WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 3, 2009

เซ็งมติ ครม.เอื้อผู้รับเหมา ต่อสัญญาเป็นว่าเล่นงานก่อสร้าง ม.อ.ปัตตานี

ที่มา ประชาไท

ผศ.นพพร เหรียญทอง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยผ่านหนังสือพิมพ์บูมีตานี ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝึกหัดของนักศึกษาคณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. วิทยาเขตปัตตานีถึงความคืบหน้าการก่อสร้างหอพักนักศึกษา 9 ว่า จะหมดสัญญาในวันที่ 28 กันยายน 2552 หากไม่สามารถก่อสร้างเสร็จตามกำหนดก็จะถูกปรับตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากการก่อสร้างหอพัก 9 ได้ผ่านการใช้สิทธิ์ขยายระยะเวลาก่อสร้างมาแล้ว

ผศ.นพพร เปิดเผยด้วยว่า ที่ผ่านมาอาคารที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในมหวิทยาลัยขณะนี้ทุกหลังมีการขยายสัญญาการก่อสร้างทั้งหมด เพราะมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขยายสัญญาการก่อสร้างได้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ทางมหาวิทยาลัยก็พยายามคุยกับผู้รับเหมาว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องการใช้อาคารให้เร็วที่สุด เช่น ต้องการให้ก่อสร้างเสร็จก่อนเปิดเทอมใหม่ แต่ถ้าไม่เสร็จก็สามารถขยายตามมติ ครม.

ผศ.นพพร เปิดเผยว่า ในวิทยาเขตปัตตานีมีผู้รับเหมาก่อสร้างหลายบริษัท เช่น การก่อสร้างแฟลตพัก 4 หลัง รับเหมาโดยบริษัทบิลเลียนเอนจีเนียริ่ง จำกัด ขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดคงมั่นการช่าง รับเหมาก่อสร้างมากกว่าบริษัทอื่น

“บางบริษัทสามารถดำเนินการก่อสร้างมากกว่าบริษัทอื่นๆ เพราะผ่านการประมูลในระบบอิเล็กทนิกส์ หรือ อีอ๊อกชั่น โดยทุกโครงการมีผู้ซื้อไม่ต่ำกว่า 5 ราย ยกเว้นอาคารของวิทยาลัยอิสลามศึกษาที่เป็นงบประมาณของจังหวัดเปิดประมูลในวิธีพิเศษ” ผศ.นพพรกล่าว

ผศ.นพพร เปิดเผยต่อว่า ในกระบวนการประมูลงานผ่านระบบอีออพชั่น ผู้ที่จะได้งาน คือ ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดคงมั่นการช่าง ได้รับงานก่อสร้างในวิทยาเขตปัตตานี มากกว่าบริษัทอื่น

ผศ.นพพร เปิดเผยด้วยว่า สำหรับโครงการก่อสร้างที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนการใช้งบประมาณ 272 ล้านบาท คือ การก่อสร้างหอพัก 10 ศูนย์กีฬาหรือสนามกีฬา สนามบาสเก็ตบอล สนามตระกร้อ สนามเทนนิส สนามฟุตบอลชายหาด ซึ่งบริษัทที่ประมูลได้ คือห้างหุ้นส่วนจำกัดคงมั่นการชั่ง ส่วนแฟลต 4 หลัง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ดำเนินการโดยบริษัทบิลเลียนเอนจีเนียริ่ง จำกัด

ผศ.นพพร เปิดเผยต่อว่า ส่วนอาคารเรียนรวมข้างอาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น สาเหตุที่หยุดก่อสร้าง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตัวโครงสร้างและขนาดเหล็กเส้น คณะกรรมการตรวจสอบการจ้างจึงไม่ยอมให้ผ่าน

“เมื่อไม่ยอม บริษัทก็ทิ้งงาน ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งต่อมาศาลได้นัดไกล่เกลี่ยกันเพื่อให้สามารถก่อสร้างต่อได้ โดยการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นมาให้พิจารณาและชี้ขาดในเรื่องนี้ แต่ทางบริษัทยังทำเฉยไม่ยอมมาไกล่เกลี่ย ทั้งที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการให้ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ทางมหาวิทยาลัยจึงตัดสินใจยกเลิกสัญญาเพื่อตัดปัญหา เพราะถ้ายืดเยื้อออกไปอีก อาคารเรียนรวมก็ไม่สามารถสร้างต่อได้ ทางบริษัทจึงได้เบิกเงินไปเฉพาะส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเท่านั้น ส่วนที่ยังสร้างไม่ครบ ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ให้เบิกเงิน” ผศ.นพพรกล่าว

ผศ.นพพร เปิดเผยอีกว่า ส่วนการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัยอิสลามศึกษานั้น ผ่านการต่อสัญญามาก่อนด้วยเช่นกัน แต่ก็ดำเนินการจนแล้วเสร็จ แต่ยังไม่รวมครุภัณฑ์ต้องของบประมาณจัดซื้อเพิ่ม

“ตึกดังกล่าว คือ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามศึกษา มีการต่อสัญญาถึง 5 ครั้ง กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา” ผศ.นพพร กล่าว

ผศ.นพพร เปิดเผยต่อว่า ส่วนอาคารคณะวิทยาการสื่อสารซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ตรวจรับงาน ซึ่งต้องของบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์เพิ่ม แต่บางคนไม่เข้าใจ แล้วบอกว่า จะตรวจรับงานมาได้อย่างไร ในเมื่องยังไม่ก่อสร้างเสร็จ เพราะยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ซึ่งมันแยกส่วนกัน

รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารคณะวิทยาการสื่อสารว่า สาเหตุที่การดำเนินการล่าช้ามาจากการที่บริษัทผู้รับเหมาใช้สิทธ์ของการขยายเวลาการทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ต้องการช่วยเหลือผู้รับเหมาก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบกับในขณะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ เลยต้องการช่วยเหลือกับผู้รับเหมา จึงทำให้ผู้รับเหมาสามารถขยายเวลาการทำงานออกไปอีกได้

ขณะนี้คาดว่าการก่อสร้างอาคารคณะวิทยาการสื่อสารจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2552 และเปิดใช้งานได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2552 หรือในภาคการศึกษาที่ 2 แต่การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งการจัดทำระบบเครือข่ายต่างๆ ระบบการสื่อสาร ระบบสาธารณูปโภคของตึกใหม่ให้เรียบร้อยอาจล่าช้าออกไปอีก เพราะหากระบบขัดข้อง การเรียนการสอนก็จะเกิดปัญหาตามมา

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 พฤษภาคม 2550 เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้าง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1.สัญญาจ้างก่อสร้างของทางราชการที่ได้ลงนามไว้แล้วและยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และมีเงื่อนไขการหักเงินประกันผลงานให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐพิจารณาแก้ไขสัญญาในเรื่องของการหักเงินประกันผลงาน โดยให้ใช้หนังสือค้ำประกันธนาคารแทนการหักเงินประกันผลงาน
2.กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐพิจารณาขยายอายุสัญญาสำหรับงานก่อสร้างที่ได้มีการลงนามในสัญญาและยังมีผลผูกพันอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาจ้างที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่มีการตรวจรับงานในงวดสุดท้ายในช่วงที่เกิดอุทกภัย โดยให้ขยายอายุสัญญาออกไปอีกจำนวน 180 วัน เฉพาะในเขตจังหวัดที่มีการประกาศพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากเกณฑ์ปกติตามระเบียบของหน่วยงาน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือต่อหน่วยงานคู่สัญญาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
3.เห็นควรให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก่ผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับความเดือดร้อนจากความไม่สงบ ในกรณีที่สัญญาจ้างก่อสร้างกำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้าง 2 ปี ให้คืนหลักประกันให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องครบ 1 ปี และไม่ปรากฏความชำรุดบกพร่องแก่งานจ้าง ส่วนระยะเวลาที่เหลืออีก 1 ปี ยังคงถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างตามสัญญาโดยไม่มีหลักประกัน
สำหรับกรณีสัญญาจ้างก่อสร้างที่มีกำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องมากกว่า 2 ปี ให้คืนหลักประกันสัญญาเมื่อระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างเหลือ 1 ปี ในทำนองเดียวกันด้วย เช่น สัญญากำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง 3 ปี เมื่อครบกำหนด 2 ปี และไม่ปรากฏความชำรุดบกพร่องของงานจ้างก็ให้คืนหลักประกันสัญญาได้ ส่วนระยะเวลาที่เหลืออีก 1 ปี ยังคงถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างตามสัญญาโดยไม่มีหลักประกัน
มาตรการตามข้อ 3 ให้ใช้กับสัญญาจ้างก่อสร้าง ที่มีผลผูกพันอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ซึ่งหมายความรวมถึงกรณีที่อยู่ในระหว่างระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่องด้วย ทั้งนี้ โดยมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติด้วยว่า ก่อนครบกำหนดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง
ส่วนราชการผู้ว่าจ้างจะต้องดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานจ้าง เพื่อให้สามารถเรียกผู้รับจ้างมาซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี) ได้ตามสิทธิของสัญญา และถ้าผู้รับจ้างไม่มาดำเนินการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานจ้างตามสัญญา ให้พิจารณาดำเนินการลงโทษผู้รับจ้างดังกล่าว ให้เป็นผู้ทิ้งงานตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีอำนาจหน้าที่ในการตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น