นสาระปัจจุบัน เพื่อเสริมการเรียนการสอน

3. ในปี 2551 กระทรวงศึกษาฯได้ปรับปรุงหลักสูตร 2544 เดิม ซึ่งมีเนื้อหาสาระคล้ายหลักสูตรเดิม แต่กำหนดเนื้อหาแกนกลางที่ทุกคนต้องเรียนรู้ให้ชัดเจนขึ้น กำหนดส่วนที่โรงเรียนสามารถพัฒนาเนื้อหาเพิ่มเติม ซอยเนื้อหาที่เคยกำหนดไว้เป็นช่วงชั้น หรือ 3 ปีให้เป็นรายปี เน้นการปรับปรุงการเรียนการสอนและการประเมินผล

4. การพัฒนาหนังสือเรียน ได้วางแนวทางเหมือนทุกครั้ง คือจะรับตรวจหนังสือเรียนในปีที่นำร่อง เพื่อให้ทันประกาศใช้ในปีการศึกษา 2553 เมื่อใช้หลักสูตรที่ประกาศหนังสือเรียนเล่มใดที่โรงเรียนจะซื้อให้ หรือให้นักเรียนซื้อไว้ใช้ประจำตัว จะต้องผ่านการตรวจ แต่จวบจนเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ยังไม่มีหนังสือเรียนตามหลักสูตร 2551 เล่มใดส่งเข้ารับการตรวจ เพื่อจำหน่ายในปีการศึกษานี้ แต่อาจมีการพิมพ์ไว้เพื่อจำหน่ายในโรงเรียนโดยไม่ผ่านการตรวจ...

จดหมายยาวกว่านี้ แต่ที่เกี่ยวข้องกับข้อเขียนผมคงมีเท่านี้ ประเด็นหนึ่งที่ผมยังสงสัยก็คือ การปรับปรุงหลักสูตรและตำราเรียนของกระทรวงศึกษาฯแต่ละครั้ง ใช้เวลานานเหลือเกิน แถมยังทยอยประกาศใช้ทีละปี กว่าจะครบหลักสูตรก็กินเวลาถึง 4 ปี พอปีที่ 5 ก็ถึงเวลาปรับปรุงหลักสูตรอีกแล้ว

นอกจากนี้ ยัง โยนภาระไปให้ ครูผู้สอนไปต่อยอดหรือส่งเสริมให้นักเรียนไปเรียนรู้จากแหล่งอื่น ผมถามจริงๆเถอะครับ ครูไทยทั่วประเทศวันนี้มีศักยภาพและมีเครื่องมือเพียงพอที่จะไปต่อยอด หรือไปหาแหล่งความรู้อื่นให้นักเรียนได้หรือ เมื่อครูยังไม่พร้อม ก็ไม่ควรจะโยนภาระไปให้ครู เพราะคนที่จะรับเคราะห์คือนักเรียน

ความจริงอีกด้านหนึ่งที่กระทรวงศึกษาฯไม่เคยชี้แจง ก็คือ โรงเรียนทั่วประเทศในเวลานี้ขาดแคลนครูอยู่ร่วมแสนคน ในโรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไม่มี ตำราเรียนหายาก ครูหนึ่งคนต้องรับภาระสอนทุกวิชา ทุกชั้นเรียน ครูเหล่านี้จะหาไปแหล่งความรู้อื่นได้ที่ไหน จะเอาเครื่องมืออะไรไปต่อยอดให้นักเรียนอย่างที่พวกขายตำราเรียนราคาแพงโยนภาระให้ แค่สอนให้ครบชั้นก็เหนื่อยแล้ว

เรื่อง ตำราเรียนเด็กไทยล้าหลังไม่ทันโลก ที่ผมวิจารณ์ไปนั้น ผมเชื่อว่า คุณหญิงกษมา ก็คงทราบดี เพราะ กระทรวงศึกษาฯ ก็เคยวิจัยเอง เมื่อหลายปีก่อนว่า หลักสูตร ป.1-ป.6 ที่ใช้สอนเด็กถึง 6 ปีนั้น เป็นหลักสูตรที่ใช้ไม่ได้ ต้องปรับปรุงครั้งใหญ่ เพราะมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและซ้ำซ้อน เรียน ป.2 แล้วไปเรียนซํ้าอีกในชั้น ป.3

เขียนไปก็สงสารเด็กไทยครับ เมื่อ ตำราเรียนกลายเป็น ธุรกิจผูกขาดไม่กี่สำนักพิมพ์ เลยทำให้ สมองเด็กไทยถูกผูกขาดไปด้วย แล้วประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไร ความรู้ใหม่ๆ ในโลกเกิดขึ้นทุกวินาที แต่เด็กไทยต้องรอไปอีก 5 ปีค่อยเรียน แล้วมันจะทันโลกได้อย่างไร.

ลม เปลี่ยนทิศ