WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 3, 2009

ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่11):กลุ่มกษัตริย์นิยมกับประชาธิปไตยแบบไท้ยไทย

ที่มา Thai E-News



โดย คุณรักในหลวงห่วงลูกหลาน
ที่มา บอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
3 กันยายน 2552

หมายเหตุไทยอีนิวส์:ผู้ใช้นามปากกา"รักในหลวงห่วงลูกหลาน"ซึ่งเคยเขียนซีรีส์ยอดฮิต"ลากไส้สื่อเหี้ย"อันลือลั่น กลับมาอีกครั้งด้วยซีรีส์ชุดใหม่ลากไส้แวดวงNGO,นักวิชาการ,นักสิทธิมนุษยชน,นักกิจกรรมสังคม,นักศิลปิน,นักธุรกิจ,ศาล,องค์กรอิสระ และฝ่ายซ้ายเก่า ซึ่งเขาได้ตีแผ่วงการด้วยสำนวนฮาร์ดคอร์ดิบเถื่อนให้เห็นว่า เพราะเหตุใดแวดวงดังกล่าวจึงได้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนจุดยืนมาสนับสนุนขบวนการอำมาตย์ได้อย่างน่าพิศวงอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งไทยอีนิวส์ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และกรุณาตรวจทานแก้ไขก่อนการเผยแพร่เป็นตอนๆ


ทีนี้เพื่อให้เข้าใจว่าบรรดาชนชั้นนำของไทยเขาคิดอ่านประการใดต่อเรื่องบ้านเมืองและการปกครอง ผลจึงออกมาอย่างที่เห็นๆกันในเวลานี้ ผมเลยขอปิดประเด็นด้วยบทความวิชาการเนื้อๆ(แต่อ่านแล้วสนุกนะครับ) ฝรั่งนี่เขาเข้าใจบ้านเมืองเราได้แบบทะลุเพดานข้อจำกัดการรับรู้ดีมาก

ผมนำบทความนี้ซึ่งเป็นเอกสารวิชาการ โดยศาสตราจารย์ เควิน ฮิววิสัน ภาควิชาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา-เชเปิลฮิลล์ แปลเรียบเรียงโดย คุณเก่งกิจ กิติเรียงลาภ เพื่อใช้ประกอบงานสัมนาวิชาการในหัวข้อ “Thai-Style Democracy: Royalist Struggle for Thailand’s Politics” หรือ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ:การต่อสู้ของกลุ่มกษตริย์นิยมในการเมืองไทย" จัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 โดยมีความน่าสนใจมากๆดังต่อไปนี้

#ศาสตราจารย์ เควิน ฮิววิสัน

ฐานความคิดที่สำคัญของพวกกษัตริย์นิยมในการเมืองไทยก็คือ ไม่เชื่อมั่นในประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ ไม่รู้ว่าอะไรคือผลประโยชน์ส่วนรวมที่แท้จริง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับความสูงส่งของกษัตริย์มากกว่าที่จะให้ความสนใจกับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจที่แท้จริง ภายใต้ความเชื่อเช่นนี้ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมจึงพยายามพูดว่า กษัตริย์เป็นที่รักของประชาชนทุกคนโดยธรรมชาติ และคนผู้ใดที่ไม่จงรักภักดีก็คือคนที่มีจิตไม่ปกติ..การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งก่อน และหลังการรัฐประหาร ได้พยายามสร้างภาพของทักษิณให้ดูว่าเป็นคนที่ไม่จงรักภักดีและพยายามท้าทายสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษิณไม่ใช่ผู้นำในอุดมคติของพวกกษัตริย์นิยมที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ( TSD )


ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจTSD(ประชาธิปไตยแบบไทยๆ)2 ประการ คือ

หนึ่ง ประชาธิปไตยแบบไทยๆ(Thai-Style Democracy - TSD) มีฐานะเป็นชุดของความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในสังคมไทย วาทกรรมว่าด้วย TSD กลายมาเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ ต่อรองแข่งขันทางการเมืองมาตลอดกว่า 4 ทศวรรษจนกระทั่งในปัจจุบัน

สอง แม้ว่า TSD จะมีฐานะเป็นชุดของความคิดความเข้าใจชุดหนึ่ง แต่ TSD ไม่ได้เป็นชุดของความคิดที่มีลักษณะเอกภาพหนึ่งเดียว โดยไม่ขึ้นกับบริบททั้งในแง่ของกาละ และเทศะที่มันเกิดขึ้น ซึ่งการนิยามหรือกำหนดคุณลักษณะของ TSD ในแต่ละยุคสมัย ล้วนแล้วแต่ขึ้นกับการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะๆนั้นด้วย

เป้าหมายของการนำเสนอในครั้งนี้ก็คือ การชี้ให้เห็นรากฐานของความคิดความเชื่อของ TSD โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาและบริบทอันประกอบกันขึ้นจากองค์ประกอบที่หลากหลายของ TSD ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีส่วนช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในปี 2549

เราสามารถย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของ TSD ได้ตั้งแต่ยุคของการปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ในปี 2475 เป็นต้นมา แม้ว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเป็นคนแรกๆที่นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า “การปกครองแบบไทย” ในทศวรรษ 1960 แต่เราสามารถย้อนกลับไปดูการก่อตัวของ TSD ก่อนหน้านั้นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้เพื่อสร้างระบอบการเมืองการปกครองแบบใหม่หลัง 2475 เป็นต้นมา


การต่อสู้ของพวกกษัตริย์นิยมในการเมืองไทยนั้นพัฒนาควบคู่กับการสร้างมโนทัศน์ทางการเมืองบางประการที่อาจเรียกรวมๆได้ว่า TSD ผ่านการกลับไปเล่าเรื่องประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์เสียใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ 2475, การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในปี 2516 และพฤษภาทมิฬในปี 2535 โดยการทำให้ระบอบกษัตริย์กลายมาเป็นสิ่งเดียวกับการสร้างและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

ด้วยการสร้างภาพว่า พระปกเกล้าต้องการพระราชทานประชาธิปไตยอยู่แล้ว แต่คณะราษฎรกลับ “ชิงสุกก่อนห่าม” ส่งผลให้ประชาธิปไตยถูกบิดเบือนและกลายเป็นระบอบเผด็จการทหารในที่สุด ข้อเสนอในที่นี้ก็คือ รากฐานความคิดของ TSD เช่นนี้ถือกำเนิดมาจากการต่อสู้ทางการเมืองล้วนๆ

ความพยายามทำให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลพระยาพหลฯ ส่งผลให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมพยายามทุกวิถีทางที่จะต่อต้านคัดค้านการกระทำของรัฐบาล ทั้งหมดก็เพื่อกอบกู้และเพิ่มอำนาจของกษัตริย์ในการเมืองไทย

อย่างไรก็ดี กษัตริย์ไทยหลัง 2475 ก็แสดงตนในหลายบทบาทขึ้นกับความเข้มแข็งและอ่อนแอของกลุ่มกษัตริย์นิยมเอง ในยามที่ตนเองอ่อนแอ ก็จะปฏิเสธความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง แต่ในยามที่เข้มแข็ง ก็กลับสนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค

เราจะเห็นบทบาทของกลุ่มกษัตริย์นิยมในการต่อสู้เพื่อขยายอิทธิพลของตนเอง ไม่ว่าจะผ่านการสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในสมัย ควง อภัยวงศ์ และการให้ร้ายปรีดีจนต้องออกนอกประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นความสำเร็จของการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายกษัตริย์นิยมทั้งสิ้น

ฐานความคิดที่สำคัญของพวกกษัตริย์นิยมในการเมืองไทยก็คือ ไม่เชื่อมั่นในประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ไม่รู้ว่าอะไรคือผลประโยชน์ส่วนรวมที่แท้จริง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับความสูงส่งของกษัตริย์มากกว่าที่จะให้ความสนใจกับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจที่แท้จริง ภายใต้ความเชื่อเช่นนี้ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมจึงพยายามพูดว่า กษัตริย์เป็นที่รักของประชาชนทุกคนโดยธรรมชาติ และคนผู้ใดที่ไม่จงรักภักดีก็คือคนที่มีจิตไม่ปกติ

การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี 2500 มีผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจในการเมืองไทย โดยเฉพาะมันได้เปิดทางให้แก่พวกกษัตริย์นิยมได้มีที่มีทางอย่างชัดเจน ภายใต้ระบอบเผด็จการของสฤษดิ์ การทำให้สถาบันกษัตริย์มีความเป็นสถาบันที่มั่นคงกลายมาเป็นภารกิจสำคัญ และกษัตริย์เองก็ทรงให้การสนับสนุนรัฐบาลด้วยในฐานะที่เป็นผู้จงรักภักดี

และในยุคของรัฐบาลทหารเช่นนี้เองที่ความคิดความเชื่อแบบ TSD ได้สถาปนาตัวเองขึ้นอย่างมั่นคง

เป็นที่น่าสังเกตว่า นิยามที่เริ่มจะชัดเจนขึ้นของ TSD นั้นเริ่มต้นภายใต้การปกครองที่ดูจะเป็นเผด็จการที่เน้นการปราบปรามและควบคุมสังคมแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

หัวใจสำคัญของ TSD ประการหนึ่งก็คือ ความเชื่อเรื่อง “ความเป็นไทย” ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในสมัยของคณะราษฎร เพราะ”ความเป็นไทย” ในยุคสฤษดิ์นั้นเป็นความเป็นไทยภายใต้ระบอบทหารที่ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับหลักการของการปฏิวัติ 2475

ปรัชญาเบื้องหลังของระบอบสฤษดิ์ก็คือ การเสนอว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้นไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะประเทศไทยยังไม่พร้อม เนื่องมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในผู้นำที่เข้มแข็งเด็ดขาดมีอำนาจและอิทธิพลเหนือทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สภาวะเช่นนี้ สังคมไทยต้องการลำดับขั้นทางสังคมที่ชัดเจนตายตัว ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงเลื่อนชั้นทางสังคมที่รวดเร็ว

TSD มองว่า สังคมไทยดั้งเดิมเป็นสังคมแบบ “พ่อปกครองลูก” โดยพ่อจะทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยแก้ปัญหาให้กับลูกๆ นี่เองทำให้ปรัชญาของระบอบสฤษดิ์สอดรับเป็นอย่างดีกับสิ่งที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมได้พยายามต่อสู้ให้ได้มาตลอดหลายทศวรรษ

และที่น่าสนใจก็คือ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมคนสำคัญอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็กลายมาเป็นผู้ป่าวประกาศโฆษณาชั้นดีให้กับระบอบเผด็จการของสฤษดิ์ในที่สุด

คึกฤทธิ์เสนอว่า TSD นั้นสอดคล้องเป็นอย่างดีกับนิสัยใจคอของคนไทย ซึ่งไม่มีความพร้อมเลยสำหรับการปกครองแบบประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” คึกฤทธิ์พยายามวาดภาพว่า การปฏิวัติ 2475 เป็นเพียงความล้มเหลวของการสร้างประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” ในสังคมไทย

สำหรับ TSD หากการทำรัฐประหารมีเป้าหมายเพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วช้าให้ออกจากการเมืองไทยและสร้างเสถียรภาพความมั่นคงแล้ว การรัฐประหารก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายในตัวมันเอง การรัฐประหารจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ไม่มีศีลธรรม และในการควบคุมประชาชนที่ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงคืออะไร

สำหรับคึกฤทธิ์ สังคมไทยเป็นสังคมแบบอินทรียภาพที่มีกษัตริย์เป็นศีรษะและมีระบบราชการเป็นอวัยวะสำคัญที่รับใช้ศรีษะ ซึ่งหากเกิดความวุ่นวายโกลาหลใดๆขึ้นจากความล้มเหลวของประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” การกลับไปหาผู้นำที่เด็ดขาดก็เป็นทางออกที่จำเป็น และนี่คือ หน้าที่ของกษัตริย์ในระบอบ TSD

ดังนั้น กษัตริย์จึงไม่ใช่อุปสรรคของประชาธิปไตย แต่กษัตริย์เป็นรากฐานและแก่นแท้ของการปกครองภายใต้ TSD ที่จะนำความสันติสุขมาสู่เหล่าปวงประชาชน

กล่าวโดยสรุปแล้ว เป้าหมายของปัญญาชนกษัตริย์นิยมอย่างคึกฤทธิ์ก็คือ การจัดวางสถาบันกษัตริย์ในที่ที่ทำให้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุด (หลังจากที่ต่อสู้มากว่า 25 ปีภายหลัง 2475) และการขึ้นมาของระบอบเผด็จการของสฤษดิ์ก็เปิดทางให้สิ่งที่กลุ่มกษัตริย์นิยมคาดหวังสามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด

ในยุคทักษิณ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านทักษิณตีความ TSD ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนา ซึ่งสอนให้เชื่อเรื่องเหตุผล ความไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป และความยืดหยุ่น นั่นหมายความว่า TSD นั้นมีลักษณะแบบปฏิบัตินิยมและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของยุคสมัย

ทักษิณถูกวาดภาพโดยปัญญาชนกษัตริย์นิยมว่า เป็นพวกทุนนิยมที่ไม่มีศีลธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับบารมีอันชอบธรรมตามหลักการของพุทธศาสตร์ขององค์พระกษัตริย์ไทยในปัจจุบัน และ TSD ก็คือ การกอบกู้สถาปนาพระราชอำนาจของกษัตริย์ให้อยู่ใจกลางระบอบการเมืองการปกครอง ที่ถูกทำลายมาก่อนหน้านั้นโดยการปกครองของทักษิณ ซึ่งมาจากประชาธิปไตย “แบบตะวันตก”

ปัญญาชนกษัตริย์นิยมบางคนกล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นเสาหลักทางจริยธรรมศีลธรรม ที่ตรงกันข้ามกับทักษิณที่ไม่มีศีลธรรมและเต
็มไปด้วยคอร์รัปชั่น ดังนั้น การทำรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่มีศีลธรรมนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย หากแต่เป็นเรื่องของการกอบกู้ศีลธรรมอันดีงามให้กลับคืนมา

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งก่อน และหลังการรัฐประหารได้พยายามสร้างภาพของทักษิณให้ดูว่าเป็นคนที่ไม่จงรักภักดีและพยายามท้าทายสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษิณไม่ใช่ผู้นำในอุดมคติของ TSD

ข้อเสนอในที่นี้ก็คือ เราต้องไม่ลดทอนการทำความเข้าใจการรัฐประหารในปี 2549 และการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเพียงการกระหายอำนาจของทหาร แต่เป้าหมายที่แท้ของการทำรัฐประหารก็คือ การทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้ TSD

เมื่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นสู่อำนาจภายหลังการรัฐประหาร เขาได้พยายามสร้างแผนการทางการเมืองแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกลับไปหา TSD ในฐานะที่เป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

รัฐธรรมนูญปี 2550 มีเป้าหมายโดยตรงที่จะกีดกันนักการเมืองอย่างทักษิณ และมุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายความมั่นคง ระบบราชการทั้งที่เป็นทหารและพลเรือน ดังที่เราจะเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุให้มีวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง เป็นต้น และนี่คืออีกครั้งหนึ่งที่คนไทยไม่ต้องการประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” แต่สิ่งที่พวกเขากำลังทำคือ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”
......
อ้างอิง

Anand Panyarachun (2007) “The monarchy: an indispensable institution,” Bangkok Post, 24 August.

Bagehot, W. (1909) The English Constitution, London: Kegan Paul, Trench, Trubner and Co.

Chalermkiat Piu-nual (1990) Prachatippatai bab thai kuam kit tang karn muang kong tha harn thai (2519-2529) (Thai-style democracy: The political ideas of the Thai military (1976-1986), Bangkok: Thammasat University Press.


Bhumibol Adulyadej (1974) Collection of Royal Addresses and Speeches During the State and Official Visits of Their Majesties the King and Queen to Foreign Countries 1959-1967 (B.E. 2502-2510), Bangkok, no publication details.

Bhumibol Adulyadej (1992a) Royal Advice by His Majesty the King 20 May 1992/2535 at 21.30, Bangkok: Office of His Majesty's Principal Private Secretary.

Bhumibol Adulyadej (1992b) Royal Speech Given to the Audience of Well-Wishers on the Occasion of the Royal Birthday Anniversary, Wednesday 4 December, no publication details.

Blanchard, Wendell, et. al. (1958) Thailand. Its People, Its Society, Its Culture, New Haven: Human Relations Area Files.

Borwornsak Uwanno (2006) “The King’s Paternalistic Governance,” Bangkok Post, 16 June.

Borwornsak Uwanno (n.d.[2007]) “Dynamics of Thai Politics,” Paper for a Meeting in Washington, D.C., May 2007.

Bowie, Katherine (1997) Rituals of National Loyalty: An Anthropology of the State and the Village Scout Movement in Thailand, New York: Columbia University Press.

CNN.com (2006) “Thailand's king gives blessing to coup,” 20 September, http://www.cnn.com/2006/WORLD/asiapcf/09/20/thailand.coup.ap (accessed 20 September 2006).

Crispin, Shawn W. (2006) “Thailand: All the King’s Men,” Asia Times Online, 21 September, http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/HI21Ae02.html (accessed 21 September 2006).

Grey, Dennis (ed.) (1988) The King of Thailand in World Focus, Bangkok: Foreign Correspondent's Club of Thailand.

Hermit [pseud. Phraya Sri Thammarat] (1949) “Our New Constitution, Part II,” Bangkok Post, 12 August.

Hewison, Kevin (2008) “Review Article: A Book, The King and the 2006 Coup,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 190-211.

Jakrapob Penkair (2007) “Democracy and Patronage system of Thailand.” Transcript of a talk at the Foreign Correspondents Club of Thailand, 29 August.

Kavi Chongkittavorn (2006) “When is the abhorrent practice of staging a coup justifiable?” Nation, 22 September.

Kobkua Suwannathat-Pian (2003) Kings, Country and Constitutions. Thailand’s Political Development, 1932-2000, London: RoutledgeCurzon.

Kriangsak Chetpattanawanich (2007) Prachatippatai baep thai chak yuk rajjakuru tung yuk chom phon Sarit Thanarat (Thai-style Democracy from the Rajakhru era to Sarit Thanarat’s era), (Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project, 2007)

Kukrit Pramoj (1983) M.R. Kukrit Pramoj: His Wit and Wisdom. Writings, Speeches and Interviews, Compiled by Vilas Manivat, edited by Steve Van Beek, Bangkok: Editions Duang Kamol.

Kulick, E. and D. Wilson (1992) Thailand's Turn: Profile of a New Dragon, New York: St. Martin's Press.

McCargo, Duncan (2005) “Network monarchy and legitimacy crises in Thailand,” Pacific Review, 18, 4, pp. 499-519.

McCargo, Duncan and Ukrist Pathamanand (2005) The Thaksinization of Thailand, Copenhagen: NIAS Press.

Meechai Ruchuphan (2004) “Meechai’s Liberal Thoughts: Are we still Thai?” in M.H. Nelson (ed.), Thai Politics: Global and Local Perspectives, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 584-7.

Morell, David (1974) “Power and Parliament in Thailand: The Futile Challenge, 1968-1971,” Unpublished PhD thesis, Princeton University.

Morell, David and Chai-Anan Samudavanija (1981) Political Conflict in Thailand: Reform, Reaction, Revolution, Cambridge: Oelgeschlager, Gunn & Hain.

Murashima, Eiji (1991) “Democracy and the Development of Political Parties in Thailand 1932-1945,” in Eiji Murashima, Nakharin Mektrairat and Somkiat Wathana (eds), The Making of Modern Thai Political Parties, Tokyo: Institute of Developing Economies, Joint Research Program Series, No. 86 (downloaded from the IDE website as a single paper, with individual pagination, http://www.ide.go.jp/English/Publish/Download/, 20 March 2000).

Murphy, Colum (2006) [Interview with Prem Tinsulanonda], Far Eastern Economic Review, 19 September, http://www.feer.com/articles1/2006/0609/free/prem.html, downloaded 10 November 2007).

Nakarin Mektrirat (2006) Prapokklao prachatippatai 60 pi sirirajja sombat kan kan muang thai (The King who Defends the Democracy: 60 Years of the Crown and Thai Politics), Bangkok: Matichon.

Namier, L. (1952) Monarchy and the Party System, Oxford: Clarendon Press.

Neher, Clark D. (1974) “Thailand,” in Roger M. Smith (ed.), Southeast Asia. Documents of Political Development and Change, Ithaca: Cornell University Press, pp. 29-45.

Noranit Setabutr (2006) “Thai Politics over a Period of 72 Years,” in Niyom Rathamarit (ed.), Eyes on Thai Democracy. National and Local Issues, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 1-40.

Ockey, James (2004) Making Democracy, Chiang Mai: Silkworm Books.

Office of His Majesty's Principal Private Secretary [OPPS] (1987) A Memoir of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Bangkok: Office of His Majesty's Principal Private Secretary.

Office of the Prime Minister [OPM] (1979) Thailand into the 80's, Bangkok: Office of the Prime Minister.

Pansak Vinyaratn (2004) 21st Century Thailand. Facing the Challenge. Economic Policy & Strategy, Hong Kong: CLSA Books.

Pasuk Phongpaichit and Chris Baker (2005) Thaksin, Chiangmai: Silkworm Books.

Pasuk Phongpaichit and Chris Baker (2008) “Thaksin’s Populism,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 62-83.

Pattana Kitiarsa, “In Defense of the Thai-Style Democracy,” Asia Research Institute, National University of Singapore, 12 October 2006, http://www.ari.nus.edu.sg/showfile.asp?eventfileid=188, accessed 15 April 2008.

Prajadhipok (1984) “King Prajadhipok’s Abdication Statement,” in Benjamin A. Batson, The End of the Absolute Monarchy in Siam, Singapore: Oxford University Press, pp. 315-7.

Prajak Kongkirati (2005) Lae laew khwam khluanwai ko prakot [Thus, the Movement Emerges], Bangkok: Thammasat University Press.

Pramuan Ruchannaseri (2005) Phraratcha amnat [Royal power], Bangkok: The Manager Group, http://power.manager.co.th, downloaded 7 September 2005.

Pye, O. and W. Schaffar (2008) “The 2006 Anti-Thaksin Movement in Thailand: An Analysis,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 38-61.

Ramphai Barni (1978) “Queen Ramphai's Memoir,” in Thak Chaloemtiarana (ed.), Thai Politics: Extracts and Documents 1932-1957, Bangkok: The Social Science Association of Thailand, pp. 8-35.

Ray, Jayanta Kumar (1972) Portraits of Thai Politics, New Delhi: Orient Longman.

Saichol Sattayanurak (n.d.) “The Construction of Mainstream Thought on ‘Thainess’ and the ‘Truth’ Constructed by ‘Thainess’,” no publication details, http://www.fringer.org/wp-content/writings/thainess-eng.pdf, accessed 15 April 2008, 3.

Saichol Sattayanurak (2007) Kukrit lae kan sang kuam pen thai 2: yuk jom phon sarit tung tossawat 2530 [Kukrit and the Construction of Thainess, Volume 2: From Sarit's era to 1997], Bangkok: Matichon.

Surin Maisrikrod (1993) Thailand's Two General Elections in 1992: Democracy Sustained, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Surin Maisrikrod (2007) “Learning from the 19 September Coup. Advancing Thai-style Democracy?” in Daljit Singh and Lorraine C. Salazar (eds), Southeast Asian Affairs 2007, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, pp. 340-59.

Thak Chaloemtiarana (2007) Thailand: the Politics of Despotic Paternalism, Chiangmai: Silkworm.

Thak Chaloemtiarana (ed.) (1978) Thai Politics: Extracts and Documents 1932-1957, Bangkok: Social Science Association of Thailand.

Thongchai Winichakul (2005) “The Changing Landscape of the Past: New Histories in Thailand Since 1973,” Journal of Thai-Tai Studies, 1, 1, 2005, pp. 19-61.

Thongchai Winichakul (2008) “Toppling Democracy,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 11-37.

Tongnoi Tongyai (1983) Entering the Thai Heart, Bangkok: Bangkok Post.

Ukrist Pathamanand (2008) “A Different Coup d'état?” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 124-42.

Uthai Pimjaichon (2006) “The Path to People-Based Society. Experience, Perspectives and Criticism,” in Niyom Rathamarit (ed.), Eyes on Thai Democracy. National and Local Issues, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 305-17.

Van Praagh, D. (1989) Alone on the Sharp Edge. The Story of MR Seni Pramoj and Thailand's Struggle for Democracy, Bangkok: Duang Kamol.

Wassana Nanuam (2006) “Timing could not have been better, says army source,” Bangkok Post, 21 September.


อย่าพลาดซีรีส์สุดมันส์ในชุดนี้ตอนที่ผ่านมา

-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่1):เอ็นโตดี NGO พวกเขาไม่ได้โง่และไม่ได้บ้าแต่ว่าเพี้ยน..
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่2):ยอยศการเมืองภาคประชาชน นาฏกรรมบนลานกว้าง
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่3):ในนามของการหยุดทำร้ายประเทศไทย พวกเขาออกใบอนุญาตฆ่าผู้เรียกร้องประชาธิปไตย
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่4):NGO-เอ็นโตดี ชื่อนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่5):ผลสำรวจเบื้องหลังคนทำโพลล์
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่6):ใครสั่งโค่นเหลี่ยม?
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่7):Conspiracy theoryชู้รักเลดี้แชตเตอร์ลีย์
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่8):ฉากและบางถ้อยคำสำคัญวันยึดอำนาจ
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่9):Between the lineของระบอบเทวดา
-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน(ตอนที่10):ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก
00000000
บทความเกี่ยวเนื่อง:ซีรีส์สุดมันส์รวมฮิตลากไส้สื่อเห้เสร็จแล้ว เชิญโหลดกระจาย